การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นิดสา จันทร์งาม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปริญญา เรืองทิพย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กชพรรณ ทนคง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางดิจิทัล, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, การใช้สื่อดิจิทัล, การรักษาความปลอดภัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 200 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามวัดระดับความฉลาดทางดิจิทัล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีระดับความฉลาดทางดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยที่ได้รับคะแนนสูงสุด ได้แก่ การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณที่ดี รองลงมาคือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว และการใช้เทคโนโลยีอย่างใส่ใจ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา ได้แก่ บทบาทของผู้ปกครองในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี แรงจูงใจในการใช้งานโลกไซเบอร์การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล, สภาพแวดล้อมทางการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ บทบาทของผู้ปกครองและแรงจูงใจในการใช้งานโลกไซเบอร์ ซึ่งสามารถพยากรณ์ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาได้ ร้อยละ 73.8 ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ปกครอง การจัดการเรียนการสอน และแรงจูงใจในการใช้งานเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะดิจิทัลผ่านหลักสูตรการเรียนการสอน และให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีของบุตรหลานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต. (2566). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2566. สืบค้นจาก https://dmh.go.th

ณัฐธินี ชงโค. (2566). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางดิจิทัลของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). สืบค้นจาก http://202.28.34.124/dspace/handle/123456789/2025

นุจรี ลอยหา, พักตร์วิภา โพธิ์ศรี, และอุทิศ บำรุงชีพ. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาความฉลาดทางดิจิทัลบนฐานความคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 12(1), 85-101.

นัฐิยา พัวพงศกร. (2563). เผยสถิติเด็กไทย ถูก ‘ไซเบอร์บูลลี่’ หนัก! ค่าเฉลี่ยสูงติดอันดับโลก. สืบค้นจาก https://teroasia.com/news/194261?ref=news

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชนา สุวรรณแสน. (2567). ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 22(1), 112-128.

พระมหาสายัณห์ เปมสึโล, สำราญ ศรีคำมูล, และสนิท วงปล้อมหิรัญ. (2566). ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 11(2), 45-58.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 24(3), 67-82.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทย ปี 2566. สืบค้นจาก https://etda.or.th

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: การวิเคราะห์พหุระดับ. วารสารการวิจัยทางการศึกษา, 18(2), 121-138.

DQ Institute. (2019). Digital intelligence: A comprehensive framework for digital literacy, skills, and readiness. Retrieved from https://www.dqinstitute.org

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis (8th ed.). Pearson.

Gao, X., & Yu, Z. (2024). Management of Information and Personalized Guidance for Vocational College Students in the Digital Era. International Journal of New Developments in Education, 6(5). https://doi.org/10.25236/ijnde.2024.060519

Livingstone, S., Stoilova, M., & Nandagiri, R. (2021). Children's data and privacy online: Growing up in a digital age. New Media & Society, 23(12), 3647–3664. Retrieved from https://doi.org/10.1177/14614448211012778

Miller, D., Costa, E., Haynes, N., McDonald, T., Nicolescu, R., Sinanan, J., Spyer, J., Venkatraman, S., & Wang, X. (2020). How the world changed social media. Retrieved from https://doi.org/10.2307/j.ctt1g69z

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

จันทร์งาม น. ., เรืองทิพย์ ป. . ., & ทนคง ก. . (2025). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/647