องค์ประกอบวิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัล ของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ:
วิทยาการเรียนรู้, สมรรถนะผู้นำดิจิทัล, นักศึกษาต่างชาติ, ระดับบัณฑิตศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบวิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัลของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 200 คน โดยสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติชั้นสูง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า วิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัลของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย องค์ความรู้ สมรรถนะการเรียนรู้ของผู้นำ ทรัพยากรการเรียนรู้ และระบบเทคโนโลยีดิจิทัล โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 88.00; p=0.00025 ที่องศาอิสระเท่ากับ 61 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.034 และทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรแห่งวิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัลของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย หลักการสำคัญของความรู้ กระบวนการบริหารจัดการความรู้ ทิศทางการใช้ความรู้ในโลกแห่งอนาคต ความสามารถการใช้ความรู้ของผู้นำ การบูรณาการความรู้ ศักยภาพวิทยาการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ สื่อสารสนเทศ หน่วยประมวลผลความรู้ ประสิทธิภาพของระบบความรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และภาวะเสถียรของระบบสัญญาณ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและดึงสมรรถนะที่สำคัญของนักศึกษาสู่การพัฒนาภาวะผู้นำแห่งโลกดิจิทัล ซึ่งจะต้องมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อโลกวิทยาการด้วยวิทยาการเรียนรู้แห่งดิจิทัลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาองค์กรที่เป็นเลิศ โดดเด่น และมีอัตลักษณ์
Downloads
References
จิรประภา อัครบวร. (2552). การจัดการความรู้. โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.กรุงเทพมหานคร.
ปรารถนา สำราญสุข. (2565). DIGITAL LITERACY ทักษะของโลกยุคดิจิทัล. วิทยาจารย์, 121(1), 42-45.
ราชบัณฑิตยสถาน . (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. แหล่งสืบค้น https://dictionary.orst.go.th/ สืบค้นวันที่ 2 กันยายน 2567.
วิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ สาขาวิทยาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2567). แหล่งสืบค้น https://www.u-review.in.th/th/edu/155. สืบค้นวันที่ 5 กันยายน 2567.
แสงสุรีย์ ทองขาว และคณะ. (2566). บทบาทครูไทยกับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษา. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 8(2), 130-144.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.
Jindapradit, T. (2018). Guidelines for The Development of Work Systems and Processes to Become A Digital Organization (แนวทางการพัฒนาระบบงานและกระบวนการทำางานสู่การเป็นองค์กรดิจิทััล). [Online]. Retrieved January 6, 2020 from http://wise.co.th/wise/Presentations/Digital/Organization. 17 January, 2018.pdf.
Milenkova, V. et al. (2021). "Digital Citizenship and Digital Literacy in the Conditions of Social Crisis"
Nonaka, I. & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. New York: Oxford University Press.
Office of the Public Sector Development Commission. (2020). Digital Development for National Economic and Social Development (แผนพัฒนาดิจิทััลเพื่่อเศรษฐกิจและสังคม). Bangkok:Office of The Public Sector Development Commission
Sakpuwadol, S. (2010). Digital Organization Administration (การบริหารองค์กรดิจิิตอล). [Online]. Retrieved January 7, 2020 from http://www.ict.up.ac.th/surinthips/MIS2553/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/Ch5_DigitalFirm_53.pp
Thanabodeethammajarue, D. (2018). Digital Organization Designing (การออกแบบองค์กรดิจิทััล). [Online]. Retrieved January 5, 2020 from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/sruphng_1_kaarkaebbngkhkrdicchithal.pdf
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง