วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS <p>วารสารมีนโยบายฯ รับตีพิมพ์บทความวิจัย บทความวิชาการในด้านการจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ การเมืองการปกครอง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย</p> th-TH journalips01@gmail.com (ดร.อำนวย บุญรัตนไมตรี) journalips01@gmail.com (ดร.สุพัตรา ยอดสุรางค์) Tue, 31 Dec 2024 22:57:23 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/640 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากพนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 205 คน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวและค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ระดับประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความเห็นของพนักงานส่วนท้องถิ่น พนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอายุการทำงาน แตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแตกต่างกัน และ(3) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมและประสิทธิผลการจัดการความเสี่ยงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง</p> Nutnicha Thiengtaisong Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/640 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/661 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายไปปฏิบัติและการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากตัวแทนสถานประกอบการในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 จำนวน 400 คน โดยวิธีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) การจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก (2) การจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของผู้สถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานคร ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อ จำแนกด้วย ลักษณะประชากร ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านรายใด้ แต่เมื่อจำแนกด้วย ลักษณะประชากร ด้านระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมของสถานประกอบการ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 กรุงเทพมหานครกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมเป็นเชิงบวกในระดับปานกลาง ค่อนข้างสูง</p> Yongrudee Srinual Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/661 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/680 <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p> <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ในพื้นที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 142 คน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียวและค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยประกอบด้วย (1) ด้านระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ความเห็นของผู้ผลิต และผู้ประกอบการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ในพื้นที่อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับ ระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ไม่แตกต่างกัน (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและระดับประสิทธิผลของโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก</p> Siriporn Topitak Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/680 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 สมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/672 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์</p> <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที ค่าเอฟ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับมาก (2) ประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไม่แตกต่างกัน (3) การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลและสมรรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวก</p> Col. Wasana Klaikaew Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/672 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ไปปฏิบัติ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/679 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ไปปฏิบัติ (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ กับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 230 คน ได้แก่กลุ่มผู้ประกอบการเกษตรมูลค่าสูงเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย (1) การนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับมาก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติ กับปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี สามารถพยากรณ์ การนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรี ได้ร้อยละ 87.6 ประกอบด้วย รูปแบบการนำนโยบายส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงของจังหวัดปราจีนบุรีไปปฏิบัติประกอบด้วยปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ มาตรฐานของนโยบาย คุณลักษณะของ อบจ. ปราจีนบุรี สภาพเศรษฐกิจและสังคมการเมือง การมีส่วนรวมดำเนินการ การมีส่วนร่วมรับประโยชน์ </p> Sukanya Rueangrup Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการรัฐศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JIPS/article/view/679 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700