การส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
คำสำคัญ:
การคิดเชิงออกแบบ, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้, การสร้างสรรค์นวัตกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ครู ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียน ซึ่ง เป็นนวัตกรรมการสอนอย่างหนึ่งที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดได้ เพราะการคิดเชิง ออกแบบเป็นการผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้คนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้แบบสืบสอบหา ความรู้ และความคิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งนักเรียนจะได้ใช้ทั้งความรู้ ทักษะในการ ปฏิบัติที่สร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการค้นหาทำความเข้าใจข้อมูลอย่างลึกซึ้ง สร้าง และสำรวจ แนวความคิดอย่างจริงจัง ออกแบบทดสอบ ปรับปรุงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ โดยการคิดเชิงออกแบบเป็น วิธีการที่ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และยังเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาให้นักเรียนได้ปฏิบัติเพื่อสร้างนัก ออกแบบหรือนวัตกรให้เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ ช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างแนวทางปฏิบัติที่ดี ที่สุดในการจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการและกลยุทธ์ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของครูในการคิด วางแผน และดำเนินการเพื่อพัฒนาประสบการณ์ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิด และสะท้อนผลการ ทำงานจากการปฏิบัติจริงว่าการทำงานที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร จะพัฒนางานให้ดีขึ้นได้อย่างไร นักเรียน สำรวจและทดลองสร้างสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดทบทวนสิ่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา (Empathize) 2) ขั้นนิยามปัญหา (Define) 3) ขั้นสร้างความคิด (Ideate) 4) ขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) และ5) ขั้นทดสอบ (Test)
Downloads
References
นภาภรณ์ เจียมทอง และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 574-577.
บุญฤดี อุดมผล. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา,10(2), 161.
ประทีป คงเจริญ. (2564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 5(3),172 .
ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (ฉบับราชบัณฑิตยสถาน). กรุงเทพฯ: สำนักราชบัณฑิตยสภา.
ราณี จีนสุทธิ์. (2564). แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. ครุสภาวิทยาจารย์, 2(2), 18.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มูลนิธิ สยามกกัมมาจล.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). กระบวนทัศน์การโค้ช เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566, จาก http://gpa.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุนันท์ สังข์อ่อง. (2555). หลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Brown, T. (2009). Change by Design. New York: Harper Collins Publisher.
Buchanan, R. (1992). Wicked Problems in Design Thinking. Design issues, 82(3): 5-21.
Goldschmidt, G., & Rodgers, P. A. (2013). The Design Thinking Approaches of Three Different Groups of Designers Based on Self-reports. Design Studies, 34(4), 454-471.
IDEO.ORG. (2012). Design Kit. Retrieved August 1, 2023, from http://www.designkit.org/methods/14
Kwek, S. H. (2011). Innovation in the classroom: Design thinking for 21st century learning. Retrieved August 1, 2023, from http://www.stanford.edu/group/redlab/cgibin/publications_resources.php
Lee, D. (2018). Design thinking in the classroom. CA: Ulysses Press. Partnership for 21st century skills. (2009). Professional Development: A 21st Century Skills Implementation Guide. Tucson: Partnership for 21st century skills Organization.
The Stanford d.school Bootcamp Bootleg. (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved August 1, 2023, from https://dschoolold.stanford.edu/sandbox/groups/esignresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง