การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการคูณ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ ไชยายงค์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ประภาพร หนองหารพิทักษ์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปวีณา ขันธ์ศิลา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การคูณ, เทคนิค TAI

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ แบบวัดความพึงพอใจ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI คิดเป็น ร้อยละ 75.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กาญจนาพร จันทร์ฤทธิ์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับแบบฝึกหัดฝึกทักษะที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหน่วยการเรียนรู้ รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(2), 15-27.

เกศินี โสขุมา, กฤษณะ โสขุมา, ลาวัลย์ พิชญวรรธน์, & วรพล วิแหลม. (2024). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วม กับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือรายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุ ศาสตรบัณฑิต. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 18(1), 85-93.

ชิษณุพงศ์ เงินแจ่ม. (2563). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหา สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต .มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

ฒิชากร ปริญญากาญจน์และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง การบวก และ การลบเลข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 115-128.

ณัฐวุฒิ บุตตะวงษ์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้เทคนิค TAI เรื่อง สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนัชยศ จำปาหวาย. (2559). หลักการคณิตศาสตร์สําหรับคร ู (Mathematics Principle for Teacher). เอกสารประกอบการสอน. คณะคุรุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปรียาพรรณ พระชัย. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ร่วมกับแบบฝึกทักษะเรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการีศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พงษ์นรินทร์ ศาลางาม, ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์, & นุชจรี บุญเกต. (2023). การเปรียบเทียบรูปแบบการเรียนแบบ ร่วมมือเชิงรุกร่วมกับบทเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับ นักศึกษาครู. วารสารการบริหารการปกครอง และ นวัตกรรมท้องถิ่น, 7(3), 51-64.

พัชรินทร์ ทิตะยา. (2562). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการใแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ของนักเรียนประถมศึกษา ปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์วิทยาลัยครุศาสตร์

ภัทรลดา ประมาณพล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง จำนวนนับ และการบวก การลบ การคูณ การหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค TAI. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร-มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เรวดี ศรีสุข. (2562). “การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative learning) ใน การออกแบบจัดการเรียนการสอน.” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี, 2(1), 5-16.

สุจิตรา แทนมืด, และ สมภพ แซ่ลี้. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 87-96.

อนุตรา อินทสอน, และ ดุจเดือน ไชยพิชิต. (2564). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ5 ขั้น (5E) ร่วมกับเทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 142-159.

Slavin, R.E. (1984). Team assisted individualization: Cooperative learning and individualized instruction in mainstreamed classrooms. Remedial and Special Education, 5(6), 33-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04