การใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • ธนาพันธุ์ ณ เชียงใหม่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก, ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ, วรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจากการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 10 คน ปฏิบัติการสอน ณ สถานศึกษาจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test for dependent samples

ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีคะแนนสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( x̅ = 29.70, S.D. = 5.17) และหลังเรียน ( x̅ = 52.20, S.D. = 2.74) แม้ว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนในภาพรวมร้อยละ 49.50 อยู่ในค่าระดับคะแนนตก แต่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนในภาพรวมร้อยละ 87 อยู่ในค่าระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นถึงผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีผลสัมฤทธิ์ของค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 22.50

2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̅ = 4.38, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ากิจกรรมการที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการเล่นละครหุ่นกระบอก (x̅ = 4.70, S.D. = 0.48) และกิจกรรมการให้เสียงอ่านนิทาน อ่านเรื่องสั้น การอ่านบทกวี ( x̅ = 4.60, S.D. = 0.52) ในขณะเดียวกันที่กิจกรรมที่จัดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ กิจกรรมการบรรยายสรุปวรรณกรรมผ่านการนำเสนองาน ( x̅ = 4.50, S.D. = 0.71) และกิจกรรมโปสเตอร์ ถาม-ตอบ ภาษาอังกฤษ ( x̅ = 4.40  ,S.D.=0.52)                                                                                                                                     

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

บุปผา รื่นรวย, สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์ , และชูศักดิ์ เอกเพชร. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกโดยใช้กระบวนการนิเทศสำหรับครูในโรงเรียนประชานิคม 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. สืบค้นจาก http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/761

ปรียาภา วังมณี. (2565). ความตระหนักในคุณค่าและทัศนคติในการเรียนวรรณกรรมภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ). วารสารมังรายสาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 10(1), 15-29.

ปวีณา แย้มใส. (2565, กรกฎาคม-ธันวาคม). การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 1(2), 29-41.

ปัญชลี วาสนสมสิทธิ์. (ม.ป.ป.). การใช้วรรณคดีในชั้นเรียนภาษาอังกฤษเพื่อสร้างความเข้าใจทางวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา. กรุงเทพฯ: สืบค้นจาก

https://www.culi.chula.ac.th/publicationsonline/files/article2/xg4TrxQnfrMon43758.pdf

รัตนชนก รัตนภูมิ. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหน้างานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(2), 1-3. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/view/243329/170532

รัตนา กลิ่นจุ้ย และวาสนา จักรแก้ว. (2561, ตุลาคม-ธันวาคม). การจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อทักษะการเรียนกับการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติสำหรับผู้เรียนกลุ่มเจเนอเรชั่น Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4), 199-200.

วาทิตพันธ์ มาตมูล และ สุกัญญา เกาะวิวัฒนากุล. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). ทัศนคติต่อการพัฒนาทักษะการใช้ความคิดเชิงวิจารณญาณในการเรียนวรรณคดีของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศในระดับมหาวิทยาลัย. วารสารมังรายสาร มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(2), 97-111. สืบค้นจาก https://so04.tci- thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/176162/125754

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2561, สิงหาคม). บรรยายพิเศษ การเรียนการสอนและการใช้ภาษาอังกฤษในยุคไทยแลนด์ 4.0. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สืบค้นจาก https://www.wu.ac.th/th/news/14259

อนุสิษฐ์ พันธ์กล่ำ, ธารณา สุวรรณเจริญ และชลชลิตา แตงนารา.(2560, ธันวาคม). ผลการใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (4), 562 - 570. สืบค้นจาก https://research.kpru.ac.th/sac/additional.php?id=181

อรรชนิดา หวานคง. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย, 7(2), 303-313. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yri/article/view/184935/130126

Little Wood, William. (1983). Foreign and second language learning: Language acquisition research and its implications for the classroom. Cambridge: Cambridge University Press.Reid,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

ณ เชียงใหม่ ธ. (2024). การใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 87–99. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/450