การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING สำหรับครูปฐมวัย ในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, เครื่องมือ CODING, การพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING สำหรับครูปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูระดับปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดยโสธร ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 200 คน เครื่องมือ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t – test ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ CODING ของครูปฐมวัย มีประสิทธิภาพ 93.40/92.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING ของครูปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 0.8607 หมายความว่า ครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 86.07
3) ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ CODING ของครูปฐมวัย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรวิชญ์ โสภา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติ

คอมพิวเตอร์กราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัลยา โสภณพนิช. (2562). Coding For All โค้ดดิงสำหรับทุกคน. นิตยสาร สสวท สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 47(219): กรกฎาคม - สิงหาคม 2562.

ขวัญชัย ขัวนา ธารทิพย์ ขัวนา และเลเกีย เขียวดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(2): มีนาคม - เมษายน 2561.

จงรัก จันทร์ขาว และศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2561). การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ใน การประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติและนานาชาติ. 9. วันที่ 20 กรกฎาคม 2560 ณ ห้องประชุม Blue Ocean Hall อาคารคณะบริหารธุรกิจ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ฐิตินันท์ ธีรเวชเจริญชัย และนันทน์ธร บรรจงปรุ. (2563). การสังเคราะห์เพื่อหาสมรรถนะและพฤติกรรมบงชี้ของ ทักษะโคดดิ้ง (Coding) สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธิติวัฒน์ ทองคำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณแบบผสมผสานร่วมกับวิชาโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ประภัสสร สำลี และกิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดด้านวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารวิจัยและนวัตกรรม. 4(2): กรกฎาคม - ธันวาคม 2564.

ปิยธิดา ณ อุบล. (2565). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชชากร เสียงล้ำ. (2564). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน Coding แบบ Unplugged สำหรับครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. มุกดาหาร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

ภาสกร รองเรือง. (2563). แนวคิดเชิงคำนวณร่วมกับรูปแบบการเรียนรู้ Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 11(1), 1–16.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรพล วิแหลม. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารธรรมศาสตร์. 40(2): 2564 (98-115).

ศรายุทธ ดวงจันทร์. (2561). ผลการใช้แนวสะเต็มศึกษาในวิชาฟิสิกส์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

Lee J, and Junoh J. (2019). Implementing Unplugged Coding Activities in Early Childhood Classrooms. Early Childhood Education Journal. 47:709–716.

Saxena A, Lo C, Hew K, and Wong G. (2019). Designing Unplugged and Plugged Activities to Cultivate Computational Thinking: An Exploratory Study in Early Childhood Education. Asia-Pacific Edu Res. 29(1): 55–66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18