ความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่น
คำสำคัญ:
ความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, เด็กปฐมวัย, กิจกรรมการเล่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ปฐมวัย) สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และแผนการจัดกิจกรรมการเล่น โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage) ของค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างคะแนนแต่ละคู่
ผลการวิจัยพบว่า
นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นมีความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ( = 16.06) และอยู่ในระดับดีมาก ( = 23.65, = 0.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นและอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง ( =5.18, =5.94 คิดเป็น 99.02% และ =0.24) ด้านการจำแนก ( =4.53, =6 คิดเป็น 100% และ =0) ด้านการเปรียบเทียบ ( = 1.95, =5.71 คิดเป็น 95.10% และ =0.82) และด้านการเรียงลำดับ ( =4.41, =6 คิดเป็น 100% และ =0)
Downloads
References
ชญาภา สิงห์มหา. (2560). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมศิลปะแบบบูรณาการสำหรับ
นักเรียนชั้นอนุบาลปี 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2556). แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเล่นของของเด็กปฐมวัย. ในเอกสารการสอนชุดวิชา การเล่น ของเล่น และเครื่องเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย. (เล่ม 1, หน่วยที่ 1, น. 1-1 ถึง 1-44). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พัทยา เชี่ยววิชา. (2557). การใช้กิจกรรมการเล่นเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กออทิสติก.
(การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ. (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. ม.ป.ป. ม.ป.พ
สถาบันราชานุกูล.(2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). กรอบการเรียนรู้ และแนวทางการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้บูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง