การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์จากงานวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน, ทักษะการอ่านวิเคราะห์, วรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานต่อการพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์งานวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์ ประชากรเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ชั้นปีที่ 3 จำนวน 80 คน ภาคการศึกษา 2/2566 เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษในระดับหนึ่งและอยู่ในช่วงที่กำลังเตรียมความพร้อมเข้าสู่การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 1 คาบ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 คาบ 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านวิเคราะห์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test for dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์งานวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษมีคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงขึ้น สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย ค่าคะแนน เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 43 คะแนนก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (M = 9.66, SD =3.81) และคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรม (M = 24.09, SD = 3.82) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ t(79) = 25.34 p < .01
2. นักศึกษามีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (M = 3.98, SD = 0.11) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สามารถในการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ (M = 4.14, SD = 0.74) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ รอบตัวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน (M = 4.14, SD = 0.71) และเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (M = 4.14, SD = 0.77)
Downloads
References
จันทร์ฟอง ปัญญาวงศ์ และวิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีแบบโฟร์บล็อกร่วมกับเทคนิค 5W1H เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและเขียนสรุปใจความสำคัญภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 15(2), 1-13. เข้าถึงได้จาก https://so01. tcithaijo.org/ index.php/crrugds_ejournal/article/view/256593/171539
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2566, มกราคม–มิถุนายน). คำถามและกลยุทธ์การใช้คำถามเพื่อการจัดการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 1, 53-55. เข้าถึงได้จาก https://so13. tci-thaijo.org /index.php/DRUEDJ/article/view/113/94
จุฑาทิพย์ หาญกุดตุ้ม, สมภารธัชธรณ์ ศิโลศรีไช และสัญญา เคณาภูมิ. (2566, กันยายน-ตุลาคม). การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5),67-81. เข้าถึงได้จาก https://so10.tci-thaijo.org/index.php/jasrru/article/view/577/558
ณัฐกานต์ เฟื่องมณี. (2564). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, อรพิณ ศิริสัมพันธ์, ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์ และวิลาพัณย์ อุรบุญนวลชาติ. (2564). ปรับกระบวนทัศน์: การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมทักษะสำคัญของผู้เรียนยุคประเทศไทย 4.0. ครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 15(2), 16-30.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี นาคผง, ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย, รุจิราพร รมศิริ, และ มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2564, กรกฎาคม). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15,176-186. เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/251037/169167
ลลิดา วิบูลวัชร. (2561). การจัดการเรียนการสอนวรรณกรรมภาษาอังกฤษตามแนวคิดการตอบสนองของผู้เรียน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารภาษาปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, (33), 220-224.
สุวรรณจรัส ธ., ตรีเล้ก ว. และนวลผกา น. . (2024). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 6(3), 16–32. เข้าถึงได้จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/273903
Bloom, B.J. (Ed.). (1979). Taxonomy of Educational Objectives: Handbook/Cognitive 73 Domain. London: Longman.
Boud, D., & Feletti, G. (1996). The challenge of problem based learning (2nd ed.). London: Kogan Page.
Hoban, G. F. (2010). Teacher learning for educational change. Glasgow: Bell & Bain.
Khatib, M., Rezaei S., & Derakhshan A. (2011). Literature in EFL/ESL Classroom. English Language Teaching, 4(1), 201-208.
Krathwohl, D.R. (2002) A Revision of Bloom’s Taxonomy: an Overview. Theory into Practice, 41(4), 212-218.
Rido, A., Kuswoyo, H., & Nuansa, S. (2020). Questioning Strategies in English Literature Lectures in an Indonesian University. Lingua Cultura, 14(2), 241–253. Retrieved from https://journal.binus.ac.id/index.php/Lingua/article/view/6834/4000
Shukri, N.A. & Mukundan J. (2015). A Review on Developing Critical Thinking Skills through Literary Texts. Advances in Language and Literary Studies, 6(2),4-9. Retrieved from http://www.journals.aiac.org.au/index.php/alls/article/view/1316/1305.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง