วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU <p>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มุ่งเน้นในการรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ทั้งในรูปแบบของบทความงานวิจัย และบทความวิชาการอื่นๆ ในการเผยแพร่องค์ความรู้ความคิด ทัศนะ และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการศึกษาทั้งด้านการบริหารการศึกษา คุณลักษณะบัณฑิต การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ศิลปวัฒนธรรม และนำเสนอองค์ความรู้จากผลงานการวิจัยทางด้านการศึกษา สู่สาธารณชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันซึ่งไม่ได้สังกัดเดียวกับผู้เขียน อย่างน้อย 3 ท่าน ตรวจสอบกลั่นกรองสาระต่างๆ ที่นำเสนอในวารสาร และให้วารสารมีมาตรฐานคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยตีพิมพ์เผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม - ธันวาคม </p> <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</strong><br />Journal of Education Bansomdejchaopraya Rajabhat University<br />ISSN 3056-915X (Online)</p> <p><strong>กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong><br />ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p style="margin-bottom: 0cm;"><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่</strong><br />อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีดังนี้<br />1. อัตราค่าธรรมเนียมเผยแพร่บทความสำหรับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บทความละ 3,000 บาท<br />2. อัตราค่าธรรมเนียมเผยแพร่บทความสำหรับบุคคลภายนอก บทความละ 3,500 บาท</p> <p>การเก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่ จะดำเนินการหลังจากที่บทความผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากกองบรรณาธิการภายใน ก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียม : กำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางบัญชีธนาคาร ดังนี้</strong><br /><strong>ธนาคาร</strong> กรุงเทพ สาขา เจริญพาศน์<br /><strong>ชื่อบัญชี</strong> วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ <br /><strong>เลขที่บัญชี</strong> 126-0-91036-7</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>*หมายเหตุ</strong><strong style="font-weight: 500;"> : เมื่อดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว กรุณาแนบหลักฐานการชำระเงินที่ E-mail: edujournal@bsru.ac.th</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong style="font-weight: 500;"><strong>เงื่อนไขในการส่งบทความ </strong></strong></p> <ol> <li><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ไม่ตรงกับสายวิชาการที่ทางวารสารเปิดรับ</strong></li> <li><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ไม่ได้จัดรูปแบบที่ถูกต้อง </strong></li> <li style="font-weight: 400;"><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></li> <li style="font-weight: 400;"><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ ในกรณีไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ </strong></li> </ol> <p> </p> <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1</strong><br /><strong>เปิดรับบทความ</strong> 20 มกราคม 2568 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568<br /><strong>ตรวจสอบรูปแบบการเขียนบทความ</strong> 17 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568<br /><strong>ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ</strong> 3 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568<br /><strong>แก้ไขบทความ</strong> 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568<br /><strong>ใบตอบรับ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)</strong> 19 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568<br /><strong>กำหนดเผยแพร่วารสาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 1</strong> 30 มิถุนายน 2568</p> <p> </p> คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา th-TH วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3056-915X <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p> แนวทางการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนใน อนาคตสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/828 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคตจำแนกตามช่วงอายุ 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคตจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูจากสถานศึกษา จำนวน 59 แห่ง รวม 177 คน โดยเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. ผลการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามช่วงอายุโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />2. ผลการเปรียบเทียบการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />3. แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งสู่อาชีพของนักเรียนในอนาคต ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ (1) การวางแผนและนโยบาย (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การจัดการเรียนการสอน (4) การสนับสนุนสื่อและแหล่งเรียนรู้ (5) การมีส่วนร่วมและสร้างเครือข่าย และ (6) การนิเทศ วัดผล และประเมินผล</p> ธนชัย ใจสา Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 193 211 ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/790 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำนวน 346 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา และประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายกระบวนการ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยกระบวนการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการ และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา</span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยภาพรวม