ผลการใช้ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • นิศาชล ฉัตรทอง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะ, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

ผลการใช้ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) การหาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกทักษะตามเกณฑ์ 80/80 คำนวณจากสูตร E1/E2 และ 2) วิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพชุดแบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะ มีประสิทธิภาพอยู่ที่ร้อยละ 87.42/80.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2) มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยชุด แบบฝึกทักษะกระบวนการสืบเสาะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัลยาณี ศรีสุขพันธ์. (2562). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โดยการจัด การเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง กรด-เบส. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์)). มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2563). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : จากแนวคิดทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยาณี ณ นคร. (2558) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการสะทอนคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อพัฒนาการคิดอยางมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด.(การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยะยา ยุทธิปูน, & มารุต พัฒผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการสื่อสารภาษาอังกฤษและทักษะชีวิต สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น.ปริญญานิพนธ์ (ปร.ด.(การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร)) : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรพล จันทรวงศ์. (2562). ความสามารถและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณในเนื้อหาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. Vol. 14 No. 3 (2019): กันยายน-ธันวาคม 2562.

วิระวรรณ สุภานันท์. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คุรุสภาวิทยาจารย์. ฉบับที่่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2564

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 . กองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา. (2562). พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๖๒. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก.

สุรพล นิติไกรพจน์.(2557). กฎหมายหลักเกี่ยวกับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สถาบันคลังสมอง.

Bassham, G., Irwin, W., Nardone, H., & Wallace, J. M. (2013). Critical thinking: A student's introduction (5th ed.). New York, NY: McGraw-Hill.

Facione, P. A. (2013). Critical thinking: What it is and why it counts. Millbrae, CA: Measured Reason and the California Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18