การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาสาขาปฐมวัยชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ญาณิกา สกุลกลจักร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความคิดวิเคราะห์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ นักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ชั้นปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2565 จำนวน 1 หมู่เรียน คือหมู่เรียน D1 รวมทั้งสิ้น 23 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบแผนการวิจัยที่ใช้เป็น แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังก่อนการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า หลังจากนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย
1) นักศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุก ด้าน คือ ด้านความสำคัญ ด้านความสัมพันธ์ ด้านหลักการ
2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามแนวปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( 𝑥̅=4.32, S.D.=0.52)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2545). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านทักษะการคิด. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

ขวัญฤดี บุญแก้วสุข. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2542). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 42(1),5-6

ณรงค์วัฒน์ มิ่งมิตร. (2553) ประสิทธิผลของสถานศึกษาที่ดำเนินการตามโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

ทิศนา แขมมณี. (2554). การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด, วารสารครุศาสตร์, 1,15-16

บุษบา แสนล้ำ. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

ปานรวี ยงยุทธวิชัย. (2552). นวัตกรรมการศึกษาชุด การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยพิพัฒน์

วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2553). การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking). วิทยาจารย์. 6(12), 36-37

อัยรดา เรืองฤทธิ์. (2549). การพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ของเยาวชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14