โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาหรือโอกาสของการจัดการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ศุนิสา ทดลา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

โรงเรียนขนาดเล็ก, ปัญหาหรือโอกาส, การจัดการศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของ ประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่ากระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมี นโยบายและแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก 5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การยุบเลิก สถานศึกษาหรือการควบรวมกับโรงเรียนดีใกล้บ้าน รูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น เรียน รูปแบบที่ 3 การจัดการเรียนรู้โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รูปแบบที่ 4 การบริหารจัดการ โรงเรียนขนาดเล็กที่เป็นเอกเทศ และรูปแบบที่ 5 การจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนเครือข่ายความ ร่วมมือ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดนโยบาย แนวทาง มาตรการการ ดำเนินงาน และพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนรูปแบบการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลการ ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่อย่างจริงจังของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยยึดหลักการกระจาย อำนาจ การพิจารณาและการตัดสินใจอยู่ในระดับพื้นที่เป็นสำคัญ และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหาร จัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้เหมาะสมตามบริบทของ โรงเรียน โดยยึดหลักใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management) และใช้แนวคิดเชิงระบบตามวงจร คุณภาพ PDCA ในการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการและสร้างความ ตระหนัก 2) ขั้นดำเนินการ 3) ขั้นติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน และ 4) ขั้นนำสู่การ ปรับปรุงและพัฒนา โดยการบริหารจัดการและการดำเนินงานโรงเรียนขนาดเล็กต้องอาศัยความร่วมมือ จากทุกภาคส่วน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังพบว่านวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่ง สำคัญที่จะทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพและควรเป็นนวัตกรรมที่โรงเรียนและครูพัฒนาจากความต้องการใน การแก้ปัญหาและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่โรงเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ เด็กมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนเป็นไปเพื่อการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2562-2565. สืบค้นจาก http://www.ska2.go.th/home/data/report/25630519_140915_5359.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1YWMkEoFcgW10aja9fai_6ovMPy7S-Auz/view

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). รมว.ศธ.ตอบกระทู้ถาม “การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก และการจัดสรรงบประมาณด้านบุคลากรทางการศึกษา”. สืบค้นจาก https://ops.moe.go.th/360smallschool-merger/

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/usergroup_disaster/5-10.pdf

Beach D, Johansson M, Öhrn E, et al. (2019) Rurality and education relations: Metrocentricity and local values in rural communities and rural schools. European Educational Research Journal, 18(1): 19–33.

Deming, E. W. (1986). Out of the Crisis. Cambridge, MA: Massachusetts Institute of Technology, Centre for advanced study.

Fargas-Malet and Bagley. (2022). Is small beautiful? A scoping review of 21st-century research on small rural schools in Europe. European Educational Research Journal, 21(5), 822-844. DOI: 10.1177/14749041211022202.

Karlberg-Granlund, G. (2019). Exploring the challenge of working in a small school and community: Uncovering hidden tensions. Journal of Rural Studies, 72: 293–305.

Mansor, A. N., Hamid, A. H. A., Medina, N. I., Vikaraman, S. S., Abdul Wahab, J. L., Mohd Nor, M. Y., & Alias, B. S. (2022). Challenges and strategies in managing small schools: A case study in Perak, Malaysia. Educational Management Administration & Leadership, 50(4), 694-710.

OBEC Channel. (3 สิงหาคม 2565). การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนคุณภาพ 4 ภาค โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา [Video file]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=wEHQsVLdgpA

Pettersson, G & Ström, K. (2019). Professional collaboration between class teachers and special educators in Swedish rural schools. British Journal of Special Education, 46(2): 180.

Raggl A (2015) Teaching and learning in small rural primary schools in Austria and Switzerland –opportunities and challenges from teachers’ and students’ perspectives. International Journal of Educational Research, 74: 127–135.

Raggl, A. (2019). Small Rural Schools in Austria: Potentials and Challenges. In: Jahnke, H., Kramer, C., Meusburger, P. (eds) Geographies of Schooling. Knowledge and Space, vol 14. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-18799-6_12

Raggl, A. (2020). Small rural primary schools in Austria. Places of Innovation? In: Gristy C, Hargreaves L, Kučerová SR (eds). Educational Research and Schooling in Rural Europe: An Engagement with Changing Patterns of Education, Space, and Place. Charlotte: Information Age Publishing, pp.199–216.

The 101. Word. (2566). ปักหมุดความเหลื่อมล้ำ แก้โจทย์โรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นจาก https://www.the101.world/inequality-in-small-school/

Tsiakkiros, A., Pashiardis, P. (2002). The management of small primary schools: The case of Cyprus. Leadership & Policy in Schools, 1(1): 72.

Wildy, H., Siguräardóttir, S.M., & Faulkner, R. (2014). Leading the small rural school in Iceland and Australia: Building leadership capacity. Educational Management Administration & Leadership, 42(4 Supplement): 104–118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14