การพัฒนาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวาง ในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ปราณปริยา ชัยสวัสดิ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วาปี คงอินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, การสอนอ่านแบบกว้างขวาง, การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวาง ในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ คือ แบบฝึกหัด และแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวางมีประสิทธิภาพ 80.90/80.63 ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด

2) ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2หลังเรียนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวางสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 หลังเรียนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนอ่านแบบกว้างขวาง เฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 53.98 ซึ่งอยู่ในระดับสูง

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิราภรณ์ ปกรณ์. (2561). เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง. http://www.scimath.org/

ดิษลดา เพชรเกลี้ยง, ศุภณัฐ พานา และวุฒิชัย บุญพุก. (2565). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วารสารครุศาสตรสาร, 16 (1), 214-225.

ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์, กรองทิพย์ นาควิเชตร, สงวนพงษ์ ชวนชม เเละอลงกต ยะไวทย์ (2562). ปัจจัย

ที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, วารสารชุมชนวิจัย, 13(1), 214-227.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2554). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 119-127.

สงวนพงศ์ ชวนชม, อำนาจ อยู่คำ และสำเริง บุญเรืองรัตน์. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารงานวิชาการคณะวิชาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร มศว, 19(2), 107-119.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหาร จัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552) ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหาร จัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อมฤตา โอมณี และนิสากร จารุมณี. (2558, 10 มิถุนายน). ความพึงพอใจต่อการใช้วิธีการอ่านแบบกว้างขวาง

ผ่านกิจกรรมแบบดั้งเดิมและออนไลน์ในการพัฒนาทัศนคติและนิสัยการอ่านภาษาอังกฤษ. [บทความนำเสนอ] การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 25: เรื่อง “วิจัยไทย เพื่ออนาคต”, สงขลา, ประเทศไทย.

อลงกต ยะไวทย์ และ ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล. (2562). การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยการสร้างสภาวะแวดล้อมการเรียนด้วยการทำงานในสภาพจริง. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

อรวี ขุมมิน, นฤมล ศิระวงษ์ และนิพาดา ไตรรัตน์. (2565). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียนในโลกชีวิตวิถีใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1), c9-c15

Arikunto, S. (1986). Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. Jakarta: Bumi Aksara.

P. Chen, X. Liu, W. Cheng, and R. Huang. (2017) A review of using Augmented Reality in

Education from 2011 to 2016. Innovations in Smart Learning. Singapore: Springer Singapore.

Cheng, K.-H. (2018). Surveying Students’ Conceptions of Learning Science by Augmented Reality and their Scientific Epistemic Beliefs. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 14(4), 1147-1159.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate

data analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hartati, N., & Yogi, H. P. S. (2019). Item Analysis for a Better Quality Test. English

Language in Focus (ELIF), 2(1), 59–70.

Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. (2nd ed).

New York, NY: Guilford Press.

Nuttall, C. (1996). Teaching reading skills in a foreign language. (2nd ed.) Oxford: Heinemann.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18