การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
ทักษะทางสังคม, เด็กปฐมวัย, การจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาและชีวิตส่วนตัวในอนาคต การเรียนรู้ทักษะทางสังคมตั้งแต่ในวัยเด็กส่งผลให้เด็กสามารถปรับตัวและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมได้อย่างมั่นคง บทความนี้ได้นำเสนอแนวการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะดังกล่าว โดยอ้างอิงจากการวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยบทความนี้จะนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 7 แนวทางได้แก่ การจัดกิจกรรมกลุ่ม การเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดี การเลี้ยงดูที่เหมาะสม การสอนแบบบูรณาการ การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ การประเมินและการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ล้วนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็ก กิจกรรมกลุ่มช่วยพัฒนาเด็กในเรื่องการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเรียนรู้ที่จะเข้าใจและยอมรับความหลากหลาย การเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีช่วยส่งเสริมพฤติกรรม
ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับค่านิยมที่ดีในสังคม การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาในทุกด้าน การสอนแบบบูรณาการช่วยให้เด็กได้รับความรู้และทักษะที่ครอบคลุม การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความสนใจและความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนรู้ การประเมินและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องช่วยให้การสอนสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้สรุปว่า การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสามารถช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยได้อย่างยั่งยืน และเป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับการเติบโตอย่างมีคุณภาพในทุกมิติของชีวิต
Downloads
References
กรมวิชาการ. (2526). แผนการสอนกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3-5 ขวบ. กรุงเทพฯ: โชติสุกการพิมพ์.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การศึกษาและพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
จุฑาทิพย์ ธรรมสิริวัฒน์ และปัทมาวดี เลห์มงคล. (2559). การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการเล่นเป็นกลุ่มในสถานรับเลี้ยงเด็กไฮเทค.วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 22(1), 76-84.
ชาดา อุ่นประดิษฐ์ (2024). สภาพและปัญหาของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติของสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนพื้นที่จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 22(1), 120-134.
ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด:“การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร”. วารสารวิชาการ Veridian E – Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1), 1635-1651.
เตือนใจ ผางคํา และนันทา โพธิ์คํา. (2565). การสร้างเสริมคุณธรรมของเด็กปฐมวัยในยุคดิจิทัลโดยการสอนแบบไตรสิกขา. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์. 7(1). 322-334.
ธนาพูน วงค์ษา และรุจิรา มณีชม. (2563). เทคนิคการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตยุคสังคมดิจิตอล.วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 14(1). 102-111.
ธิโสภิญ ทองไทย สุพัตรา บุญเจียม ปิยะ ปุริโส นิตยา ศรีมานนท์ และลัดดา ดีอันกอง. (2566). ความรอบรู้สุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ของผู้เลี้ยงดูเด็ก เขตสุขภาพที่ 7. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 46(1). 105-155.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอ บี กราฟฟิคดีไซน์.
ราศี ทองสวัสดิ์. (2542). หลักการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา. เอกสารประกอบการอบรมครูโรงเรียนเอกชนระดับก่อนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
รุ่งนภา คำไพ. (2564). การพัฒนาทักษะทางสังคม โดยใช้กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา.วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ. 5(2), 127-134.
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู ณัฐพัชร์ วงศพูดเพราะ และเพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2566). วินัยในตนเองของเด็กปฐมวัย :สร้างเสริมได้ด้วยแนวทางการสร้างวินัยเชิงบวก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 21(2), 36-50.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
อัครพล ไชยโชค. (2562). การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.47(4), 519-538.
อภิรดี ไชยกาล. (2022). สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 1187-1200.
อุไร ซิรัมย์ พรทิพย์ ไชยโส พิกุล เอกวรางกูร และทรงชัย อักษรคิด. (2563). เทคนิคการประเมิน การเรียนรู้ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20(1). 193-206.
เอกชัย ธีรภัคสิริ พนาสินธุ์ ศรีวิเศษ และวีระยุทธ สุทโธ. (2567). การบูรณาการทักษะดนตรีพื้นบ้านโดยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯบ้านโรงเลื่อย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), 66-81.
Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Baumrind, D. (1967). Child care practices anteceding three patterns of preschool behavior. Genetic Psychology Monographs, 75(1), 43-88.
Baumrind, D., & Black, A. E. (1967). Socialization practices associated with dimensions of competence in preschool boys and girls. Child development, 291-327.
Baumrind, D. (1991). The influence of parenting style on adolescent competence and substance use. Journal of Early Adolescence, 11(1), 56-95.
Bronfenbrenner, U. (1979). The ecology of human development: Experiments by nature and design. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Darling-Hammond, L. (2006). Powerful Teacher Education: Lessons from Exemplary Programs. San Francisco: Jossey-Bass.
Dewey, J. (1938). Experience and education. New York: Macmillan.
Erikson, E. H. (1963). Childhood and society (Vol. 2). New York: Norton.
Epstein, J. L. (2001). School, Family, and Community Partnerships: Preparing Educators and Improving Schools. Boulder, CO: Westview Press.
Fullan, M. (2007). The New Meaning of Educational Change. New York: Teachers College Press.
Gardner, H. (1983). Frames of mind: The theory of multiple intelligences. New York: Basic Books.
Gee, J. P. (2007). What video games have to teach us about learning and literacy. New York: Palgrave Macmillan.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2009). An educational psychology success story: Social interdependence theory and cooperative learning. Educational Researcher, 38(5), 365-379.
Kohlberg, L., Ricks, D., & Snarey, J. (1984). Childhood development as a predictor of adaptation in adulthood. Genetic Psychology Monographs.
Kohn, A. (1993). Punished by rewards: The trouble with gold stars, incentive plans, A’s, praise, and other bribes. Boston: Houghton Mifflin.
Piaget, J. (2013). Play, dreams, and imitation in childhood. New York: Norton.
Prensky, M. (2001). Digital game-based learning. New York: McGraw-Hill.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice (2nd ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง