วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU <p>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มุ่งเน้นในการรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ทั้งในรูปแบบของบทความงานวิจัย และบทความวิชาการอื่นๆ ในการเผยแพร่องค์ความรู้ความคิด ทัศนะ และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการศึกษาทั้งด้านการบริหารการศึกษา คุณลักษณะบัณฑิต การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ศิลปวัฒนธรรม และนำเสนอองค์ความรู้จากผลงานการวิจัยทางด้านการศึกษา สู่สาธารณชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันซึ่งไม่ได้สังกัดเดียวกับผู้เขียน อย่างน้อย 3 ท่าน ตรวจสอบกลั่นกรองสาระต่างๆ ที่นำเสนอในวารสาร และให้วารสารมีมาตรฐานคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยตีพิมพ์เผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ) ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม - มิถุนายน และฉบับที่ 2 เดือนกรกฏาคม - ธันวาคม </p> <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</strong><br />Journal of Education Bansomdejchaopraya Rajabhat University<br />ISSN 3056-915X (Online)</p> <p><strong>กำหนดพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong><br />ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br />ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p style="margin-bottom: 0cm;"><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่</strong><br />อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีดังนี้<br />1. อัตราค่าธรรมเนียมเผยแพร่บทความสำหรับบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา บทความละ 3,000 บาท<br />2. อัตราค่าธรรมเนียมเผยแพร่บทความสำหรับบุคคลภายนอก บทความละ 3,500 บาท</p> <p>การเก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่ จะดำเนินการหลังจากที่บทความผ่านการพิจารณาตรวจสอบจากกองบรรณาธิการภายใน ก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</p> <p><strong>การชำระค่าธรรมเนียม : กำหนดให้โอนเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางบัญชีธนาคาร ดังนี้</strong><br /><strong>ธนาคาร</strong> กรุงเทพ สาขา เจริญพาศน์<br /><strong>ชื่อบัญชี</strong> วารสารครุศาสตร์สาร คณะครุศาสตร์ <br /><strong>เลขที่บัญชี</strong> 126-0-91036-7</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>*หมายเหตุ</strong><strong style="font-weight: 500;"> : เมื่อดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว กรุณาแนบหลักฐานการชำระเงินที่ E-mail: edujournal@bsru.ac.th</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong style="font-weight: 500;"><strong>เงื่อนไขในการส่งบทความ </strong></strong></p> <ol> <li><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ไม่ตรงกับสายวิชาการที่ทางวารสารเปิดรับ</strong></li> <li><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ไม่ได้จัดรูปแบบที่ถูกต้อง </strong></li> <li style="font-weight: 400;"><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่บทความที่ไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ</strong></li> <li style="font-weight: 400;"><strong style="font-weight: 500;">กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์การคืนเงิน ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ ในกรณีไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ </strong></li> </ol> <p> </p> <p><strong>วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1</strong><br /><strong>เปิดรับบทความ</strong> 20 มกราคม 2568 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2568<br /><strong>ตรวจสอบรูปแบบการเขียนบทความ</strong> 17 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568<br /><strong>ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ</strong> 3 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568<br /><strong>แก้ไขบทความ</strong> 1 พฤษภาคม 2568 ถึง 16 พฤษภาคม 2568<br /><strong>ใบตอบรับ (ผ่าน/ไม่ผ่าน)</strong> 19 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568<br /><strong>กำหนดเผยแพร่วารสาร ปีที่ 19 ฉบับที่ 1</strong> 30 มิถุนายน 2568</p> <p> </p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง</p> edujournal@bsru.ac.th (รองศาสตราจารย์ ดร.จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา) edujournal@bsru.ac.th (กองบรรณาธิการวารสาร) Mon, 30 Dec 2024 18:16:21 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาชุดการทดลอง เรื่อง รอก สำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/446 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดทดลอง เรื่อง รอก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดทดลอง เรื่อง รอก 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดทดลอง เรื่อง รอก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 18 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เครื่องกลประเภทรอกเดี่ยว 2) ชุดทดลอง เรื่อง รอก 3) แบบประเมินคุณภาพชุดทดลอง 4)&nbsp; แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน &nbsp;ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดทดลองที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพถูกต้องตามหลักการและสอดคล้องกับทฤษฎี สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ โดยชุดทดลองสามารถปรับรูปแบบการทดลองได้ทั้งหมด 