วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS <p>วารสารมีนโยบายฯ รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการในด้านการจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมืองการปกครอง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย</p> ชมรมการบริหารสาธารณะ th-TH วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ 2985-0398 คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/989 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณนาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อระบุปัญหาที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต การทำงานของบุคลากรสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 คน ได้แก่ บุคคลากระดับผู้บริหาร และบุคลากรระดับปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัย พบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทำงาน (ก) ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (ข) ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย (ค) ด้านโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ (ง) ด้านความเจริญเติบโตและความมั่นคง (จ) ด้านการบูรณาการทางสังคม (ฉ) ด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน (ช) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน (ซ) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (2) ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงาน (ก) ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (ข) ด้านสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย (ค) ด้านโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ (ง) ด้านการบูรณาการทางสังคม (จ) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน (3) แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน (ก) ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (ข) ด้านสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย (ค) ด้านโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ (ง) ด้านการบูรณาการทางสังคม และ(จ) ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน</p> ดิศพงศ์ ประมงวัฒนา Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-30 2025-04-30 3 1 หน้า 1 12 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/1017 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินผลประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (3) เพื่อพยากรณ์และนำเสนอ แนวทางของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 376 คน ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไร่ใหม่โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย (1) ประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่และประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูง และ (3) ปัจจัยในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นส่งผลต่อประสิทธิผลจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> วิลันดา พรหมแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-30 2025-04-30 3 1 หน้า 13 25 การจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/1039 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากพนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 205 คน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวและค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ระดับประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความเห็นของพนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีอายุ ระดับการศึกษาและอายุการทำงาน แตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแตกต่างกัน และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง</p> Nutnicha Thiengtaisong Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-30 2025-04-30 3 1 หน้า 26 37 การจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัล https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/1040 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัล (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัลกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการ (3 ) เพื่อนำเสนอรูปแบบของการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัลการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ จำนวน 278 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียรสันและสมการถดถอยเชิงพหุผล การวิจัยพบว่า (1) ด้านการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัล พบว่าอยู่ในระดับ มาก 4.04 (2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัลกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการ พบว่า เป็นเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ (3) ด้านรูปแบบของการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัลพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการสามารถพยากรณ์ การจัดการคุณภาพการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ยุคดิจิทัลได้ร้อยละ 73.4 โดยมีตัวแปรพยา กรณ์คือ การวางแผนภาวะผู้นำ การจัดองค์การและทักษะทางดิจิทัล</p> Pawit Wangpradit Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-30 2025-04-30 3 1 หน้า 38 48 การจัดการในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการของข้าราชการ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/1057 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ (1) เพื่อประเมินการจัดการในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการของข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร รวมทั้งสิ้น 136 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการของข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการกับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวก (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการ สามารถพยากรณ์และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติราชการของข้าราชการสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ได้ร้อยละ 60.7 ส่วนที่เหลือเป็นปัจจัยอื่น ๆ ปัจจัยประกอบด้วย พฤติกรรมการปฏิบัติงาน การวางแผน ด้านทัศนคติต่อการทำงาน</p> สุปราณี ยาเลิศ Copyright (c) 2025 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-30 2025-04-30 3 1 หน้า 49 60