การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • นิศาชล ฉัตรทอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • เพ็ญพร ทองคำสุก สาขาวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง, การจัดการเรียนรู้, การใช้ปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ระหว่างก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 21 คน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่กำลังศึกษารหัสวิชา 213412 รายวิชาภาวะผู้นำ ประจำภาคเรียน 1 ปีการศึกษา 2566 หมู่เรียนที่ 1 จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยทุกแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) แบบวัดความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า
1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาภาวะผู้นำ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ โดยหน่วยการเรียนรู้ละ จำนวน 4 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง คือ 1) ธรรมภิบาลของผู้นำ 2) ภาวะผู้นำยุคใหม่ จำนวน 4 ชั่วโมง 3) กรณีศึกษา ผู้นำของประเทศไทย และผู้นำระดับโลก มี 5 ขั้นการสอน คือ 1) การออกแบบปัญหา 2) สร้างสถานการณ์ 3) การทำงานเป็นกลุ่ม 4) การนำเสนอและอภิปราย และ 5) การประเมินและสรุป
2) ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเอง ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือได้ว่ามีการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

เรวดี จันทร์รัศมีโชติ, พงศ์เทพ จิระโร, สมโภชน์ อเนกสุข.การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมสู่การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่17). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และวิทยา ทองดี. (2565). “การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) MANAGEMENT OF PROBLEM-BASED LEARNING”. มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 967-976.

สุคน สินธพานนท์. (2560). ผู้สอนยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง: กรุงเทพ

Anderson, M. (2016). Learning to Choose Choosing to Learn: The Key to Student Motivate & Achievement. Alexandria, VA: AS

Council on Social Work Education [CSWE]. (2014). Draft 3 of the 2015 Educational Policy and Accreditation Standards (EPAS). Alexandria, VA: Author.

Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Fitz - Gibbon & Carol, T. 1987. How to Design a Program Evaluation. Newbury Park: Sage.

Guglielmino, L.M. (1977). Development of the Self-directed Learning Readiness Scale. Doctoral Dissertation. University of Georgia. University of Georgia. Dissertation Abstracts International.

Merrian, S.B. and Caffarella, R.S. (1991). Learning in adulthood. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05