7 รูปแบบ มีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 20 และผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพชุดทดลองอยู่ในระดับดีมาก ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 3.63/4.00) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดทดลอง พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีระดับความความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับการใช้ชุดทดลอง เรื่อง รอก อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">= 4.21/5.00)</p> นันทนัช วัฒนสุภิญโญ , อนุวัฒน์ หัสดี, วิไลวรรณ วิถีนิติธรรม , นพรุท จันทร์ผอง Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/446 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/497 <p>การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเขียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม และ 4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม ประชากร เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ครู 27 คน นักเรียน 20 คน และผู้ปกครอง 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบทดสอบทักษะการอ่านการเขียน และแบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานศึกษายังไม่มีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม 2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และพฤติกรรม การเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ มีองค์ประกอบ คือ การกำหนดนโยบาย การสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และการประเมินผล ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อทักษะการอ่าน การเขียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนศรีสังวาลย์ พบว่า นักเรียนได้คะแนนทักษะด้านการอ่านการเขียน คิดเป็นร้อยละ 84.00 พฤติกรรมในการเรียนรู้มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และ 4. ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ลิรารัตน์ จันทะคูณ, กฤษดา ผ่องพิทยา, เสาวพา เวศกาวี Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/497 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/484 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12 โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น จำนวน 12 แผน และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 93.40/83.95 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังจากการจัดการเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยภายหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ศักดิ์ศรี สืบสิงห์, ปรัชญา สุนทะวงค์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/484 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/450 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจากการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก กลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 10 คน ปฏิบัติการสอน ณ สถานศึกษาจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปาง เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test for dependent samples</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในด้านวรรณกรรมเพื่อการสอนภาษาอังกฤษของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีคะแนนสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( x̅ = 29.70, S.D. = 5.17) และหลังเรียน ( x̅ = 52.20, S.D. = 2.74) แม้ว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนในภาพรวมร้อยละ 49.50 อยู่ในค่าระดับคะแนนตก แต่ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนในภาพรวมร้อยละ 87 อยู่ในค่าระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นถึงผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนของค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีผลสัมฤทธิ์ของค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 22.50</p> <p>2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̅ = 4.38, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ากิจกรรมการที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการเล่นละครหุ่นกระบอก (x̅ = 4.70, S.D. = 0.48) และกิจกรรมการให้เสียงอ่านนิทาน อ่านเรื่องสั้น การอ่านบทกวี ( x̅ = 4.60, S.D. = 0.52) ในขณะเดียวกันที่กิจกรรมที่จัดอยู่ในระดับมาก ได้แก่ กิจกรรมการบรรยายสรุปวรรณกรรมผ่านการนำเสนองาน ( x̅ = 4.50, S.D. = 0.71) และกิจกรรมโปสเตอร์ ถาม-ตอบ ภาษาอังกฤษ ( x̅ = 4.40 ,S.D.=0.52)<strong> </strong><strong> </strong></p> ธนาพันธุ์ ณ เชียงใหม่ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/450 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/499 <p>รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริม ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง เป็น ผู้บริหารสถานศึกษา 2 คน ครูผู้สอน 27 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน 20 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู แบบนิเทศครู และ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />ผลการวิจัย พบว่า<br />1. สภาพและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน มีองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียนใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม<br />2. รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน ได้แก่ การฝึกปฏิบัติจริง การถอดบทเรียน การฝึกอบรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการศึกษาดูงาน<br />3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีของนักเรียน พบว่า ทุกด้าน มีผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และบรรลุผลสำเร็จอยู่ในระดับมาก</p> เสาวพา เวศกาวี, กฤษดา ผ่องพิทยา, ลิรารัตน์ จันทะคูณ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/499 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรคและความเครียด ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในจังหวัดเชียงราย https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/489 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความสัมพันธ์ และการเปรียบเทียบการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความเครียด ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 กับหลังการระบาดของโรคโควิด 19 โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงราย จำนวน 293 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ซึ่งผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) และค่าสถิติทดสอบทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent samples)<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1) ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความเครียด พบว่า ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ระดับความรู้ และระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับมาก และระดับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง<br />2) ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ พฤติกรรมการป้องกันโรค และความเครียด พบว่า ในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 และหลังการระบาดของโรคโควิด 19 การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด<br />3) การเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค ในช่วงการระบาดและหลังการระบาดของโรคโควิด 19 มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงรายแตกต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จักรพันธ์ ชัยทัศน์, วัชรี มนัสสนิท, กนกวรรณ พุทธหน่อแก้ว Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/489 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มพูนความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/453 <p class="content1" style="margin-right: 2.55pt;"><span lang="TH">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบและศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ </span>2 <span lang="TH">มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา การอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์สำหรับครูภาษาอังกฤษ (</span>1091306) <span lang="TH">ในภาคเรียนที่ </span>1 <span lang="TH">ปีการศึกษา </span>2564 <span lang="TH">จำนวน </span>23 <span lang="TH">คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนจำนวน </span>6 <span lang="TH">แผนการสอนที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน รวมถึงแบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (</span>IOC) <span lang="TH">จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน </span>3 <span lang="TH">คน โดยมีค่า </span>IOC <span lang="TH">เฉลี่ยรวมที่ </span>0.88 <span lang="TH">การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อประเมินความสามารถในการอ่านของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนการสอน</span></p> <p class="content1" style="margin: 0cm 2.55pt 6.0pt 0cm;"><span lang="TH">ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังการเรียนโดยใช้การเรียนแบบมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับดีมาก ซึ่งบ่งชี้ว่าการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมสามารถพัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมสามารถช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะเหล่านี้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้การเรียนแบบมีส่วนร่วมยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนให้ดีขึ้น โดยผู้เรียนมีความเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง และสามารถปรับใช้องค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาทักษะและการดำรงชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ</span></p> สมบัติ คำมูลแก้ว Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/453 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/571 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 202 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินกรอบแนวคิด 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ 9 คน และผู้บริหารสถานศึกษานำรูปแบบการพัฒนาสู่การปฏิบัติ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินแนวทาง และคู่มือการพัฒนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 1.1) ผลการศึกษากรอบแนวคิด ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม การมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม การสร้างบรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม และการแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม 1.2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด 3 ลำดับ ดังนี้ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมเชิงนวัตกรรม ด้านการแสดงบทบาทหน้าที่เชิงนวัตกรรม และ ด้านการมีทักษะการคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 2. ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล พบว่า ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา 5 องค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์การพัฒนา สาระการพัฒนา กระบวนการพัฒนา สื่อการพัฒนา และการวัดและการประเมินผลการพัฒนา 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในยุคดิจิทัล พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> พัชรา เดชโฮม Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/571 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แบบทดสอบความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีและ ความรู้เรื่องแนวคิดทีแพ็คของนักศึกษาครู https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/479 <p>การศึกษามีความจำเป็นในการส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลให้กับนักเรียนทำให้แนวคิดทีแพ็คถูกนำมาใช้ในการบูรณาการเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเข้ากับบทเรียนรวมกับความรู้ด้านการสอนและเนื้อหาซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการผลิตครูและมีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมความรู้เกี่ยวกับแนวคิดนี้ให้แก่นักศึกษาก่อนออกฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในรูปแบบของการอบรม จึงมีความจำเป็นต้องสร้างแบบทดสอบในการวัดความรู้ก่อนอบรมและหลังการอบรมที่มีคุณภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาครู และ 2) เปรียบเทียบความรู้เรื่องแนวคิดเนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูก่อนกับหลังการอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครูหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 3 จำนวน 492 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) แบบทดสอบวัดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูมีลักษณะเป็นสถานการณ์ที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสารอาหารที่ออกแบบตามแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี และมีคำถามให้วิเคราะห์แนวคิด TPACK ที่แทรกในแผนดังกล่าวจำนวน 10 ข้อ การตอบเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีความความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .21-.78 ค่าอำนาจแนกอยู่ระหว่าง .31-.63 ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.68 อยู่ในระดับปานกลาง</p> <p> 2) ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีของนักศึกษาครูหลังการอบรม (x̅ =7.38, SD = 2.16) สูงกว่าก่อนการอบรม x̅ = 4.25, SD = 2.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> นันท์นภัส นิยมทรัพย์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/479 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม ของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/490 <p>วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันกับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 3) ยืนยันระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน มีประชากร 520 คน และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 237 คน โดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan การวิจัยมี 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดองค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 3) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 4) พัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน และ 5) ยืนยันความเป็นไปได้ของระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด<br />2. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การดำเนินการ 3) การสังเกตผล 4) การประเมินผล และ 5) การสะท้อนผล<br />3. การยืนยันความเป็นไปได้ของระบบการบริหารจัดการระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน มีความเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> อัจฉรา ผ่องพิทยา Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/490 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความพร้อม การรับรู้ความสามารถของตนเองก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/455 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความพร้อม การรับรู้ของนักศึกษาก่อนออกฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะความพร้อม การรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยกลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ จำนวน 81 คน จากแบบสอบถาม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานพร้อมกับคำถามปลายเปิดของปัญหา ข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่าภาพรวมด้านความพร้อมและความรู้ มีค่าคะแนนเท่ากัน (µ =3.58, σ = 0.82) (µ =3.58, σ = 0.83) ส่วนด้านทักษะต่อการฝึกงาน (µ =3.49 σ = 0.80) มีค่าคะแนนระดับปานกลาง ด้านความพร้อมต่อการฝึกงานเป็นการสื่อสารได้เหมาะสมกับทุก ๆ วัย” (µ =3.22, σ = 0.80) ความรู้ เป็นด้านการรู้จักและเข้าใจ Incoterms” (µ =3.37 σ = 0.85) เป็นค่าระดับคะแนนปานกลาง และด้านทักษะต่อการฝึกงานในด้านการสื่อสารภาษาภาษาอื่น ๆ” ค่าระดับคะแนนปานกลาง (µ =2.61 σ = 1.27) ส่วนความคิดเห็นนักศึกษาสนใจต่อการเข้าฝึกงานในด้านคลังสินค้าและขนส่งสินค้าทางทะเล เนื่องความนิยมของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ยังขยายตัวจากจำนวนมากของสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยังคงต้องการแรงงานในส่วนนี้เพิ่มขึ้น สำหรับด้านทักษะภาษาอังกฤษให้เน้นในด้านคำศัพท์ (Logistics