การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยี แอปพลิเคชันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางเรียน รายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ออกแบบและเทคโนโลยีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 37 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน หลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอพลิเคชัน รายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.56, S.D.=0.19)
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร .
ฉัตริน กลิ่นแย้ม และพงษ์ดนัย จิตตวิสุทธิกุล. (2567). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้เรื่ององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2567: 846-857.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ตรีชฎา รัชชูวงศ์. (2023). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง การออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think Pair Share) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of MCU Ubon Review, 8(3), 295-304.
ณัฏฐา ผิวมา และปริศนา มัชฌิมา. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาเรื่องการทำบาตรของชุมชนบ้านบาตร. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 23(3), 241-261.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะธิดา ปัญญา.(2562). สถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
พรรณิภา อนันทสุข และพรรณราย เทียมทัน .(2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 15(1), 231-245.
เรือนขวัญ พลฤทธิ์และคณะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษา Python ที่มีต่อความสามารถในการเขียนโปรแกรมและผลงานการเขียนโปรแกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 345-366.
โรงเรียนบ้านชะอวดวิทยาคาร. (2566). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร ปีการศึกษา 2566. นครศรีธรรมราช : สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษานครศรีธรรมราช.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
เอกภูมิ อิ่มอก สุดารัตน์ อุดตะกะ และณัฐพงศ์ ศรีสวัสดิ์. (2567). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับแชทบอท เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้าม อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 7(3), 358-371.
Anderson, M., & Lee, K. (2023). Educational technology in the digital age: Opportunities and challenges. Journal of Educational Technology, 45(3), 234-251.
Donna, J. (2024, 20 November). The Advantages and Disadvantages of E-Learning. Retrieved from http://talentgarden.org/en/digital-transformation.
Siregar, E. I. (2022). The influence of time management and learning media on academic achievement of office administration education study program students. International Journal of Teaching and Learning (INJOTEL), 8(1), 149–159.
Thompson, R. (2022). Mobile learning applications and student engagement. International Journal of Educational Research, 12 (2), 89-104.
Wilson, J., Brown,S., & Davis, M. (2023). The impact of educational applications on student achievement. Educational Technology Research, 28(4),156-172.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง