การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • กัญญภัทสิทณี เพชรรัตน์ สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • กฤษดา ผ่องพิทยา สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
  • พนัส จันทร์ศรีทอง สังกัดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, พลเมือง, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การบริหารงานวิชาการ เป็นการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ดำเนินการจัดทำหลักสูตร กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร นำหลักสูตรไปใช้ และการวัดและประเมินผลหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน โดยกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวัดและประเมินผล มีการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย การนำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาปรับปรุงการเรียนการสอน และการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ดำเนินการสำรวจ วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการสื่อและแหล่งเรียนรู้ การจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนการพัฒนาสื่อ แบบเรียน และแหล่งเรียน ดังนั้นการจะพัฒนาพลเมืองของประเทศให้เป็นพลเมืองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมนั้นจำเป็นต้องอาศัยการบริหารงานวิชาการภายในโรงเรียน มีการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาพลเมืองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีความสามารถ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยง มีความเป็นห่วงเป็นใยและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของผู้เรียนหรือตัวเยาวชนเอง ซึ่งแนวคิดความเป็นพลเมืองที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน มีทักษะในการบ่งชี้สาเหตุ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเมื่อมีโอกาส มีความกังวลถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน มีพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมในการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนอีโคสคูล. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การถอดบทเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๙).กรุงเทพฯ: ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

European Network for Environmental Citizenship. (2018). New thinking in environmental citizenship. Retrieved 2021, 19 June http://enec-cost.eu/.

Gunningham, N. (2002). Leaders and Laggards: Next Generation Environmental Regulation. Canberra: Greenleaf Publishing.

Hawthorne, M., & Alabaster, T. (1999). Citizen 2000: development of a model of environmental citizenship. Global Environmental Change, 9, 25-43.

Subahan, T, & et al. (2010). Environmental citizenship: What level of knowledge, attitude, skill, and participation the students own?. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2(2010), 5715 - 5719.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18