และรายด้าน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์โดยภาพรวมทางบวกในระดับสูง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .898</span></p> ชัชชน อินอุ่นโชติ สรรฤดี ดีปู่ Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 122 133 แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/885 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 4 ประเด็นต่อไปนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพผู้บริหารแบบองค์รวม 2) สมรรถนะด้านดิจิทัล 3) การบริหารจัดการองค์กรแห่งความสุข และ 4) หลักเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรงานวิจัยนี้คือ ผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 50 คน คัดเลือกโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ กลุ่มสัมภาษณ์คือผู้บริหาร จำนวน 10 คน และคณาจารย์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามโดยมีค่าค่าเชื่อมั่น 0.87 โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินผล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์และการจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการองค์กรภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 4 ด้านในปัจจุบันอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการวิจัยด้านนี้ตั้งแต่ระดับสูงสุดจนถึงต่ำสุด มีดังนี้ ระดับสูงสุดคือการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารแบบองค์รวม รองลงมาคือสมรรถนะด้านดิจิทัล การบริหารจัดการองค์กรแห่งความสุข และหลักเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทํางานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทั้ง 4 ด้าน รวม 30 มาตรการ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการองค์กร 5 มาตรการ 2) การมีส่วนร่วม 5 มาตรการ 3) การควบคุมความปลอดภัย 5 มาตรการ และ 4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 มาตรการ ผลการประเมินเพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร บุคลากร และผู้เรียนภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างสรรค์องค์กรแห่งคุณภาพและความเป็นเลิศ</p> วนิดา พลอยล้วน นิรันดร์ สุธีนิรันดร์ กุลสิรินทร์ อภิรัตน์บวรเดช Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 112 121 การจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์จากงานวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/807 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานต่อการพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์งานวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์ ประชากรเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ชั้นปีที่ 3 จำนวน 80 คน ภาคการศึกษา 2/2566 เนื่องจากนักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษในระดับหนึ่งและอยู่ในช่วงที่กำลังเตรียมความพร้อมเข้าสู่การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 1 คาบ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 8 คาบ 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านวิเคราะห์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test for dependent samples</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์งานวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษมีคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงขึ้น สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย ค่าคะแนน เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 43 คะแนนก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (M = 9.66, SD =3.81) และคะแนนหลังเข้าร่วมกิจกรรม (M = 24.09, SD = 3.82) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ t(79) = 25.34 p &lt; .01</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักศึกษามีความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (M = 3.98, SD = 0.11) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สามารถในการสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศ (M = 4.14, SD = 0.74) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ รอบตัวอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน (M = 4.14, SD = 0.71) และเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (M = 4.14, SD = 0.77)</span></p> ธนาพันธุ์ ณ เชียงใหม่ สมบัติ คำมูลแก้ว พงศ์ทวี ทัศวา Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 176 192 การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความฉลาดทางดิจิทัล ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/647 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ระดับความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 200 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามวัดระดับความฉลาดทางดิจิทัล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีระดับความฉลาดทางดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยที่ได้รับคะแนนสูงสุด ได้แก่ การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณที่ดี รองลงมาคือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว และการใช้เทคโนโลยีอย่างใส่ใจ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา ได้แก่ บทบาทของผู้ปกครองในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี แรงจูงใจในการใช้งานโลกไซเบอร์การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล, สภาพแวดล้อมทางการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ บทบาทของผู้ปกครองและแรงจูงใจในการใช้งานโลกไซเบอร์ ซึ่งสามารถพยากรณ์ความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษาได้ ร้อยละ 73.8 ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้ปกครอง การจัดการเรียนการสอน และแรงจูงใจในการใช้งานเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา ดังนั้นสถาบันการศึกษาควรจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะดิจิทัลผ่านหลักสูตรการเรียนการสอน และให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีของบุตรหลานให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p> นิดสา จันทร์งาม ปริญญา เรืองทิพย์ กชพรรณ ทนคง Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 1 14 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี ของทอร์แรนซ์ร่วมกับแนวคิดวิธีการสอนแบบเปิด ในรายวิชาเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/857 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1).พัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามของทอร์แรนซ์ร่วมกับแนวคิดวิธีการสอนแบบเปิด 2).ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของครูโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีวัดระฆังที่มีต่อการสอนโดยประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามของทอร์แรนซ์ร่วมกับแนวคิดวิธีการสอนแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1).แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ 2).แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ลักษณะแบบประเมินตนเอง 3).แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ลักษณะแบบประเมินชิ้นงาน 4). แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามของทอร์แรนซ์ร่วมกับแนวคิดวิธีการสอนแบบเปิด พบว่า ผลการเปรียบเทียบคะแนนความคิดสร้างสรรค์โดยจำแนกเป็นรายด้าน จากลักษณะการประเมินตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีของทอร์แรนซ์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด พบว่า คะแนนหลังเรียน เฉลี่ย (x̄ = 85, S.D. = 0.75) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน เฉลี่ย ( x̄ = 35.28, S.D. = 1.33)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ที่มีต่อการสอนโดยประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามของทอร์แรนซ์ร่วมกับแนวคิดวิธีการสอนแบบเปิด พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นในเชิงบวกต่อครูผู้สอน การจัดกิจกรรม สื่อ และบรรยายกาศในชั้นเรียน</span></p> รุ้งทิพย์ ประสาทกลาง เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม นฤมล ประสิทธิศักดิ์ Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด เกมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ระดับประถมศึกษา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/798 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพข้อมูลพื้นฐาน หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิตจำนวน 4 โรงเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า แนวคิดที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ แนวคิด Gerlach and Ely, 1971-2014: 32; Kemp, 1985: 1-10; Arends, 2011: 7; Joyce, Weil, &amp; Calhoun, 2015: 25-34, ทิศนา แขมมณี, 2559: 222 และการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ลักษณะการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมเป็นฐาน 5 ขั้นตอน องค์ประกอบการเรียนรู้อย่างมีความสุข 5 องค์ประกอบ ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา 5 ขั้นตอนจากการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนพบว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมเป็นวิธีการที่นักเรียนต้องการให้นำมาจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขและความสามารถในการคิดแก้ปัญหามากที่สุด ต้องเป็นกิจกรรมที่เป็นเรื่องราวใกล้ตัวที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ของตนเอง ดึงดูดความสนใจ เป็นเรื่องที่มีความหมายและสร้างความสนใจ ท้าทายผู้เรียนเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้และสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุขได้ด้วยตนเอง</p> จิราพร อุทัยวัฒน์ พรพิมล รอดเคราะห์ Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 134 147 องค์ประกอบการประเมินหลักสูตรการพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยรูปแบบการสะท้อนคิด PLC ผ่านประสบการณ์บูรณาการและเทคโนโลยีการบริหารจัดการองค์กร เพื่อความเป็นเลิศ กรณีศึกษา: โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ จังหวัดสมุทรสาคร https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/812 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการประเมินหลักสูตรการพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยรูปแบบการสะท้อนคิด PLC ผ่านประสบการณ์บูรณาการและเทคโนโลยีการบริหารจัดการองค์กรเพื่อความเป็นเลิศกรณีศึกษา: โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์จังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนมีการบริหารงานที่ประกอบด้วยคุณธรรมความรู้และเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเน้นวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 100 คน บัณฑิต จำนวน 50 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 300 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) อาจารย์ จำนวน 40 คน ผู้บริหาร จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติชั้นสูง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 ได้ค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.30-0.57 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล df, p, GFI, AGFI, CFI, RMSEA</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านหลักสูตร ประกอบด้วย คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ความเข้าใจ ความฉลาดทางปัญญา ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ และการบริหารจัดการด้านการอ่าน การเขียน และการคิดวิเคราะห์ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.74 - 0.93</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านการประเมินหลักสูตร ประกอบด้วย บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.74 - 0.93</span></p> ดิษลดา เพชรเกลี้ยง รณกฤต เพชรเกลี้ยง แฝงกมล เพชรเกลี้ยง วรศิริ ผลเจริญ Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 การพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยโดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/756 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะในการเขียนพยัญชนะไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากการสอนโดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการเขียนพยัญชนะไทยก่อนและหลังของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นประถมศึกษปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสงขลาพัฒนาปัญญา จำนวน 5 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนพยัญชนะไทยก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสีและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ (interquartile range, IQR) และ สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ทักษะการเขียนพยัญชนะไทย โดยการใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสี ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า เด็กมีทักษะการเขียนพยัญชนะไทยอยู่ในระดับดี</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการเขียนพยัญชนะไทย โดยการใช้ประสาทสัมผัสร่วมกับการใช้บัตรคำรหัสสีของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพใน การพัฒนาทักษะการเขียนพยัญชนะไทยของนักเรียน</span></p> ธัญลักษณ์ พุดคุม รักษิณา หยดย้อย พรรณรอง ฐิติพรวณิช Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 15 26 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของ โรงเรียนจิตรลดาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/863 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบ และพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา ฯ ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการระดับประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 1 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 - 6 ของโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 27 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2567 และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา (ร่าง) หลักสูตรเสริมสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร 3) แบบสัมภาษณ์ครูประจำชั้น 4) ประเด็นการสนทนากลุ่มพิจารณาหลักสูตร 5) แบประเมิน(ร่าง)หลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร จากการสังเคราะห์ข้อมูลพบว่า องค์ประกอบของอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดาที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ความรักชาติและอนุรักษ์ความเป็นไทย การมีความประพฤติและกิริยามารยาทดี การมีจิตสาธารณะ และการมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร พบว่า หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นจะใช้ในคาบกิจกรรมโฮมรูมซึ่งมีสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ระยะเวลาสำหรับการเรียนรู้ตลอดหลักสูตรทั้งหมดจำนวน 45 ชั่วโมง โดยหลักสูตรนี้ใช้ชื่อว่า “หลักสูตรดรุณพัฒน์แห่งจิตรลดา” ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ในการนำหลักสูตรไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> ทัชชา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 226 240 การประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/801 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ อัตราการใช้ห้อง และอัตราการใช้พื้นที่ของห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ จำนวนอาคารในความรับผิดชอบของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ทั้งหมด 5 อาคาร ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสำรวจการใช้พื้นที่อาคาร1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร (สกอ.) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ของจำนวนห้องบรรยายและห้องปฏิบัติการของคณะครุศาสตร์ มีจำนวนห้องที่ใช้ในการเรียนการสอน ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 ห้อง แบ่งเป็น ห้องบรรยาย 45 ห้อง และห้องปฏิบัติการ 15 ห้อง พบว่า จำนวนห้องเรียนเทียบกับเกณฑ์ฯ (สกอ.) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงทำให้ประสิทธิภาพต่ำ อันเนื่องมาจากการบริหารจัดการสถานศึกษายังไม่คุณภาพเท่าที่ควรจึงส่งผลให้การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ฯ ควรมีการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิในการใช้งานพื้นที่อาคาร</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการในภาพรวมของคณะครุศาสตร์ </span><span style="font-size: 0.875rem;">เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ฯ (สกอ.) พบว่า อัตราการใช้ห้อง อัตราการใช้พื้นที่ และประสิทธิภาพการใช้ห้องเรียนในภาพรวมของครุศาสตร์ มีประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ ร้อยละ 38.94 อัตราการใช้ห้อง ร้อยละ 63.63 และอัตราการใช้พื้นที่ ร้อยละ 22.62 เมื่อนำผลการศึกษาวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ฯ (สกอ.) พบว่า อัตราการใช้ห้อง อัตราการใช้พื้นที่ และประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ห้องบรรยาย ต่ำกว่าเกณฑ์ฯ (สกอ.)</span></p> กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร สุทธิพงค์ เพ็ชร์รัตน์ สุริยะ วิฤทธิ์ ธรรมรินทร์ สินธุ ธณัฐชา รัตนพันธ์ นิตยารัตน์ คงนาลึก ศุภชัย โชติกิจภิวาทย์ เศณวี ฤกษ์มงคล Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 148 160 เทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่ม ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/822 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) การบริหารจัดการองค์กร 2) การมีส่วนร่วม 3) การควบคุมความปลอดภัย และ 4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ คือ ผู้บริหารและอาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยการเลือกกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้บริหารคณะครุศาสตร์ จำนวน 15 คน และคณาจารย์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ระดับการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการบริหารจัดการองค์กร และการควบคุมความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนเทคนิคการบริหารจัดการองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมการออกแบบสถานที่เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและการทำงานกลุ่มของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยทั้ง 