ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้,, ห้องเรียนกลับด้าน,, ห้องเรียนแบบปกติ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) จากทั้งหมด 8 ห้องได้กลุ่มตัวอย่าง 2 ห้องละๆ 35 คน โดยห้องที่ 1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน ห้องที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง 3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ t - test for independent
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.24 , S.D. = 0.90)
Downloads
References
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่21 ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภมรเมษย์ เลาหวิรุฬห์กุล. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ห้องเรียน กลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสังคมศาสตร์และศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์,18(2),1-11
ยุภาพร ด้วงโต้ด. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาคณิตศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร Veridian E Journal ฯ
สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2) , 341-357
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุกัลยา นิลกระยา. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียบนเครือข่ายไร้สาย m-learning เรื่อง
ตรรกศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการนำตนเอง.
วิทยานิพนธ์ . กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556). ห้องเรียกลับด้าน : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21 . สืบค้นจาก
http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flippedped% 20classroom2.pdf.
สุภาพร สุดบนิด. (2557). เปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์
กศ.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555) .เหลียวหลังแลหน้าการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
อุบลวรรณ ปัญนะ. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียน
กลับทาง ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ.
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย,10(2),218-233.
Feledichuk, D. and Wong, A. (2015). The Impact of a Flipped Classroom on International
Student Achievement in an Undergraduate Economics Course, University of
Alberta – Edmonton.
Johnson, G.B. (2013). Student Perception of flipped classroom. Master of art, Columbia
University of British. pp. 214 – 218.
Shelly, M. W. (1975). Responding to social change. Stroudsburg, PA:Dowden Hutchision & Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง