https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/issue/feed
วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)
2025-06-30T19:23:56+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรธิดา หยูคง
jeeranan.s@psu.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (</strong><strong>Journal of Learning and Organization Development: JLOD)</strong></p> <p><strong>ISSN XXXX-XXXX (Online)</strong></p> <p>จัดทำโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่แบบออนไลน์ ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนคณาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ นักวิชาการ และนักวิจัยทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ในการนำเสนอผลงานวิชาการ โดยมีขอบเขต ดังนี้ 1) การวิจัยในชั้นเรียน 2) การวิจัยจากงานประจำ (R2R) 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร 4) การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานหรือนวัตกรรมการทำงาน และ 5) อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางาน </p> <p>ผลงานทางวิชาการที่รับพิจารณาตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิชาการ และบทความวิจัย ซึ่งต้องเป็นต้นฉบับที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น <strong>บทความทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และผ่านการประเมินคุณภาพ (</strong><strong>Peer reviewed) จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Reviewer) ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ท่าน</strong> โดยการประเมินเป็นแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้ประเมินและผู้นิพนธ์ (Double - blind peer review)</p> <p><strong>*หมายเหตุ:</strong> <em>ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</em></p>
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/article/view/379
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
2025-01-06T10:12:17+07:00
เจ๊ะมีน๊ะ รองเดช
jemena.r@hy.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริง มีกลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนห้วยยอด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน เป็นนักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นกระตุ้น (Stimulation) 2) ขั้นเรียนรู้และปฏิบัติตามคำชี้แนะ (Action and Coaching) 3) ขั้นระดมความคิด (Brainstorm) 4) ขั้นเชื่อมโยงความรู้สู่ชีวิตจริง (Connections to real life) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) 6) ขั้นสะท้อนคิด (Reflection) ทั้งนี้ ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบระดมพลังสมองเสริมประสบการณ์ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/article/view/395
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
2025-02-14T17:10:18+07:00
ธงชัย จันทร์กระจ่าง
thongchaij57@gmail.com
ทัศนะ ศรีปัตตา
thongchaij57@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษา ความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 317 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 37 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และครู 280 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 56 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ<br />เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการองค์การ รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพของผู้นำนวัตกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านทักษะของผู้นำนวัตกรรม 2) ความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้บริหารภายในองค์การนวัตกรรม รองลงมา คือ ด้านการจัดการโครงสร้างการบริหารภายในองค์การนวัตกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านบรรยากาศการดำเนินงานภายในองค์การนวัตกรรม และด้านวัฒนธรรมการดำเนินงานภายในองค์การนวัตกรรม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r = 0.940**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/article/view/419
การส่งเสริมทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา โดยใช้แนวคิดพหุปัญญา
2025-02-17T15:03:22+07:00
ธนศักดิ์ จันทศิลป์
thanasak87@gmail.com
คณาพจน์ ใจรื่น
thanasak87@gmail.com
วราพรรณ เจนจิตร์
thanasak.cha@ku.th
อัจฉราภรณ์ วรานนท์จิราโชติ
thanasak.cha@ku.th
พลกฤษณ์ รัตนาภรณ์
thanasak.cha@ku.th
นันทิกานต์ สุ่มสังข์
thanasak.cha@ku.th
ไปรยาทัศน์ นิยมพงษ์
thanasak.cha@ku.th
กนกวรรณ โทบุดดี
thanasak.cha@ku.th
เยาวลักษณ์ ศรีกล่ำ
thanasak.cha@ku.th
<p>การพัฒนาผู้เรียนวัย 0-7 ปี ให้มีศักยภาพและสามารถปรับตัวในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องพัฒนาทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต เป็นพื้นฐานของชีวิตให้สามารถต่อยอดในการเรียนรู้ด้านวิชาการและการดำเนินชีวิตได้ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมการส่งเสริมทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการการศึกษาพหุภาษา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาโดยใช้แนวคิดพหุปัญญาที่พัฒนาขึ้นในกลุ่มตัวอย่างผ่านการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 92 คน จากจำนวนประชากร 120 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในกิจกรรมพัฒนาทักษะการคิดด้วย EXECUTIVE FUNCTIONOF ปีการศึกษา 2566 ด้วยเครื่องมือการวิจัยคือ การส่งเสริมทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดพหุปัญญา และแบบประเมินทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต เพื่อการบริหารจัดการชีวิต (Executive Function) (KU-THEF) ใช้สถิติ <em>t</em>-test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าคะแนนทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดพหุปัญญาที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิตของผู้เรียน</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/article/view/1156
ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เพื่อส่งเสริมแนวคิดทางเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)
2025-05-20T00:12:31+07:00
ฟิรยาน มะลือกะ
liwan.att@gmail.com
อรรถพล ลิวัญ
liwan.att@gmail.com
ฮามีด๊ะ มูสอ
hamida.m@psu.ac.th
จรีรัตน์ รวมเจริญ
liwan.att@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบแนวคิดทางเคมีก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ที่มีต่อจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพกลุ่ม 4 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา แบบทดสอบเรื่องปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แบบวัดแนวคิดทางเคมี และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์และแนวคิดทางเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นักเรียนมีระดับความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JLOD/article/view/1157
การใช้เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา)
2025-05-20T08:48:55+07:00
คัมภิรา ทองหนู
mareekee.m@psu.ac.th
มารีกี มะเด็ง
mareekee.m@psu.ac.th
อับดุลรอพา สาแล
mustopa3@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ปีการศึกษา 2567 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบ 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลาสัปดาห์ละ 2 คาบ รวม 8 คาบ คาบละ 50 นาที สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากได้รับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า เทคนิคการตั้งคำถามแบบหมวกหกใบสามารถพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีผลการทดสอบก่อนเรียน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 3.37 และผลการทดสอบหลังเรียน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 3.95 จากการวัดการทดสอบด้วยค่า t (t-test dependent) เท่ากับ 10.49</p>
2025-06-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารพัฒนาการเรียนรู้และองค์กร (JLOD)