4 ด้าน รวม 20 มาตรการ ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการองค์กร 5 มาตรการ 2) การมีส่วนร่วม 5 มาตรการ 3) การควบคุมความปลอดภัย 5 มาตรการ และ 4) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 มาตรการ</p> พัชรา เดชโฮม ชัยอนันต์ มั่นคง พัชรนันท์ สว่างเจริญ Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 51 61 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/780 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง รวม 332 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 161 และครูวิชาการ 161 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1-3 ซึ่งปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2567 ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) ผู้นำเชิงนวัตกรรม 4) ผู้นำเชิงดิจิทัล 5) ผู้นำแบบพลิกผัน (Disruptive) 6) ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 7) ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ 8) ผู้นำเชิงวิชาการ 9) ผู้นำเชิงคุณธรรม จริยธรรม และ 10) ผู้นำแบบเน้นการบริการ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจาก</span>มากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ด้านความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา 3.) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) การสร้างทีมงาน 5) ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู 6) การจัดการความขัดแย้ง และ7) ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา </p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดชลบุรี </span>มีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับมาก (r<em><sub>Xy</sub></em>=.762) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong> </strong></p> <p> </p> พลธาวิน วัชรทรธำรงค์ ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์ สุรศักดิ์ แจ่มเจริญ พรรณธิพา แจ่มเจริญ สมสุข ค้ำชู พัชรินทร์ โตตระกูล Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/864 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยสุ่มห้องเรียนซึ่งจัดห้องเรียนเป็นแบบคละความสามารถ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แต่ละห้องไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยนี้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 2) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้t-test one group วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา โดยใช้สถิติพื้นฐานการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.04/81.29 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม</span><span style="font-size: 0.875rem;">การเรียนรู้คณิตศาสตร์ฯ อยู่ในระดับดีมาก</span></p> ยุวธิดา อัคฮาด สุธิลัดดา นาไชย Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 88 99 ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/827 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาโดยทำการ <br />1) เปรียบเทียบ คะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และ 2) ศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรี จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบ One group pretest – posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวสะตีมศึกษา หน่วยการเรียนรู้เรื่อง พลังงานบนโลกของเรา โดยการใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละของจำนวนนักเรียนตามระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและคะแนนพัฒนาการของความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์โดยภาพรวมและตามองค์ประกอบหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักเรียนมีพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับกลางมากที่สุด</span><span style="font-size: 0.875rem;">คิดเป็นร้อยละ 43.3</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะตีมศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> มัณฑนา แจ้งกระจ่าง ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 62 74 การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยี แอปพลิเคชันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางเรียน รายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/786 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน ก่อนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชะอวดวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 37 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ที่ได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน หลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือผนวกกับการใช้เทคโนโลยีแอพลิเคชัน รายวิชาออกแบบและเทคโนโลยี 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.56, S.D.=0.19)</p> สุธน วงค์แดง สโรชา ยิ้มละมัย ณัฐญา นาคะสันต์ อัจฉรา จันทร์ขุน Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 การใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/865 <p>การวิจัยเรื่องการใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน ก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ (1092301) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยซึ่งประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวนทั้งหมด 6 แผนและแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นได้นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้ความคิดรวบยอด</span><span style="font-size: 0.875rem;">ในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับมีระดับคุณภาพเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดีมาก</span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยผู้เรียนมีระดับเฉลี่ยของคะแนนจากร้อยละ 68.33 เพิ่มเป็น 83.50 ผู้เรียนมีพัฒนาการชัดเจน</span><span style="font-size: 