terminology) เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยต่อการใช้คำศัพท์เบื้องต้นตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงปี 3 ส่วนด้านการเลือกที่ฝึกงานให้มุ่งเน้นไปที่อาชีพอื่น ๆ ที่กว้างขึ้นในด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อมีโอกาสรับการคัดเลือกเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยหลักสูตรเน้นในอาชีพอื่น ๆ ที่เป็นทางเลือกแก่นักศึกษาในก้าวแรกจากการฝึกงาน</p> นิตยา มณีวงศ์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/455 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบทเรียนเชิงกิจกรรม เรื่อง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/572 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนเชิงกิจกรรม เรื่อง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนเชิงกิจกรรม ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ที่สมัครเข้าร่วมการวิจัยโดยความสมัครใจ กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกมาจากประชากรผ่านการเปิดรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการวิจัย ซึ่งเป็นการสอนนอกเหนือเวลาเรียนตามปกติ โดยมีนักเรียนเข้าร่วมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนเชิงกิจกรรม เรื่อง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ซึ่งมีจำนวน 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 อะไรอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้า ตอนที่ 2 ตัวต้านทานคืออะไร ตอนที่ 3 ไดโอดคืออะไร ตอนที่ 4 LED คืออะไร และ ตอนที่ 5 อะไรอยู่ในกล่องปริศนา และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนเชิงกิจกรรม เรื่อง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ 86.52/82.63 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้เชิงกิจกรรมที่ผสานทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สามารถช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อันจะมีประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นหรือการบูรณาการความรู้ในมิติที่หลากหลายมากขึ้น อาทิเช่น สะเต็มศึกษา</p> อังทินี กิตติรวีโชติ, ภาณุมาศ ซันอาลี , สิรภพ เทพพิทักษ์ , ปรัชญา จิตตรีสินธุ์ , วนิดา พลอยล้วน, ธิติพงศ์ วุฒิศาสตร์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/572 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/480 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2) ระดับสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 285 คน จากประชากร 1,086 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 (α= 0.981) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน รองลงมา ได้แก่ ด้านความสามารถทางเชาว์ปัญญา และด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2) ระดับสมรรถนะหลักของครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านการบริการที่ดี รองลงมา ได้แก่ ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู และด้านการพัฒนาตนเองมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด</span></p> <p> 3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครู อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการทำนายตามลำดับจากมากที่สุด ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความสามารถทางเชาว์ปัญญา ด้านความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนในงาน และด้านความรู้ สามารถพยากรณ์สมรรถนะหลักของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ได้ร้อยละ 68.10</p> จิระภา ทอนศรี, นิษฐ์สินี กู้ประเสริฐ , วิเชียร อินทรสมพันธ์ Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/480 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/381 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลบางละมุง 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง จำแนกตามเพศ ที่อยู่อาศัย วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และ 3) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองนักเรียน 186 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test for Independent samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ ชื่อเสียงและความศรัทธา หลักสูตรและการเรียนการสอน ผู้บริหารและครูผู้สอน ความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ค่าใช้จ่าย สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ และอาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย </li> <li>เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง พบว่า จำแนกตามเพศ สถานที่อยู่อาศัย วุฒิการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ไม่แตกต่างกัน</li> <li>แนวทางการเสริมสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ผลงานผ่านช่องทางหลากหลาย มีแผนการเรียนที่ทันสมัย จัดหาทุนการศึกษา จัดครูสอนให้ตรงกับความรู้ ความสามารถ จัดทำแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดให้ทันสมัย อำนวยความสะดวก บริการรวดเร็ว จัดบริการอาหารกลางวันที่ถูกสุขลักษณะ บริการอย่างเพียงพอ สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน และจัดแสดงผลงาน</li> </ol> พลธาวิน วัชรทรธำรงค์, ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์, พรรณธิพา แจ่มเจริญ, สมสุข ค้ำชู Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/381 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/494 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) กระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 340 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว