การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R

ผู้แต่ง

  • วาปี คงอินทร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ผกาวรรณ ปราบมาก หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, เทคนิค SQ4R

บทคัดย่อ

การวิจัยก่อนการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R และ 2) ศึกษาพัฒนาการสัมพัทธ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน วัดประดู่ในทรงธรรม หลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้
1) กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับเทคนิค SQ4R เฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 59.72 ซึ่งอยู่ในระดับสูง

Downloads

Download data is not yet available.

References

จีราภรณ์ ขำมณี. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นจากhttps://shorturl.asia/yvWim

ตะวัน รุ่งแสง และ เมษา นวลศรี. (2564). การพัฒนาความความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ เรื่อง ระบบนิเวศ. Journal of Roi Kaensarn Academi. ปีที่ 6 ฉบับที่ 7. (กรกฎาคม 2564): 47-61.

ประไพ เอกอุ่น. (2542). การศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (14 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 2 ตอนที่ 4, หน้า 13-17.

รัตนภัณฑ์ เลิศคำฟู. (2547). การใช้วิธีการสอนแบบเอสคิวโฟร์อาร์ ในการสอนอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/เชียงใหม่.DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CMU.the.2004.466

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุทัศน์ ภูมิภาค. (2562). ภาษาอังกฤษกับสังคมไทยในปัจจุบัน. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://rb.gy/3jbpyj

สุนทร อุตมหาราช. (2547). “การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับการสอนตามคู่มือครู.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). เทคนิควิจัยด้านการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุพัตรา มูลละออง. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธี แบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยาย โสมวิทยา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ, 8(2). สืบค้นจาก https://rb.gy/qgd51b

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อดิศยา ปรางทอง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่อง ปัญหาวัยรุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/tWoLJ

Arikunto, S. (1986). Dasar-Dasar Evaluasi Pendidikan. Jakarta: Bumi Aksara.

Brookfield, S.D. (2005). Discussion as the way of teaching: Tools and techniques for democratic classrooms (2nded). San Francisco: Jossey-Bass.

Drake, S. M. (2000). Integrated curriculum: A chapter in the Curriculum Handbook. Alexandria, VA: ASCD.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hartati, N., & Yogi, H. P. S. (2019). Item Analysis for a Better Quality Test. English Language in Focus (ELIF), 2(1), 59–70.

Kline, R. B. (2005). Principles and practice of structural equation modeling (2nd ed.). New York, NY: Guilford Press.

Lindlof, T.R., & Taylor, B.C. (2002). Qualitative Communication Research Methods, 2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco, CA: Jossey-Bass Inc.

Nachmais, C. F. & Nachmais, D. (2008). Research methods in the Social Sciences: Seventh Edition. New York, NY: Worth Publishers.

Robinson, F. P. (1961). Effective study. New York: Harper & Brothers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18