เสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้แต่ง

  • อิทธิเดช น้อยไม้ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณัฐวรรณ เฉลิมสุข โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student – Centered Learning) มุ่งจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติอย่างตื่นตัว ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม ตามความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการเรียน การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ และดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในฐานะพลเมืองดีของสังคม บทความนี้นำเสนอความรู้เกี่ยวกับ ความหมายของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ปรัชญา ทฤษฎี และแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมสมรรถนะผู้เรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ช่วยเสริมสมรรถนะผู้เรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

บังอร เสรีรัตน์. (2565). ครูกับการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 14(1), 1-11.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สาริตา บัวเขียว. (2559). Scaffolding ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร. วารสารมนุษยสังคม

ปริทัศน์, 18(1), 1-15.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564 ก). กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564 ข). แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก : ถอดบทเรียนจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สมุทรปราการ: เอส.บี.เค. การพิมพ์.

Bransford, J., Brown, A. & Cocking, R., (2000). How People Learn: Brain, Mind, and Experience & school. Washington, D.C.: National Academy Press.

Brame, C. (2016). Active Learning. Vanderbilt University Center for Teaching. Retrieved from https://cft.vanderbilt.edu/active-learning/

Cambridge Assessment International Education. (2022 A). Active Learning. Retrieved from https://www.cambridgeinternational.org/Images/271174-active-learning.pdf

Cambridge Assessment International Education. (2022 B). Getting Started with Active Learning. Retrieved from https://www. cambridge-community.org.uk/professional-development/gswal/index.htm

Fedler, R.M. and Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching, 44.

Gleason, B.L., Peeters, M.J., Resman - Targoff, B.H., Karr, S., McBane, S., Kelley, K., Thomas,

T & Denetclaw, T.H. (2011). An Active – Learning Strategies Primer for Achieving Ability – Based Educational outcomes. American Journal of Pharmaceutical Education. 75(9), 186. Retrieved from https://doi.org/10.5688/ajpe759186

McKinney, K. & Heyl, B. (2008). Sociology Through Active Learning. 2nd ed. Thousand Oaks,CA: SAGE/Pine Forge Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18