การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาด้วยเทคนิคโมเดล การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
คำสำคัญ:
การพัฒนาตัวบ่งชี้, เรียนรู้ด้วยตนเอง, วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบทคัดย่อ
การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาด้วยเทคนิคโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 380 คน และมีวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ วิเคราะห์ขอ้มูลใช้ค่าสถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า
1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.88 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ 0.22 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเท่ากับ 3.92 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 มีค่าความเบ้เท่ากับ -0.25 และมีค่าความโด่งเท่ากับ -0.12
2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองและปัจจัยหลัก 8 องค์ประกอบ มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.58
3. ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ด้วยตนเองและปัจจัยหลัก 8 องค์ประกอบ สอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ตามเงื่อนไข/ระดับการยอมรับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์พิจารณาค่าสถิติเพื่อตรวจสอบ ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
Downloads
References
กมลรัตน์ โยธานันต์. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการรับส่งพัสดุภัณฑ์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), หน้า 30-43.
ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : จากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัฐวรา จันทร์เอี่ยม. (2562). ประสิทธิผลและความพึงพอใจในการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการสอนเสมือนจริง ในการดูแลแผลกดทับของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 11, ฉบับที่ 22 (ก.ค.-ธ.ค. 2562), หน้า 45-56.
นพมาศ ปลัดกอง, ปิยดา สมบัติวัฒนา และนริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้.ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด. (จิตวิทยาประยุกต์)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยะยา ยุทธิปูน และมารุต พัฒผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการสื่อสารภาษาอังกฤษและทักษะชีวิต สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด.(การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 . กองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๒. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก.
สินธะวา คามดิษฐ์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Enriquez, Juan. (2001). As the Future Catches You. New York: Tuttle-Mori.
Posner, M. I. (1993, October 29). Seeing the mind. Science, 262, 673 –674.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง