แนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียน
คำสำคัญ:
การวัดและประเมินผลผู้เรียน, การจัดการเรียนรู้, การคิดเชิงออกแบบบทคัดย่อ
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมาการคิดเชิงออกแบบถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในวงการภาคธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรมตลอดจนวงการการศึกษา โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การทำความเข้าใจปัญหาโดยเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมอง เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมและดีที่สุด 2) การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา 3) การระดมความคิดใหม่ๆ 4) การสร้างต้นแบบหรือสร้างแบบจำลอง และ 5) การทดสอบต้นแบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันในบริบททางการศึกษาพบงานวิจัยที่ครูนำการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง โดยในองค์ประกอบของการจัดการความรู้ การวัดและประเมินผลเป็นการสะท้อนผลลัพธ์ของกระบวนการ บริบท และปัจจัยนำเข้าสู่การคิดเชิงออกแบบที่นำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียนในบริบทของไทยยังพบน้อยมาก จึงเป็นที่มาของบทความฉบับนี้ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอหลักการของการประเมินการคิดเชิงออกแบบทั้งในส่วนของการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ เนื่องจากเป้าหมายของวิธีการดังกล่าวเหมาะสมกับการนำมาใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนขั้นสูงและในบริบทที่มีความซับซ้อน การออกแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนจึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในบทความจึงมีการนำเสนอวิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินทั้งแบบประเมินตนเองหรือประเมินโดยครู รวมถึงเกณฑ์การประเมินการคิดเชิงออกแบบที่มีการให้คะแนนแบบแยกประเด็น ทั้งนี้ตัวอย่างเครื่องมือในบทความสามารถทำให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบการประเมินการคิดเชิงออกแบบเพื่อนำไปสู่ผลการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องและเต็มตามศักยภาพ
Downloads
References
Adams, C. and Nash, J. (2016). Exploring Design Thinking Practices in Evaluation. Journal of Multi Disciplinary Evaluation, 12(26), 12-17.
Baxter, G. and Laird, N. (2004). Grade Expectation: Assessing Design Thinking. The Development of an Online Evaluation System. International Engineering and Product Design Education Conference (1-8). The Netherlands.
Dikgomo, K. (2023). Development of An Assessment Instrument for Student Engagement in Design Thinking Projects for Health Innovation. South African Journal of Higher Education, 37(4), 82-101.
Innovationtraining. (2023). Design Thinking Self Sssessment. Retrieved from https://www.innovationtraining.org/design-thinking-self-assessment/
James, C. (2018). Evaluating and Assessing: Design Thinking—Potential Areas of Assessment (example). In D!Lab Guide to Design Thinking and Imagination. Center for Transformative Teaching and Learning. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1H-Jr5UdWctTaawkSV7SF08egKK2tK5T/view?usp=sharing
James, C. (2018). Assessment, Evaluation, and the Feedback of Design Thinking and Creativity. In D!Lab Guide to Design Thinking and Imagination. Center for Transformative Teaching and Learning. Retrieved from https://microcredentials.digitalpromise.org/explore/assessment-evaluation-and-the-feedback-of-design-t
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง