https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/issue/feed วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2025-05-14T13:17:57+07:00 อาจารย์ ดร.เชาวฤทธิ์ จั่นจีน research.edu@uru.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์</strong><br />ISSN 2821-983x (Print)</p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์และเผยแพร่ :</strong> <strong>ปีละ 2 ฉบับ</strong><br />ฉบับที่ 1 ช่วงเดือน มกราคม – มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 ช่วงเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p><strong>ขอบเขตวารสาร<br /></strong> บทความที่รับตีพิมพ์ต้องเป็นบทความในกลุ่มสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ซึ่งมีขอบเขตดังนี้</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">การศึกษาปฐมวัยและการประถมศึกษา</span></p> <ol> <li>ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ</li> <li>คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป ชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์</li> <li>คอมพิวเตอร์ศึกษา นวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารทางการศึกษา</li> <li>สังคมศึกษาและดนตรีศึกษา</li> <li>พลศึกษา จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา</li> <li>การบริหารการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน</li> <li>การวิจัยทางการศึกษา การวัดและประเมินผลทางการศึกษา</li> <li>การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น</li> </ol> <p><strong>ประเภทบทความที่เปิดรับ: เปิดรับตีพิมพ์ผลงาน 3 ประเภท ได้แก่<br /></strong> 1. บทความวิจัย (Research Article)<br /> 2. บทความวิชาการ (Academic Article)<br /> 3. บทความปริทรรศน์หนังสือ (Book Review)<br /><br /><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong><br /> 1. ภาษาไทย<br /> 2. ภาษาอังกฤษ<br /><br /><strong>การพิจารณาบทความ</strong><strong style="font-size: 0.875rem;"><br /></strong> บทความที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารมีการตรวจสอบและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ เป็นแบบ Double-Blind ผ่านระบบ Thaijo<br /><br /><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์</strong><br /> ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม<br /><br /><strong>บรรณาธิการวารสาร</strong><br />อาจารย์ ดร.เชาวฤทธิ์ จั่นจีน <br />คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์<br />เลขที่ 27 ถนนอินใจมี ตำบลท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์<br />โทรศัพท์สายตรง: 094-8282518<br />Email: research.edu@uru.ac.th<br /><br /><br /></p> https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/article/view/1136 การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2025-05-14T09:11:59+07:00 นิธินันท์ เกตุยอด Nithinun@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 3) เพื่อยกระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research design) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้การสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 7 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับการเสริมแรง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.01/82.84 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เท่ากับ 4.63 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.48</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์; เทคนิค STAD; การเสริมแรง</p> 2025-05-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/article/view/1137 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ โดยการใช้ Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน 2025-05-14T11:18:22+07:00 จุฑาทิพย์ กิจประเสริฐ Juthathip@gmail.com <p>การวิจัยกระทำต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพิชัย อำเภอ พิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 36 คน และจัดเป็นประชากรการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ <br>1) พัฒนา Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนสำหรับการจัดการเรียนรู้เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยทดลองใช้ Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชากรที่มีต่อการทดลองใช้ Google Site ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ การวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการกึ่งทดลอง ประชากรเป็นประชากรจำนวนทั้งหมด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบเรื่องการหายใจระดับเซลล์ และแบบวัดระดับความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (m) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) ผลการวิจัย &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Google Site ที่พัฒนาประกอบด้วย ชุดวิดีโอเรื่องการหายใจระดับเซลล์จำนวน 6 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอนจำนวน 5 แผน ภายหลังนำนวัตกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวมาทดลองใช้กับประชากรแล้วประเมินผลโดยเปรียบเทียบนักเรียนระดับชั้น ม. 4/2 ของปีการศึกษาก่อนหน้าพบว่า มีผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากระดับที่ต่ำกว่า ดี หรือมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 70 ซึ่งเป็นเกณฑ์ประเมินผ่านระดับชั้นเรียน เป็นระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.19 และมีความระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับ มากทีสุด</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong>Google Site; การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน; ผลการเรียนรู้; เกณฑ์ประเมินผ่าน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ระดับชั้นเรียน; ระดับผลการเรียนรู้</p> 2025-05-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/article/view/1138 การพัฒนาการจำคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง โดยใช้เกมทางภาษา 2025-05-14T11:33:58+07:00 วริศรา ใบยา Warisara@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียน<br>ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง โดยการใช้เกมทางภาษาและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน<br>ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 77 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ขอบเขตเนื้อหา 6 เรื่อง รวมคำศัพท์ทั้งหมด 126 คำ เกมทางภาษาจะมีทั้งหมด 4 เกม ได้แก่ เกมลูกบอลความรู้ เกมบิงโก <br>เกมจับคู่ และเกมบันไดงู</p> <p><strong>&nbsp;</strong><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>เครื่องมือในการวิจัยได้แก่เกมทางภาษาจำนวน 4 เกม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและ<br>แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีเรียนรู้โดยใช้เกมทางภาษา<br>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนก่อนเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลางค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 39.2 (x̅= 11.76) แต่หลังจากเรียนโดยใช้ เกมทางภาษา ผู้เรียนมีคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 72.4<br>( x̅=21.72) ดังนั้น สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีคะแนนการจำคำศัพท์ภาษาจีนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาการจำคำศัพท์โดยใช้ เกมทางภาษา ทำให้ผู้เรียนมีคะแนนการเรียนสูงขึ้น 2) การทดสอบการจำคำศัพท์ภาษาจีนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ11.76 และ 21.72 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนการทดสอบการจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียนทุกคนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5<br>3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเกมทางภาษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมป่ากลาง นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อเกมทางภาษาอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.67ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความพึงพอใจ<br>ต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก</p> <p>คำสำคัญ: การพัฒนา; การจำคำศัพท์ภาษาจีน; โดยใช้เกมทางภาษา</p> 2025-05-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/article/view/1139 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม 2025-05-14T11:44:32+07:00 กนกพร หงษ์โต Kanokporn@gmail.com <p>งานวิจัยในหัวข้อ "การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง&nbsp; วงจรไฟฟ้า&nbsp; ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม" <br>มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เรื่อง วงจรไฟฟ้า และเพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ผ่านกิจกรรม<br>การเรียนรู้แบบ MACRO model รวมทั้ง เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 <br>ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านผาเวียง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 23 คน <br>ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model เรื่องวงจรไฟฟ้า จำนวน 2 แผน ระยะเวลารวม 3 ชั่วโมง และเครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบสังเกตการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 8.70 และ 5.22 ตามลำดับ ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม<br>ในภาพรวมของผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.4 ซึ่งอยู่ในระดับดี ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียน<br>การสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.92</p> <p><strong>คำสำคัญ : </strong>การเรียนรู้แบบ MACRO model; กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน;วงจรไฟฟ้า</p> 2025-05-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/Edu/article/view/1140 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องระบบ สืบพันธุ์มนุษย์ ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ร่วมกับเกม 2025-05-14T12:15:23+07:00 เบญจรัตน์ บุรวัตรนุกุล Benjarat@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ร่วมกับเกม Vonder Go เรื่อง ระบบสืบพันธุ์มนุษย์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปงสนุก อำเภอปัว จังหวัดน่าน ใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 5Es ร่วมกับเกม Vonder Go <br>เรื่อง ระบบสืบพันธุ์มนุษย์, แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน <br>ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 12.91 ± 6.41 ซึ่งสูงกว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่มีค่าเท่ากับ 9.92 ± 7.61 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม<br>การเรียนในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 ± 0.00 จากผลการศึกษา จึงอาจกล่าวได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สามารถถูกพัฒนาผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5Es ร่วมกับ เกม Vonder Go</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; ระบบสืบพันธุ์มนุษย์; การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5Es); เกม Vonder Go</p> 2025-05-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025