ความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปและความสัมพันธ์ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • วิมลัก สรรคพงษ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • จรูญศรี คล้ายลี โรงเรียนสาธิต (ปฐมวัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุนิศา มีแก้ว โรงเรียนสาธิต (ปฐมวัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

คณิตศาสตร์, แบบรูปและความสัมพันธ์, สืบเสาะหาความรู้, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้าน แบบรูปและความสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ นักเรียน ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านแบบรูปและความสัมพันธ์ และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ แบบแผนการวิจัยที่ใช้เป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (the one group, pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\mu) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (gif.latex?\sigma) และค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่ (gif.latex?\bar{D}) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้น อนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ ด้านแบบรูปและความสัมพันธ์สูงขึ้น (gif.latex?\bar{D}= 13.36) และอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\mu= 18.00, gif.latex?\sigma=0.00)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ พิทยะภัทร์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. บทความวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2558 : ออนไลน์. สืบค้นจาก https://so05.tcithaijo.org กกกกกก/index.php/suedureasearchjournal/article/view/33205

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญพัฒน์ โพธินาม และนนทชนนปภพ ปาลินทร. (2562). การจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลพิบูลมังสาหารวิภาคย์วิทยากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

ปรมาภรณ์ ทองสุ. (2550). การพัฒนาการคิดทางบวกสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชย์

รัศมี ตันเจริญ. (2561). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

อรพรรณ ภาคธรรม. (2556). ผลของการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่มีต่อทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่องแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ

เอกรัตน์ ทานาค. (2563). สอนคิดแบบนักวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : ไซเบอร์พริ้น กรุ๊ป จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14