https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/issue/feed วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ 2024-08-30T00:00:00+07:00 ดร.อำนวย บุญรัตนไมตรี journalips01@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารมีนโยบายฯ รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการในด้านการจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมืองการปกครอง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย</p> https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/471 นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ 2024-08-23T11:11:08+07:00 Areerat Gwangkwang bambluehome@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ และ (3) เพื่อประเมินนวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากประชากรจำนวน 870 คน ซึ่งแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการในสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการในสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นต่อด้านการพัฒนาหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (2) นวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 18 แนวทาง และ (3) การประเมินนวัตกรรมการบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์มีผลการประเมินสถิติด้านความถูกต้อง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/454 ประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร 2024-07-11T11:13:08+07:00 Siripat Plangklang siripat.pla@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ได้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชุมพร โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร <br />ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร พบว่า อยู่ในระดับมาก <br />(2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 <br />ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดชุมพรที่มีอายุ การศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพรแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและประสิทธิผลการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/456 ประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-08-08T13:52:12+07:00 Wissaruta Thummajaroenrach chanida99.w@gmail.com <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วม และประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์</p> <p> ผู้วิจัยใช้วิธีการเชิงปริมาณ ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 398 คน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวและค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ด้านระดับประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าอยู่ในระดับ มาก (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความเห็นของประชาชนในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีระดับการศึกษาและรายได้แตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับสูง</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/457 ประสิทธิผลโครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชน ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร 2024-08-08T13:44:44+07:00 Peeraphat Thongyoi supannee_1990sesuk@hotmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินประสิทธิผลการส่งเสริมประชาธิปไตยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการส่งเสริมประชาธิปไตยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการส่งเสริมประชาธิปไตยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร จำนวน 138,783 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 399 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับประสิทธิผลการส่งเสริมประชาธิปไตยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการส่งเสริมประชาธิปไตยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า มีความแตกต่างกันด้านการผลิต และด้านประสิทธิภาพ และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการส่งเสริมประชาธิปไตยของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพรพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/475 การปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่น อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2024-08-01T14:29:21+07:00 Naruepol Poolsuk blues-sky@windowslive.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณาบริบทการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อระบุปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และ (3) เพื่อเสนอแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน ได้แก่ ข้าราชการส่วนภูมิภาค และ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่มีภูมิลำเนา ผลการวิจัย (1) ด้านบริบทการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าใช้หลักเกณฑ์ของ (ก) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ส่วนที่ 3 หน้าที่ของเทศบาล บทที่ 1 เทศบาลตำบล (ข) พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของสภาตำบล (2) ด้านปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นต่อประชาชน พบปัญหาทั้งหมด ดังนี้ (ก) ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (ข) ด้านการป้องกันโรคติดต่อ (ค) ด้านการสนับสนุนการศึกษา (3) ด้านเสนอแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่น อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ภายใต้พระราชบัญญัติ มาจากพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496 มาตรา 50 นักการเมืองท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้ (ก) การรักษาความสงบเรียบร้อย (ข) การจัดการคมนาคม (ค) การบรรเทาสาธารณภัย (ง) การป้องกันโรคติดต่อ (จ) การสนับสนุนการศึกษา (ฉ) การส่งเสริมศาสนา ช) การพัฒนา เด็กสตรี คนชรา ผู้พิการ (ซ) การบำรุงรักษา ทรัพยากร ธรรมชาติ (ฌ) การบำรุงรักษาวัฒนธรรม (ญ) การบำรุงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น</p> 2024-08-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์