ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียน แบบเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน, ความสามารถในการเขียนเรียงความ, แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการระหว่างก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการกับแนวการสอนเขียนแบบปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบวัดความสามารถในการเขียนเรียงความ สถิติที่ใช้ ได้แก่ dependent t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความสามารถในการเขียนเรียงความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความสามารถในการเขียนเรียงความสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Downloads
References
จรรยา ชุ่มใจรัก. (2566). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการร่วมกับเทคนิค SCAMPER ที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เข้าถึงได้จาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/2843
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวิช อัศวตระกูลวงศ์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการร่วมกับกลวิธี RAFT ที่มีต่อความสามารถในการเขียนความเรียงและเจตคติต่อการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. เข้าถึงได้จาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789 /114
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชา ประจุศิลป, กอบกุล สรรพกิจจำนง และ ณรงค์ สมพงษ์. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนรู้บนความท้าทายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความพร้อมในการเรียนรู้โดยชี้นำตนเองแตกต่างกัน. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 30(2), 107-117. เข้าถึงได้จาก https://so05.tci- thaijo.org/index.php/ stouj/article/view/206696
วสวัตติ์ วงศ์พันธุเศรษฐ์, และ เสกสรร สุขเสนา. (2563). การเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาที่ถูกท้าทายในปัจจุบันของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(1), 106-117. เข้าถึงได้จาก https://so02.tcithaijo.org/index.php/ suedujournal/article/view/206612
Apple. (2010). Challenge Based Learning A Classroom Guide. Retrieved from https://www.apple.com/br/education/docs/CBL_Classroom_Guide_Jan_2011.pdf
EDUCAUSE. (2012, 11 January). 7 Things You Should Know About Challenge-Based Learning. Retrieved from https://library.educause.edu/resources/2012/1/7-things-you-should-know-about-challengebased-learning
Johnson, L. F., Smith, R. S., Smythe, J. T., & Varon, R. K. (2009). Challenge-Based Learning: An Approach for Our Time. Retrieved from https://www.challengebasedlearning. org/wp-content/uploads/2019/05/CBL_approach_for_our_time.pdf
Karen, C., & Mark, N. (2008). Challenge Based Learning: Take action and make a difference. Retrieved from https://www.apple.com/ca/education/docs/Apple-ChallengedBasedLearning.pdf
Morrow, K. (2014). Write to change the world: challenge based learning for persuasive writing. Retrieved from https://books.apple.com/us/book/write-to-change-the-world-challenge-based-learning/id835453522
Nichols, M., Cator, K., & Torres, M. (2016). Challenge Based Learner User Guide. Retrieved from https://www.challengebasedlearning.org/wpcontent/uploads/2019/02 /CBL_Guide2016.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง