การถอดบทเรียนโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • วิเชียร อินทรสมพันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, คุณภาพการศึกษา, การพัฒนาท้องถิ่น, พี่เลี้ยง, มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2559-2564 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโครงการฯ และยินยอมให้ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผู้จัดโครงการ 4 คน และผู้เข้าร่วมโครงการ 50 คน รวมจำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายเปิด แบบสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิเคราะห์เอกสารและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อโครงการฯ มีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านแหล่งผู้ให้ทุนโครงการ คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งเสนอข้อเสนอโครงการฯ หากได้รับการพิจารณาจึงได้รับเงินสนับสนุนจัดทำโครงการ แต่หากในปีนั้น ๆ ไม่มีการให้ทุน หรือข้อเสนอโครงการไม่ได้รับการอนุมัติจะไม่สามารถจัดทำโครงการได้ 2) ปัจจัยความเชี่ยวชาญของสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาให้สอดคล้องตามความต้องการของโรงเรียน และตามความเชี่ยวชาญของสถาบันอุดมศึกษา 3) ปัจจัยความร่วมมือของโรงเรียน โดยโรงเรียนส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ และ 4) ปัจจัยด้านอุปสรรคของผู้เข้าร่วมโครงการ ครูที่เข้าร่วมโครงการมีภารกิจในการสอนที่โรงเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะครุศาสตร์. (2560). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2559. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

คณะครุศาสตร์. (2561). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

คณะครุศาสตร์. (2562). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

คณะครุศาสตร์. (2563). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

คณะครุศาสตร์. (2564). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

คณะครุศาสตร์. (2565). รายงานผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2562). พฤติกรรมเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนการสอนหรือผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 13(2), 183-196.

ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการสร้างสื่อการเรียนรู้และการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรของนักศึกษาครู. ครุศาสตร์สาร, 16(1), 236-247.

นโยบายและยุทธศาสตร์, สำนัก. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียน การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. (2561). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), สำนักงาน. (2565). รายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Andreasen, J. K., Bjørndal, C. R., & Kovač, V. B. (2019). Being a teacher and teacher educator: The antecedents of teacher educator identity among mentor teachers. Teaching and Teacher Education, 85, 281-291.

Aykan, A., & Yıldırım, B. (2022). The Integration of a lesson study model into distance STEM education during the covid-19 pandemic: Teachers’ views and practice. Technology, Knowledge and Learning, 27(2), 609-637.

Betlem, E., Clary, D., & Jones, M. (2019). Mentoring the Mentor: Professional development through a school-university partnership. Asia-Pacific Journal of Teacher Education, 47(4), 327-346.

Edu, T., Negricea, C., Zaharia, R., & Zaharia, R. M. (2022). Factors influencing student transition to online education in the COVID 19 pandemic lockdown: Evidence from Romania. Economic Research-Ekonomska Istraživanja, 35(1), 3291-3304.

Maphalala, M. C. (2017). Understanding the role of mentor teachers during teaching practice session. International Journal of Educational Sciences, 5(2), 123-130.

Rasmitadila, R., Humaira, M. A., Rachmadtullah, R., Sesrita, A., Laeli, S., Muhdiyati, I., & Firmansyah, W. (2021). Teacher Perceptions of University Mentoring Programs Planning for Inclusive Elementary Schools: A Case Study in Indonesia. International Journal of Special Education (IJSE), 36(2), 53-65.

Susanna, V. (2022). Information and Communication Technologies in Education. Eurasian Journal of Learning and Academic Teaching, 6, 89-93.

Tannirat, T., Songkram, N., Dulyakorn, V., & Upapong, S. (2022). The Implementation of Computational Thinking Books and Materials Set for Lower Primary School Students. Specialusis Ugdymas, 2(43), 3062-3067.

Wang, L. H., Chen, B., Hwang, G. J., Guan, J. Q., & Wang, Y. Q. (2022). Effects of digital game-based STEM education on students’ learning achievement: a meta-analysis. International Journal of STEM Education, 9(1), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18