การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มโรงเรียนตำบลกวางโจน

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ชัยอาวุธ โรงเรียนบ้านหนองกุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, การจัดการเรียนรู้รูปแบบโฟร์แมทซิส, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองกุง กลุ่มโรงเรียนตำบลกวางโจน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่า ∝=0.89 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่า ∝=0.95 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีค่า ∝=0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?%5Cbar%7Bx%7D = 4.44, S.D. = 0.58)
2) การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับโฟร์แมทซิสเต็มในการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.32, S.D.=0.46)
3) ผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เฉลี่ยเท่ากับ 0.82 ถือว่ามีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญญา ศรีสุข. (2558). การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การสะกดคำในภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4. วารสารการบริหารการศึกษา. (5)2, 152-159.

ญาสุมน พรหมพิทยาจารย์, (2556). ผลการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบโฟร์แมทที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. (3)5, 55-66.

นิตยา ฉิมวงศ์. (2551). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยรูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการสอนตามปกติ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2550). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

พชรภรณ์ เชียงสิน, (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. (11)1,698.

เพ็ญประภา อุดมฤทธิ์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดการเรียนการสอน เรื่องสมการกําลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2564. กลุ่มนโยบายและแผน.

สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2559). เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

อมรรัตน์ มุสิกะโรจน์. (2557). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ 4MAT ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

Bandman, E.L. & Bandman, B. (1995). Critical Thinking: Tools for Taking Charge of Your Professional and Personal Life. Connecticut: Appleton & Lange

Fosnot, C.T. (1996). Constructivism: Theory, Perspectives, and Practice. New York: Teacher College Press

McCarthy, Bernice. (1990). 4 Mat in Action. New York: West Station Street.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04