https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JMSNSTRU/issue/feed
วารสารวิชาการคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
2024-12-06T12:42:07+07:00
ดร.โสภณ ชุมทองโด
manage@nstru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารนี้รับตีพิมพ์บทความวิจัยครอบคลุมศาสตร์ต่างๆ ทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ บัญชี บริหารธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก การจัดการ บริหารทรัพยากร มนุษย์ การตลาด คอมพิวเตอร์ธุรกิจ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม สื่อสารมวลชน และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสหวิทยาการจัดการ</strong></p>
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JMSNSTRU/article/view/684
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2024-12-06T10:13:34+07:00
เดชชาติ ตรีทรัพย์
Detchat8932@gmail.com
สุฑารัตน์ บุญมี
Detchat8932@gmail.com
<p>สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ของประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1,870 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน .05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นแบบสอบถามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .803 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t- test) One - Way ANOVA หรือ (F- test) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า โดยรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการลดปริมาณขยะมูลฝอย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย ส่วนด้านการใช้ประโยชนจากขยะมูลฝอย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ของประชาชนที่มีเพศต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่มีเพศต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่มีอายุต่างกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัญหาพบว่า ไม่มีการรณรงค์ในการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่มีการเก็บขยะไปขาย ไม่มีการนำขยะเก่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่มีงบประมาณด้านการจัดการขยะมูลฝอยให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนไม่มีเครือข่ายการจัดการขยะของชุมชน ไม่มีการนำวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายง่ายมาใช้ประโยชน์ ไม่มีการแยกถังขยะอย่างถูกต้อง ไม่มีการให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะและไม่มีความรู้เรื่องการแยกขยะ แนวทางแก้ไขปัญหา ควรมีการรณรงค์นำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรมีการเก็บขยะไปขาย ควรมีการนำขยะเก่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ควรจัดงบประมาณด้านการจัดการขยะมูลฝอยให้กับหมู่บ้านหรือชุมชน ควรจัดตั้งเครือข่ายการจัดการขยะของชุมชน ควรนำวัสดุที่เป็นธรรมชาติย่อยสลายง่ายมาใช้ประโยชน์ ควรมีการแยกถังขยะอย่างถูกต้อง ควรมีการให้คำแนะนำในการคัดแยกขยะ ควรให้ความรู้เรื่องการแยกขยะ</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JMSNSTRU/article/view/685
การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคลองบางบอน กรุงเทพมหานคร
2024-12-06T10:32:22+07:00
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์
narong.p@rmutp.ac.th
พิมพ์พัชชา หยิมการุณ
bangkurud2558@hotmail.com
<p>การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคลองบางบอน กรุงเทพมหานคร<strong> </strong>เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) เครื่องมือวิจัย คือ การจัดเวทีเสวนา การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ร่วมกันของนักวิจัยและกลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคลองบางบอน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า จากการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคลองบางบอน กรุงเทพมหานคร มีความร่วมมือในการดำเนินงาน มีความเสียสละ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่วนรูปแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พบว่า ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ (มผช.) นั้น สมาชิกกลุ่มต้องมีความรู้ความเข้าใจและความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นปัจจัยหลัก และมีกระบวนการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมแก่การพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมและยอมรับของสมาชิกกลุ่ม ประกอบกับการดำเนินการเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะต้องสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานโดยมีการตรวจสอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในทุกขั้นตอน</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JMSNSTRU/article/view/686
การสร้างความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคี: กรณีศึกษาวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
2024-12-06T10:44:21+07:00
พระมหาชัยทกร พูลกิ่ง
kumpanchainit@gmail.com
อรุณ ไชยนิตย์
kumpanchainit@gmail.com
อรอนงค์ แตงอ่อน
kumpanchainit@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลการสร้างความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคี 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสร้างความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคี และ 3) แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคีที่มีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยแบบผสมระหว่างเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปและการวิเคราะห์ด้วยการตีความประเด็นการศึกษา และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ชุมชนโรงเรียนวัดชลประทานสงเคราะห์ ชุมชนโรงเรียนวัดชลประทานวิทยา และเทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าเท่ากับ 0.85 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br>t-test, F- test และ Pearson Correlation</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการสร้างความร่วมมือ ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคี อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความร่วมมือในการวางแผน ด้านความร่วมมือในการดำเนินงาน ด้านความร่วมมือในผลประโยชน์ และด้านความร่วมมือในการติดตามประเมินผล เป็นแนวทางการปรับปรุงพัฒนาในการดำเนินกิจกรรมสร้างความสามัคคีประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสร้างความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคี อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการมีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านความพึงพอใจ และด้านแรงจูงใจ เป็นการสร้างความผูกพันที่ปราศจากความขัดแย้งต่อกัน ซึ่งเป็นกระบวนการการสร้างความร่วมมือให้เกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ และ 3) แนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เกิดความรักและความสามัคคี ควรมี การสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพต้องอาศัยปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายประการที่จะสามารถโน้มน้าว ชักจูงและเสริมสร้างให้เกิดความสำเร็จในความร่วมมือ โดยการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลการดำเนิน พร้อมทั้งการสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานที่จะเป็นแรงจูงใจให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JMSNSTRU/article/view/687
การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
2024-12-06T12:37:26+07:00
อรุณ ไชยนิตย์
kumpanchainit@gmail.com
อรอนงค์ แตงอ่อน
onanong.0419@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะต่อความพึงพอใจการบริการของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง วิธีดำเนินการวิจัยทางการสำรวจความคิดเห็น (Survey Research) ประชาชนที่เข้ารับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ทำแบบสอบถาม จำนวน 400 คน โดยใช้การพรรณนาความ (Descriptive) ข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ จำนวน 15 คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าด้าน ขั้นตอนการให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการในองค์การบริหารส่วนในภาพรวมด้านขั้นตอนการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.84) ด้านช่องทางการให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองในภาพรวมด้านช่องทางการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.86) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.89)และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการในองค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.88) ผลการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จากการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน นำเสนอผลการประเมินในภาพรวมมีดังนี้</p> <p>ด้านขั้นตอนการให้บริการ พบว่าการลดขั้นตอนในการทำงานด้านต่างๆ การทำงานร่วมกับชุมชนได้มีการประสานกับผู้นำท้องถิ่นในการทำกิจกรรม มีการประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ ให้กับประชาชนทราบเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยการมีส่วนร่วมกับประชาชนด้านช่องทางการให้บริการ พบว่ามีการให้บริการหลากหลายช่องทางมีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทันสมัยมีอินเตอร์เน็ตให้บริการประชาชนในด้านต่างๆ และมีสื่อโฆษณาประเภทป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ กล่องความคิดเห็น และหน่วยบริการเคลื่อนที่บริการตามชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาขอรับบริการด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ พบว่า เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง มีการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ได้ดี มีการให้ความช่วยเหลือหรือข้อมูลในสิ่งที่ต้องการ และมีจิตใจในการที่จะสร้างความพึงพอใจแก่ผู้มารับบริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า มีสถานที่ในการให้บริการอย่างพอเพียง มีสถานที่จอดรถ สถานที่รับรองให้ผู้รับบริการเข้ามาใช้บริการ สุขา รวมถึงอุปกรณ์สิ่งของที่ประชาชน จำเป็นต้องใช้ในการเข้ามาติดต่อ</p>
2024-12-06T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024