การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการติดตามและการแบ่งแรงดันไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • อังทินี กิตติรวีโชติ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์, เทคนิคการติดตามและการแบ่งแรงดันไฟฟ้า, การแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เพื่อส่งเสริม ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้าด้วยเทคนิคการติดตามและการแบ่งแรงดันไฟฟ้า สำหรับ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้าระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ และ 3) เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ ประชากร ได้แก่ นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในราชูปถัมภ์ และโรงเรียนวัด ยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 78 คน กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกตามความสมัครใจ จากโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในราชูปถัมภ์ จำนวน 25 คน และจากโรงเรียนวัด ยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) จำนวน 26 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียน ออนไลน์ แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้า และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้าด้วยเทคนิค การติดตามและการแบ่งแรงดันไฟฟ้า สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เป็นไป ตามเกณฑ์มาตรฐาน 88.71/83.07
2) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาวงจรไฟฟ้าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรรณิการ์ วงษ์พานิชย์. (2564). การวัดและประเมินผลการสอนแบบออนไลน์. เข้าถึงได้จาก: https://registrar.ku.ac.th/wp-content/uploads/2021/05/07-ผศ.ดร.กรรณิการ์.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 18 เมษายน 2565).

เกริก ศักดิ์สุภาพ. (2562). การแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 7–21.

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2556). e-Learning Courseware: อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุกระดับ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชเนษฎ์ วิชาศิลป์ สุดาพร ต้นรัก และสมจิตร อินสองใจ. (2560). การพัฒนาชุดการทดลองเรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17, 2497–2505.

ชาญวิทย์ คำเจริญ. (2565). การวิเคราะห์ความเข้าใจเรื่องวงจรไฟฟ้ากระแสตรงของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้แบบทดสอบปรนัย. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 13(1), 71–84.

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice.โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

นิตยาภรณ์ ศรีภาแลว ปิยะธิดา ปัญญา และไพศาล วรคํา. (2557). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องในการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ 5 เรื่อง พลังงานไฟฟ้า สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15, 2493–2501.

นาตยา ช่วยชูเชิด. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด โดยใช้โครงงานเป็นฐาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 1(1), 1–11.

นาตยา ช่วยชูเชิด. (2563). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์แบบสืบเสาะร่วมกับโปรแกรมมูเดิล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สื่อนวัตกรรมและการศึกษาเชิงสร้างสรรค์, 3(2), 52–64.

พัชรฎา พลเยี่ยม. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยร่วมกับกลวิธี STAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). e-book หนังสือพูดได้. กรุงเทพมหานคร: ฐานบุ๊คส์.

วัชราภรณ์ เพ็งสุข. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาคอมพิวเตอร์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 7–13.

วีรดา ลิมปิสวัสดิ์. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับเทคนิคการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิรินทิพย์ ห่วงทอง. (2563). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานร่วมกับกระบวนการเรียนแบบฝึกปฏิบัติวิชาหลักการพื้นฐานมวยไทยเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สลิลทิพย์ บุญเลิศ สรินยา พรหมมา วิทัศน์ ฝักเจริญผล และทัศตริน วรรณเกตุศิริ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาแนวคิดคลาดเคลื่อนวิทยาศาสตร์ เรื่อง วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 3(1), 1–14.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(1), 1–15.

สุมาลี สิกเสน. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 239–252.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2561). คู่มือการใช้บทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาตนเองสู่ความเป็นครูมืออาชีพ”. เข้าถึงได้จาก: https://edu.kpru.ac.th/contents/elearning3/10.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 18 เมษายน 2565)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

หน่วยศึกษานิเทศก์. (2545). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อภิรักษ์ กุลชุตินธร (2559). การพัฒนาการเรียนรู้วิชาวงจรไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อมรินทร์ อำพลพงษ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 507–528.

Anna Qian Sun and Xiufang Chen. (2016). Online Education and Its Effective Practice: A Research Review. Journal of Information Technology Education: Research, 1 5, 157–190.

Aungtinee Kittiravechote. (2019). Promoting in Solving Electric Circuit Problems via Voltage Tracking and Division. European Journal of Science and Mathematics Education, 7(4), 149–155.

Barış Sezer. (2017). The Effectiveness of a Technology Enhanced Flipped Science Classroom. Journal of Educational Computing Research, 55(4), 471–494.

Igor Chirikov, Tatiana Semenova, Natalia Maloshonok, Eric Bettinger, and René F. Kizilcec. (2020). Online Education Platforms Scale College STEM Instruction with Equivalent Learning Outcomes at Lower Cost. Science Advances, 6(15), 1–10.

Pratim Sengupta and Uri Wilensky. (2016). Understanding Electric Current Using AgentBased Models: Connecting the Micro-level with Flow Rate. Proceedings of the Eighth International Conference on Computer Supported Education (CSEDU 2016), 216–227.

Rattanan Rodthong and Monrak Lertwilai. (2022) Online Learning and Blended Learning. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 417–429.

Tatiana Goris. (2016). Common Misunderstandings of Electricity: Analysis of Interview Responses of Electrical Engineering Technology Students. International Journal of Engineering Pedagogy, 6(1), 4–10.

UNESCO. (2005). Working Paper: Asia-Pacific Regional Strategy for Education for Sustainable Development. Bangkok, BKK: UNESCO Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14