0.875rem;">ในด้านความสามารถในการจับใจความสำคัญของเนื้อหา ความสามารถในการตอบคำถามเชิงวิเคราะห์ และความสามารถในการคาดเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท สะท้อนถึงความเข้าใจเชิงลึกและทักษะการวิเคราะห์ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">การใช้ความคิดรวบยอดในการสอนภาษาร่วมกับการป้อนกลับส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านทักษะการอ่านอย่างเป็นรูปธรรม โดยผู้เรียนสามารถใช้แนวคิดหลักที่เรียนรู้เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น มีความสามารถในการจับประเด็นสำคัญ และตอบคำถามเชิงวิเคราะห์ได้ดีขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน</span></p> สมบัติ คำมูลแก้ว Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 100 111 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียน แบบเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/804 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการระหว่างก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการกับแนวการสอนเขียนแบบปกติ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบวัดความสามารถในการเขียนเรียงความ สถิติที่ใช้ ได้แก่ dependent t-test และ independent t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความสามารถในการเขียนเรียงความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ความท้าทายเป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความสามารถในการเขียนเรียงความสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</span></p> สิรินยา เกษมสุข ศุภวรรณ สัจจพิบูล Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 161 175 การพัฒนาธรรมนูญสุขภาพเขตตลิ่งชันผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/926 <p>การพัฒนาธรรมนูญสุขภาพเขตตลิ่งชันเป็นกระบวนการที่มุ่งเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่โดยธรรมนูญสุขภาพนี้มีเป้าหมายเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนอย่างยั่งยืน ครอบคลุม 6 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ส่งเสริมการร่วมมือระหว่างหน่วยงานและประชาชนในการกำหนดทิศทางสุขภาวะ (2) ด้านเศรษฐกิจและสังคม มุ่งเน้นการสร้างอาชีพ เสริมสร้างรายได้ การออมในชุมชน และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (3) ด้านสิ่งแวดล้อม เน้นการจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (4) ด้านสุขภาพ ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟู ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตรวจสุขภาพ การรณรงค์อาหารปลอดภัย การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การส่งเสริมการออกกำลังกาย และการแพทย์ทางเลือก (5) ด้านการศึกษา เน้นการให้ความรู้ด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย การป้องกันโรค การอบรมผู้นำสุขภาพชุมชน และการสนับสนุนโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์ (6) การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพ ผ่านคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงธรรมนูญให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ธรรมนูญสุขภาพเขตตลิ่งชันจึงไม่เพียงเป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายสุขภาพ แต่ยังเป็นกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สร้างความตระหนักรู้ และปลูกฝังการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดสุขภาวะที่ยั่งยืนในทุกมิติและทุกช่วงวัย โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง</p> นงค์ณภัส ปาแก้ว กอบกุล ชินชัยภูมิ กาญจนา บัวเขียว วีรยุทธ ยวนใจ พรชัย ก.ศรีสุวรรณ Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 241 252 การสื่อสารอย่างมั่นใจด้วยภาษาอังกฤษ: การวิเคราะห์เทคนิคการพูดนำเสนอ อย่างมีประสิทธิภาพ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/803 <p>บทความวิชาการเรื่อง การสื่อสารอย่างมั่นใจด้วยภาษาอังกฤษ: การวิเคราะห์เทคนิคการพูดนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อวิเคราะห์ขั้นตอนการพูดนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิผล 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาทักษะการพูดนำเสนอ โดยอิงจากเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมกับบริบทสากล และ 3) เพื่อนำเสนอกรอบแนวทางที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของผู้พูดในการนำเสนอด้วยภาษาอังกฤษ</p> <p> บทความนี้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปิดโอกาสทางวิชาชีพและสร้างความประทับใจในระดับนานาชาติ โดยได้อธิบายถึง 6 ขั้นตอนหลักที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการนำเสนอ ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมตัว (Preparation) เน้นการวิเคราะห์ผู้ฟังและฝึกซ้อม 2) ขั้นบทนำ (Introduction) ปูพื้นฐานสู่ความเข้าใจและสร้างความน่าเชื่อถือ 3) ขั้นเปิดการนำเสนอ (Opening) ดึงดูดความสนใจตั้งแต่เริ่มต้น 4) ขั้นนำเสนอเนื้อหา (Body) ถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วยภาษาที่ชัดเจน 5) ขั้นปิดการนำเสนอ (Conclusion) สรุปประเด็นสำคัญและเปิดโอกาสให้ซักถาม และ 6) ขั้นประเมินผลและการพัฒนา (Evaluation and Development) เรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บทความยังนำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพูดนำเสนออย่างมืออาชีพ อาทิ การเตรียมเนื้อหา การใช้ภาษาและน้ำเสียง การแสดงท่าทาง การจัดการกับคำถาม และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง หลักการทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการพูดในที่สาธารณะ ควบคู่ไปกับเทคนิคและกลยุทธ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในบริบทที่หลากหลายบทความนี้จึงเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าสำหรับนักศึกษา นักวิชาชีพ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องนำเสนออย่างมืออาชีพ</p> ทิพยาพร จงพล Copyright (c) 2025 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-06-30 2025-06-30 19 1 253 271