ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ โรงเรียนอนุบาลบางละมุง
  • ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรศักดิ์ แจ่มเจริญ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • พรรณธิพา แจ่มเจริญ ข้าราชการบำนาญ
  • สมสุข ค้ำชู ข้าราชการบำนาญ
  • พัชรินทร์ โตตระกูล ข้าราชการบำนาญ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง รวม 332 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 161 และครูวิชาการ 161 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1-3 ซึ่งปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2567 ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)  

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ผู้นำเชิงนวัตกรรม 4) ผู้นำเชิงดิจิทัล 5) ผู้นำแบบพลิกผัน (Disruptive) 6) ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 7) ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 8) ผู้นำเชิงวิชาการ 9) ผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรม และ 10) ผู้นำแบบเน้นการบริการ

2. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ด้านความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา 3.) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) การสร้างทีมงาน 5) ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู 6) การจัดการความขัดแย้ง และ7) ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา 

3. ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี มีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับมาก (rXy=.762) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลทิพย์ เกษรพรหม และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2567). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในอำเภอวังพรายพูย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท). 6(3); 351-367.

ขวัญฤทัย ภู่สาระและคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 21(2): 51-59.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(1); 1-9.

ชาลี เปี่ยมพลอย และภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท). 6(3); 114-127.

ณธกร ภาโนมัย และเพียงแข ภูผายาง. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(2); 212-224.

ปรเมศร์ กลิ่นหอม และคณะ. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 31(8); 61-72.

ปรีชา บุญจิตร. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 3(2); 93-107.

ปลายฟ้า แก้วพรหม. (2567). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วารสารวิชาการแสงอีสาน. 21(2); 256-269.

วรชัย วิภูอุปรโคตร และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 9(3); 14-27.

วรปรัชญ์ หลวงใย และคณะ. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21(1); 182-195.

วีระศักดิ์ บุญญดิษฐ์และคณะ. (2564). การพัฒนาการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.3(5); 53-63.

ศิวนาถ จิตโรจน์ และคณะ. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์. 9(2); 601-616.

สุภวัช เชาวน์เกษม และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Georgia Hobbs. (2022). What Is 21st Century Leadership? Available https://www.lepaya.com/articles.

Jaap Scheerens. (2000). Improving school effectiveness. UNESCO: International Institute for Educational Planning.

James Strock. (2024). What Is 21st Century Leadership? Available https://servetolead.com/what-is-21st-century-leadership

Špela Javornik. et.al, (2023). Factors Contributing to School Effectiveness: A Systematic Literature Review. European Journal of Investigation in Health, Psychology and Education. (2023) 13; 2095-2111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

วัชรทรธำรงค์ พ. ., ศิริธาดากุลพัฒน์ ศ. ., แจ่มเจริญ ส. ., แจ่มเจริญ พ. ., ค้ำชู ส. ., & โตตระกูล พ. (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 19(1). สืบค้น จาก https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/780