ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • นิวัฒน์ เจริญศิริ สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จตุพล ยงศร สาขาวิชาการพัฒนาและการจัดการการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษา, การพัฒนาองค์กร, ประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับ การพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีความเชื่อว่าผู้นำไม่ได้เป็นมาโดยกำเนิดแต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดผู้นำในองค์กรขึ้นมาได้ ซึ่งการเป็นผู้นำสามารถสร้างขึ้นได้จากการที่บุคคลนั้นใช้ความรู้และความสามารถผสมผสานกับความเพียรพยายามจนกลายเป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรและยกย่องให้บุคคลผู้นั้นเป็นผู้นำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีสัมพันธภาพในเรื่องของการใช้อิทธิพลที่มีต่อกันและกันระหว่างผู้นำกับผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยสะท้อนถึงวัตถุประสงค์ที่มีร่วมกัน ภาวะผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพล (Influence) ที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มบุคคล ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านั้นมีความตั้งใจที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ผู้นำกับผู้บริหารมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้บริหารเป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นภายในองค์กร มีอำนาจโดยตำแหน่งและได้รับความคาดหวังในตำแหน่งหน้าที่โดยมุ่งเน้นที่การควบคุมและการตัดสินใจ ส่วนผู้นำจะมีคุณลักษณะของภาวะผู้นำไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม ในขณะที่ผู้นำอาจไม่ได้รับมอบอำนาจทางสายงานแต่อาจมีอำนาจโดยวิธีอื่นและมีบทบาทที่กว้างกว่าบทบาทของผู้บริหาร ซึ่งผู้นำจะเน้นที่กระบวนการกลุ่ม การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับและการใช้อำนาจกับบุคคลอื่น จึงกล่าวได้ว่าภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญต่อกระบวนการบริหารนั้นเอง ผู้นำจำเป็นต้องมีทั้งศาสตร์และศิลป์ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร รวมถึงความสำเร็จของงานในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้าและสามารถสร้างความสามัคคีภายในองค์กรให้มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อ มุ่งไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน ภาวะผู้นำจึงเปรียบเสมือนอาวุธประจำกายของผู้บริหาร และผู้นำที่เป็น นักบริหารมืออาชีพจึงจะสามารถสร้างอำนาจชักนำและมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ และสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดหรือชี้วัดภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญวิทย์ ศรีจันทร์. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิต. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (อุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประยุทธ์ ปยุตโต. (พระธรรมปิฎก, 2540). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา. พิชญาภา ยืนยาว. (2562). ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาและถานศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (ประกอบการกำหนดตำแหน่งวิชาการ รองศาสตราจารย์ สาขาการศึกษา อนุสาขาวิชาการบริหารการศึกษา)

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: ธนชัชการพิมพ์. วิเชียร วิทยอุดม. (2554). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์. วิจิตร เสาวรัจ. (2565). ความแตกต่างระหว่างผู้บริหารกับผู้นำ. ออนไลน์ สืบค้นจาก https://wsaoams3.wordpress.com

วนิดา พิพัฒน์วัฒนะกุล. (2551). การศึกษาคุณลักษณะผู้นำและประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครูจังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

วิรุฬห์จิต ใบลี. (2548). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1-2. เลย: วิทยานิพนธ์. ค.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555). ครบเครื่องเรื่องนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเซียเพรส (1989).

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุคลิ้งค์. สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (ม.ป.ป.). ภาวะผู้นำของนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. สืบค้นจาก https://www.supatta.haysamy.com/leader_pro.html.

DuBrin, J. (1998). Leadership research finding: Practice and skills. Boston Houghton: Mifflin Company.

Gibson, J. L., Ivancevich, J. M. & Donnelly, J. H., Jr. (1997). Organizations, Behavior Structure Processes. United States of America: Irwin/McGraw-Hill.

Hanson, M. E. (1996). Educational Administration and Organization Behavior (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Hersey, P & Blanchard, K.H. (1993). Management of organizational behavior: Utilizing human resources (6th ed.). New Delhi: Prentice Hall of India.

Kotter, J. (1990). A Force of Change: New Leadership Differs from Management. London: Macmillan.

Nethercote, R. (1998). Leadership in Australian University. Colleges and Halls of Residence: A Model for the Future. Unpublished Doctor of Education Thesis, The University of Melbourne, Parkville.

Nelson, D. L. & Quick, J. C.(1997). Organization Behavior (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Pursley, R. D., and Snortland, N. (1980). Managing government organizations. North Scituate, MA: Duxbury.

Robbins, S. P. (2000). Organizational behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Robert L. Katz (1983). Executive Success Making If in Management. New York: John Wiley and

Sons.

Stogdill, R.M. (1974). Handbook of Leadership: a Survey of the Literature. New York: Free press.

Trimble, S. and Miller, J.W. (1996). “Creation, Invigoration and Sustaining Effective Teams. (Personalizing the High School: The Most Important Reform),” NASSP Bulletin. 2 (4): 40.

Yukl, G. A. (2010). Leadership in organizations (7th ed.). New Jersey: Prentice - Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18