ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
ปัจจัยการตัดสินใจ, การเข้าเรียน, ผู้ปกครองนักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลบางละมุง 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง จำแนกตามเพศ ที่อยู่อาศัย วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และ 3) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองนักเรียน 186 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test for Independent samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า
- ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ ชื่อเสียงและความศรัทธา หลักสูตรและการเรียนการสอน ผู้บริหารและครูผู้สอน ความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่าย สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ และอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย
- เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง พบว่า จำแนกตามเพศ สถานที่อยู่อาศัย วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
- แนวทางการเสริมสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ผลงานผ่านช่องทางหลากหลาย มีแผนการเรียนที่ทันสมัย จัดหาทุนการศึกษา จัดครูสอนให้ตรงกับความรู้ ความสามารถ จัดทำแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดให้ทันสมัย อำนวยความสะดวก บริการรวดเร็ว จัดบริการอาหารกลางวันที่ถูกสุขลักษณะ บริการอย่างเพียงพอ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และจัดแสดงผลงาน
Downloads
References
กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภาพร มณีเบ็ญ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการนำบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนกวดวิชาระดับประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศา ภิรมย์ไกรภักดิ์. (2564). การศึกษาเหตุผลของผู้ปกครองในการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนวิทยาลัยเทคนิคในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
นิศาชล สืบแจ้. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตห้วยขวาง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
ณัฏฐ์วิกร หรรษาพันธุ์. (2559).การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลมารีนิรมลจังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประกาศิต กิติลาโภและสุนทรี วรรณไพเราะ. (2561).ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลกิตติเวศม์ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9. ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2561. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ภูริชยา อินทรพรรณ. (2563).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ
ราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12(3); 270-283.
ราตรี วุ่นแม่สอด. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 (วัดโบสถ์ดอนพรหม) สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อานนท์ เลี้ยงพรม. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนให้นักเรียนเข้าศึกษาต่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารร้อยแก่นสาร. 6(12); 255-268.
Barnes, W. (2017). Parental Choice of a Charter School: Parental Decision-Making in Kansas City, Missouri. Doctoral dissertation of Educational Leadership and Policy Studies, University of Kansas.
Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Boston: Allyn & Bacon.
Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Ericlson, D. A., & Kamin, J. (1980). How parents select schools for their children: Evidence from 993 parents in British Colombia. A report to the (U.S.) national institute of education, center of research on private education, university of San Francisco and Educational research on institute of British Columbia, British Columbia. Vancouver: British Columbia.
Haidle, P. E., & Keith, P. (1996). Student choose: Private Christian high school in South Dakota. South Dakota: University of South Dakota.
Joyce, D.F. (1992). Parental choice in public elementary school: Who chooses and why (School choice). Dissertation Abstracts International, 5(2), 419-420.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Likert, R. (1964). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book.
Pennington, J.S. (2000). The managerial decision making process. Boston: Houghton Miffin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง