การใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มพูนความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมบัติ คำมูลแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การเรียนแบบมีส่วนร่วม, ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ (1091306) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 23 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนจำนวน 6 แผนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน รวมถึงแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน โดยมีค่า IOC เฉลี่ยรวมที่ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อประเมินความสามารถในการอ่านของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนการสอน

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังการเรียนโดยใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดีมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมสามารถพัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมสามารถช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะเหล่านี้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การเรียนแบบมีส่วนร่วมยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนให้ดีขึ้น โดยผู้เรียนมีความเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง และสามารถปรับใช้องค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาทักษะและการดำรงชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

บรรชร กล้าหาญ, และ รุ่งทิพย์ กล้าหาญ. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อทักษะชีวิตด้านสารเสพติดของนักศึกษาอาชีวเกษตร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการวิจัยการศึกษา กรมการศาสนาและวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ.

เบญจมาศ อยู่เป็นแก้ว. (2548). การสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

พรพิมล ประสงค์พร. (2557). การเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(3), 81-88.

สมใจ ปราบพล. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการสอนแบบทักษะชีวิตแบบมีส่วนร่วม. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ฉัตรปวีณ อำภา. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉรา วงศ์โสธร. (2544). การทดสอบและประเมินผลการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ.

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. (Eds.). (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives (Complete Edition). New York: Longman.

Derchant, E. V. (1982). Improving the teaching of reading. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc.

Syrja, R. C. (2011). How to reach and teach English language learners: Practical strategies to ensure success. Jossey-Bass Teacher.

Williams, J. L. (1986). The behavioral and the mystical: Reflections on behaviorism and Eastern thought. The Behavior Analyst, 9(2), 167-173.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

คำมูลแก้ว ส. . . (2024). การใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มพูนความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 18(2), 137–149. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/453