รองลงมาคือ ด้านภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ส่วนด้านทักษะด้านสังคมและทักษะด้านข้ามวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ระดับกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ รองลงมา คือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ส่วนด้านระบบบริหารจัดการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ซูการนัน มะลีซู Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/494 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบวิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัล ของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/574 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบวิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัลของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 200 คน โดยสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติชั้นสูง แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า วิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัลของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย องค์ความรู้ สมรรถนะการเรียนรู้ของผู้นำ ทรัพยากรการเรียนรู้ และระบบเทคโนโลยีดิจิทัล โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งพิจารณาได้จากค่าไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 88.00; p=0.00025 ที่องศาอิสระเท่ากับ 61 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.96 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.94 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.034 และทิศทางการขับเคลื่อนองค์กรแห่งวิทยาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้นำดิจิทัลของนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย หลักการสำคัญของความรู้ กระบวนการบริหารจัดการความรู้ ทิศทางการใช้ความรู้ในโลกแห่งอนาคต ความสามารถการใช้ความรู้ของผู้นำ การบูรณาการความรู้ ศักยภาพวิทยาการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ สื่อสารสนเทศ หน่วยประมวลผลความรู้ ประสิทธิภาพของระบบความรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และภาวะเสถียรของระบบสัญญาณ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและดึงสมรรถนะที่สำคัญของนักศึกษาสู่การพัฒนาภาวะผู้นำแห่งโลกดิจิทัล ซึ่งจะต้องมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อโลกวิทยาการด้วยวิทยาการเรียนรู้แห่งดิจิทัลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาองค์กรที่เป็นเลิศ โดดเด่น และมีอัตลักษณ์</p> นิรันดร์ สุธีนิรันดร์ , ธัชกร สุวรรณจรัส , อัจฉรา นิยมาภา, วนิดา พลอยล้วน Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/574 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผล สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/483 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการวัดและประเมินผลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 362 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลวิจัย พบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่า ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึ่งประสงค์ของค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลจากการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ในภาพรวมเท่ากับ 0.213 เมื่อการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยเรียงลำดับจากความจำเป็นมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด พบว่า สมรรถนะด้านการเลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมา ได้แก่ สมรรถนะด้านการวัดและประเมินได้ตามสภาพความเป็นจริง สมรรถนะด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพนักเรียน สมรรถนะด้านการสื่อสารผลการประเมินให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง บุคคลทั่วไปและบุคลากรทางการศึกษา สมรรถนะด้านการใช้ผลการประเมินเมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับนักเรียนเป็นรายบุคคล สมรรถนะด้านการบริหารการสอบ การให้คะแนน และการแปลความหมาย ผลการประเมิน สมรรถนะด้านการพัฒนาวิธีการวัดและประเมินผล ตามลำดับ</p> จักรชัย ตระกูลโอสถ, กิตติรัตน์ เกษตรสุนทร Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/483 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/461 <p>ในรอบทศวรรษที่ผ่านมาการคิดเชิงออกแบบถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในวงการภาคธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรมตลอดจนวงการการศึกษา โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การทำความเข้าใจปัญหาโดยเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกับปัญหาให้ถ่องแท้ในทุกมุมมอง เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อหาทางแก้ไขที่เหมาะสมและดีที่สุด 2) การระบุปัญหาและกรอบของปัญหา 3) การระดมความคิด<strong>ใหม่ๆ</strong> 4) การสร้างต้นแบบ<strong>หรือสร้างแบบจำลอง </strong>และ 5) <strong>การทดสอบต้นแบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย</strong> ซึ่งปัจจุบันในบริบททางการศึกษาพบงานวิจัยที่ครูนำการคิดเชิงออกแบบมาใช้ในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง โดยในองค์ประกอบของการจัดการความรู้ การวัดและประเมินผลเป็นการสะท้อนผลลัพธ์ของกระบวนการ บริบท และปัจจัยนำเข้าสู่การคิดเชิงออกแบบที่นำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาผู้เรียนในบริบทของไทยยังพบน้อยมาก