องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วิไลลักษณ์ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ, การประเมินและการตัดสิน, การประกวดวงดนตรีไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสิน
การประกวดวงดนตรีไทย โดยมีระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพที่ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย และการวิจัยเชิงทดลองผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย ประกอบด้วย (1) องค์ประกอบด้านทักษะดนตรี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ คือบุคลิกภาพผู้บรรเลงดนตรี และทำนองดนตรี (2) องค์ประกอบด้านทักษะขับร้อง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ คือ บุคลิกภาพผู้ขับร้อง และทำนองร้อง (3) องค์ประกอบด้านทักษะการรวมวง ประกอบด้วยตัวบ่งชี้คุณภาพ คือ จังหวะ และกลวิธีการปรับวง โดยผลการตรวจสอบคุณภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ การประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย พบว่า เครื่องมือวัดและประเมินผลตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย ซึ่งจัดทำเป็นแบบบันทึกค่าคะแนนตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทยมีผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากผลการประเมินตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการประเมินและตัดสินการประกวดวงดนตรีไทยของระหว่างกลุ่มวงดนตรีไทยที่มีทักษะในระดับมาก (ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ) ( X = 87.10, S.D. = 3.91) สูงกว่ากลุ่มวงดนตรีไทยที่มีทักษะในระดับน้อยถึงระดับปานกลาง (เข้ารอบการประกวดรอบคัดเลือก แต่ไม่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ) ( X =80.88, S.D. = 1.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าความสอดคล้องของผู้ประเมิน (คณะกรรมการตัดสินการประกวดวงดนตรีไทย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566) เท่ากับ 0.864 - 0.964 อยู่ในระดับสูง มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดและประเมินผลฯ เท่ากับ .965 แสดงว่าเครื่องมือมีความน่าเชื่อถือ และสามารถนำเครื่องมือนี้ไปใช้จริง นอกจากนี้มีผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกันในทุกรายการประเมิน และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและการประเมินทักษะการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทนา คชประเสริฐ. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติดนตรีไทย รหัส 626253. ชลบุรี : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทนา คชประเสริฐ และกิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2559). หลักเกณฑ์การตัดสินและการประเมินผลการบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย. งานวิจัย คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา.

จันทนา คชประเสริฐ และกิตติภัณฑ์ ชิตเทพ. (2559). หลักเกณฑ์การตัดสินและการประเมินผลการบรรเลงในการประกวดดนตรีไทย. ครุศาสตร์สาร. 12(2), 51 – 72.

โชติกา ภาษีผล. (2558). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติกา ภาษีผล, ณัฏญภรณ์ หลาวทอง และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2554). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2560). วิธีวิทยาการสอนดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พรรณีพริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

ณวัฒน์ หลาวทอง. (2555). การศึกษาและพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานการตัดสินการประกวดการบรรเลงวงดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(วัฒนธรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประยุทธ ไทยธานี. (2546). การสร้างและพัฒนาแบบสอบความถนัดทางดนตรีไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(จิตวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 9(1), 1-17.

เพชราวดี จงประดับเกียรติ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะพิสัย. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะพิสัย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม.

ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช และสิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินและระบบคุณภาพการตัดสินผลการประกวดบรรเลงรวมวงมโหรี. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(4), 300 - 317.

สุพัตรา วิไลลักษณ์. (2556). การจัดการศึกษาดนตรีไทยในอนาคต. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย พุทธศักราช 2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Wesdoski, Brian C.. (2012). Understanding and Developing Rubrics for Music Performance Assessment. Music Educators Journal. 98(3), 36-42.

Macmillan, Thomas T. (1971). The Delphi Technique. The Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Ca : Monterey, May 3-5.

Scott, S. J. (2012). Rethinking the roles of Assessment in Music Education. The National Association for Music Education. 98

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18