การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีอายุ 2-8 ปีในจังหวัดสุรินทร์ โดยการใช้กิจกรรมศิลปะบำบัดและการสอดแทรกกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา

ผู้แต่ง

  • บุญเลี้ยง ทุมทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พัชรา ทองพันธ์รักษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

กล้ามเนื้อมัดเล็ก, เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, กิจกรรมศิลปะบำบัด, จิตตปัญญาศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของประเภทเด็กที่มี ความต้องการพิเศษที่มีอายุระหว่าง 2-8 ปี และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดสุรินทร์ที่มีอายุ ระหว่าง 2-8 ปี โดยการใช้กิจกรรมศิลปะบำบัดและการสอดแทรกกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษมี 9 ประเภทที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสุรินทร์ โดยมีอายุระหว่าง 2-8 ปี จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสังเกตความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดสุรินทร์ที่มีอายุ ระหว่าง 2-8 ปีมีจำนวน 75 คน จำแนกข้อมูลแต่ละด้าน ๆ พบมากที่สุดคือ อายุ 2 ปี, 6 ปี มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 21.62 นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 100 รายได้ของครอบครัว 6,001-8,000 บาท/เดือน มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 56.76 พักอาศัยอยู่กับตากับยายมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 48.65 และประเภทของความพิการคือด้านสติปัญญามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 62.16
2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในชุดกิจกรรมการระบายสี การตัดกระดาษ การเขียนเส้น การลากโยงเส้น และการร้อยลูกปัดพบว่า โดยรวมเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 87.19, 86.25, 88.75, 93.33, 80.42 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

จารุวรรณ ก้านศรี, ชุติมา มาลัย, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, นภัสสร ยอดทองดี และศศิวิมล บูรณะเรข. (2564). ผลของโปรแกรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(2), 216-226.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือกในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฐณิชา มณีพฤกษ์ พรเทพ เลิศเทวศิริ และอินทิรา พรมพันธุ์. (2565). เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 33(3), 1-14.

สุจิตรา สุขเกษม. (2538). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Chaiwatthanakunwanit, S., & Rukspollmuang, C., (2015). Alternative edicatopmal provision model to improve quality of life of children with special needs. Journal of education Khon Kaen University, 9(1), 192-201.

Lowenfeld, Victor. (1957). Creative and Mental Growth. New York: Macmillan.

Ministry of Education. (1999). National Education Act. Retrieved from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF (In Thai)

Rubin, Aron Judith. (1984). Child Art Therapy Understanding and Helping Children Grown Through Art. New York: Ven Nostrand Reinhold

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18