จึงเป็นที่มาของบทความฉบับนี้ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอหลักการของการประเมินการคิดเชิงออกแบบทั้งในส่วนของการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ เนื่องจากเป้าหมายของวิธีการดังกล่าวเหมาะสมกับการนำมาใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เรียนขั้นสูงและในบริบทที่มีความซับซ้อน การออกแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนจึงนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในบทความจึงมีการนำเสนอวิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินทั้งแบบประเมินตนเองหรือประเมินโดยครู รวมถึงเกณฑ์การประเมินการคิดเชิงออกแบบที่มีการให้คะแนนแบบแยกประเด็น ทั้งนี้ตัวอย่างเครื่องมือในบทความสามารถทำให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรอบการประเมินการคิดเชิงออกแบบเพื่อนำไปสู่ผลการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องและเต็มตามศักยภาพ</p> พินดา วราสุนันท์, กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์ , วุฒินันท์ ไอยราพัฒนา Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/461 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการศึกษาสู่คุณภาพ เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/584 <p>บทความวิชาการฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายในการนาเสนอแนวทางการศึกษาและหลักการของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมายและมีประสิทธิภาพในบริบทการศึกษาศตวรรษที่ 21 โดยบทความนี้ จะเริ่มต้นด้วยการอธิบายความสาคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคที่การศึกษาได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นปัจจัยสาคัญในการพัฒนาบุคคลและสังคมในยุคเทคโนโลยี และเป็นแนวทางที่ช่วยพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับระบบการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาแห่งชาติจึงมีความสาคัญต่อการสร้างโอกาสและคุณภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้บทความแนวคิดทางวิชาการและมุมมองของผู้เขียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่การปฏิบัติห้องเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 และ 2) การบูรณาการเรียนรู้เชิงรุกสู่การพัฒนาคุณภาพทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ครอบคลุมกระบวนการและสามารถไปประยุกต์การจัดการเรียนรู้ผ่านการคิด วิเคราะห์ และการปฏิบัติจริงเพื่อสร้างสรรค์ห้องเรียนและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่ผู้สอนและผู้เรียนได้รับส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21<br />การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสู่การปฏิบัติห้องเรียนคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ได้สะท้อนให้เห็นถึง การเรียนรู้เชิงรุกด้วย 4 แนว ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ 2) การเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติจริงได้ 3) การพัฒนาทักษะคิดวิเคราะห์ และ 4) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งการบูรณาการเรียนรู้เชิงรุกสู่การพัฒนาคุณภาพทักษะในศตวรรษที่ 21 ใช้กรอบแนวคิดสูตร 3R x 7C เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะด้านความรู้และทักษะทางอารมณ์ในลักษณะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก วิธีการวัดและการประเมินผล ผลผลิต และผลลัพธ์ ผ่านวิธีการจัดการเรียนรู้ 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน 2) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 3) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) การเรียนรู้จากการสืบค้น และ 5) การเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ดังนั้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเป็นแนวทางสู่การศึกษาคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะต่างๆ ที่จาเป็นและทันสมัย มีความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้ต่อเนื่อง เป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพและเพื่อให้สามารถแข่งขันและเจริญเติบโตในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว</p> เพ็ญพร ทองคำสุก Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/584 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/478 <p>การพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กปฐมวัยเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับความสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาและชีวิตส่วนตัวในอนาคต การเรียนรู้ทักษะทางสังคมตั้งแต่ในวัยเด็กส่งผลให้เด็กสามารถปรับตัวและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสังคมได้อย่างมั่นคง บทความนี้ได้นำเสนอแนวการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาทักษะดังกล่าว โดยอ้างอิงจากการวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยบทความนี้จะนำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 7 แนวทางได้แก่ การจัดกิจกรรมกลุ่ม การเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดี การเลี้ยงดูที่เหมาะสม การสอนแบบบูรณาการ การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ การประเมินและการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ล้วนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมทักษะทางสังคมของเด็ก กิจกรรมกลุ่มช่วยพัฒนาเด็กในเรื่องการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการเรียนรู้ที่จะเข้าใจและยอมรับความหลากหลาย การเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีช่วยส่งเสริมพฤติกรรม<br />ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับค่านิยมที่ดีในสังคม การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาในทุกด้าน การสอนแบบบูรณาการช่วยให้เด็กได้รับความรู้และทักษะที่ครอบคลุม การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เด็กสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มความสนใจและความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนรู้ การประเมินและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องช่วยให้การสอนสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้สรุปว่า การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสามารถช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยได้อย่างยั่งยืน และเป็นการวางรากฐานที่สำคัญสำหรับการเติบโตอย่างมีคุณภาพในทุกมิติของชีวิต</p> รณชัย ภูวันนา, บงกชรัตน์ ภูวันนา , บงกชกร ศุภเกษร , สุชาดา หวังสิทธิเดช , รัตติกาล สารกอง , รุ่งลาวัลย์ ละอำคา Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/478 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 นโยบายสาธารณะด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : การขับเคลื่อนเป้าหมาย SDG สู่การปฏิบัติ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/585 <p>การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2558 เป็นกรอบแนวทางเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายรวม 17 เป้าหมาย อาทิ การขจัดความยากจน การจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และการศึกษาอย่างมีคุณภาพ การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ มีแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป้าหมาย SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพบรรลุผลสำเร็จ ประกอบด้วย 1) แนวคิดนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา 2) หลักการและแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) การขับเคลื่อนเป้าหมาย SDG ด้านการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 4) การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยการบูรณาการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ซึ่งจากแนวการดำเนินการ พบว่า 1) มีเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกัน 5 ประการ และเพื่อขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573 2) มีนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ ได้แก่โครงการเรียนฟรี 12 ปี ที่เน้นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา หรือแผนการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพครูที่มุ่งพัฒนาครูให้ทันสมัยและสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย 3) การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการศึกษาที่มีคุณภาพ ด้วยการบูรณาการนโยบายสาธารณะด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ระบุปัญหา กำหนดนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา เชื่อมโยงเป้าหมาย SDG 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ 4) กำหนดตัวชี้วัดในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 5) กำหนดแนวทางการดำเนินงานสู่การปฏิบัติ และ 6) กำหนดผู้รับผิดชอบทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ</p> นิศาชล ฉัตรทอง Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/585 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริมในการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/460 <p>การประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ในการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียน เป็นการนาสื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการศึกษาบทเรียนด้วยตนเองผ่านสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ที่ผู้เรียนสามารถควบคุมเนื้อหาหรือเลือกเรียนรู้ได้ตามศักยภาพของตนเอง โดยไร้ข้อจากัดในเรื่องของสถานที่และเวลา อีกทั้งสามารถเข้าถึงบทเรียนและทบทวนเนื้อหาได้อย่างไม่จากัด นอกจากนี้ ผู้สอนยังสามารถติดตามการเรียนรู้ ตลอดจนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งการประเมินเพื่อพัฒนาและการประเมินผลรวบยอดได้ผ่านเทคโนโลยีสื่อข้างต้น เพื่อให้การเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสืบเสาะหาความรู้สู่ การอภิปรายร่วมกัน ฉะนั้นบทบาทครูจึงเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คือไม่ใช่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่เปรียบเสมือนผู้จุดประกายทางความคิด คอยชี้แนะ สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงอาจกล่าวได้ว่า การนาสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาใช้ร่วมกับการเรียน การสอน ส่งผลทาให้เกิดการตอบสนองและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่ผู้เรียนสามารถทาความเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้ง่ายขึ้น ผ่านการนาเสนอข้อมูลสารสนเทศที่แสดงผลออกมาได้ในหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งมีกระบวนการสร้างหรือรูปแบบวิธีการใช้งานคล้ายเกมที่ผู้เรียนคุ้นเคยในชีวิตประจาวัน จึงเหมาะที่จะนามาประยุกต์ใช้ในลักษณะของสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือผสมผสานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลับด้านชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ดิษลดา เพชรเกลี้ยง, รณกฤต เพชรเกลี้ยง, แฝงกมล เพชรเกลี้ยง Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/EduBSRU/article/view/460 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700