https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/issue/feed
วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
2025-06-23T17:22:34+07:00
Open Journal Systems
<p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</strong><strong>Aim and Scope) <br /></strong> วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม (Journal of Organizational Management and Social Development) ISSN: 3027-7507 (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขารัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการ สาขาศึกษาศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ ปีละ 2 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม (Journal of Organizational Management and Social Development) มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย และบทความวิชาการ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย และบทความวิชาการ (ภาษาไทย) บทความละ 3,500 บาท<br /> 2) บทความวิจัย และบทความวิชาการ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 5,000 บาท<br /> โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน</li> <li>บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</li> </ol> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) </li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์</li> <li>เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์<br /></strong> ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ฯลฯ) e-mail: ad-jomsd24@outlook.com โทร: 081-8722268 (ดร.ยุทธพล ทวะชาลี: บรรณาธิการ)</p>
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/925
การพัฒนาวัดเพื่อการสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย
2025-03-29T16:25:52+07:00
พระเทพวัชรสิทธิเมธี
wachira2507@gmail.com
พระมหาพิจิตร ธมฺมวิจิตฺโต
wachira2507@gmail.com
ภัชชาวีร์ รัตนใหม่
wachira2507@gmail.com
<p>บทความนี้มุ่งนำเสนอปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของประเทศไทยและนำเสนอทางออกเพื่อการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวคือการสร้างชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย โดยการนำเสนอตัวแบบเพื่อสร้างวัดส่งเสริมสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ปัญหาสำคัญของผู้สูงวัยในขณะนี้คือการมีระบบรองรับสังคมผู้สุงวัยไม่เพียงพอ และการขาดความพร้อมในการเข้าสู่ช่วงวัยเกษียณได้อย่างมีคุณภาพ วัดนับเป็นสถานบันที่มีในทุกพื้นชุมชนของประเทศ หากสามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่ดูแลแก้ปัญหาผู้สูงวัย จะช่วยสนับสนุนการสร้างชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย ซึ่งแนวทางการสร้างวัดส่งเสริมสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การพัฒนาวัดส่งเสริมสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงวัยได้อย่างมีคุณภาพ 2) การมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพัฒนาวัดที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัยของชุมชน และ 3) การสนับสนุนขององค์กรภาครัฐ</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1104
การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคดิจิทัลของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมการเคลือบ
2025-05-17T17:49:15+07:00
ญาณวดี มณีโชติ
yanawadee170@gmail.com
บุษกร วัฒนบุตร
yanawadee170@gmail.com
วงศ์วิศว์ หมื่นเทพ
yanawadee170@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคดิจิทัลของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมการเคลือบ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุก่อสร้าง การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานและความสามารถที่จำเป็นของหัวหน้างาน ดังนั้นการพัฒนาทุนมนุษย์จึงต้องเน้นทั้งทักษะด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำในบริบทดิจิทัล บทความนี้นำเสนอหัวข้อนวัตกรรม การพัฒนาทุนมนุษย์ การพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคดิจิทัลของหัวหน้างาน และการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคดิจิทัลของหัวหน้างานในโรงงานอุตสาหกรรมการเคลือบ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ในมิติที่หลากหลายสามารถเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในภาคอุตสาหกรรมการเคลือบได้</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1160
มุมมองรัฐศาสตร์เชิงพุทธ: แนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสังคมไทย
2025-06-02T15:40:46+07:00
พระมหาพิสิฐ สืบนิสัย
pisit.sueb@mcu.ac.th
พระมหาภิรัฐกรณ์ อังสุมาลี
pisit.sueb@mcu.ac.th
พระมหาโยธิน โยธิโก
pisit.sueb@mcu.ac.th
ภาณุวัฒน์ จันทาพูน
pisit.sueb@mcu.ac.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของรัฐศาสตร์เชิงพุทธ พร้อมเสนอแนะแนวทางการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยวิเคราะห์จากกรอบแนวคิดหลักธรรมาธิปไตย ซึ่งเน้นธรรมะเป็นหลักสำคัญในการปกครอง และอ้างอิงถึงหลักธรรมสำคัญในพระไตรปิฎก เช่น หลักทศพิธราชธรรม หลักจักรวรรดิวัตร หลักราชสังคหวัตถุ หลักกุศลกรรมบถ หลักอปริหานิยธรรม และหลักพรหมวิหารธรรม การศึกษาครั้งนี้พบว่ารัฐศาสตร์เชิงพุทธสามารถช่วยเสริมสร้างผู้นำที่มีคุณธรรม ส่งเสริมคุณธรรมในประชาชน สร้างความเสมอภาค และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/848
การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุค Thailand 4.0 โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุทัยธานี ชัยนาท
2025-03-21T15:10:04+07:00
ไปรยา สุชัยรัตน์
pairaya.such@northbkk.ac.th
อุทัยวรรณ สายพัฒนะ
Pairaya.such@northbkk.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคThailand 4.0 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท 2) เปรียบเทียบสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคThailand 4.0 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท ปีการศึกษา 2567 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การพัฒนาตนเอง และการทำงานเป็นทีม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคThailand 4.0 โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคThailand 4.0 ดังนี้ (1) ความคิดเห็นของครูที่มีเพศต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการทำงานเป็นทีม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความคิดเห็นของครูที่มีอายุต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความคิดเห็นของครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติงานในขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/881
การพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดยาหม่องสมุนไพรต้าลี่หวัง ในเขตพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
2025-02-26T15:48:38+07:00
ทศพร ธรรมธนวณิช
pallanit.ub@northbkk.ac.th
บุษกร วัฒนบุตร
pallanit.ub@northbkk.ac.th
ตระกูล จิตวัฒนากร
pallanit.ub@northbkk.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาการตลาดของยาหม่องสมุนไพรต้าลี่หวัง ในเขตพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดยาหม่องสมุนไพรต้าลี่หวังในเขตพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ทำการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จากนั้นทำการสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อยืนยันนวัตกรรมทางการตลาดยาหม่องสมุนไพรต้าลี่หวัง ในเขตพื้นที่อำเภอ เบตง จังหวัดยะลา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาการตลาดของยาหม่องสมุนไพรต้าลี่หวัง ในเขตพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท อาชีพรับจ้างทั่วไป และเคยใช้ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านราคา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมทางการขาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ มีรูปร่าง ขนาด กลิ่น สวยงาม และมีความหลากหลาย ด้านราคามีราคา 150 – 250 บาท ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น Facebook Shopee และด้านการส่งเสริมการตลาด การให้โฆษณาประชาสัมพันธ์ ของแถม ในด้านการตลาด 5.0 ต้องการทำการตลาดด้วยข้อมูล การตลาดฉับไว การตลาดเชิงคาดการณ์ การตลาดเชิงบริบท การตลาดเสริมศักยภาพ และ 2) ผลการพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดยาหม่องสมุนไพรต้าลี่หวังในเขตพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่วนประสมทางการตลาด 4Ps และการตลาด 5.0 มีความสัมพันธ์กันคือ การทำการตลาดต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการให้สอดคล้องและเหมาะสมกับเทคโนโลยีตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป พบว่าทุกองค์ประกอบของการตลาด 5.0 มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ช่วยส่งเสริมให้ทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดมีศักยภาพมากขึ้น</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/936
พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองให้แก่ประชาชนของผู้บริหารในเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักสัปปุริสธรรม 7
2025-03-29T16:38:51+07:00
พระมหานันทพงศ์ กนฺตวรเมธี (สิมมาวัน)
nantapongsimmawan13343@gmail.com
สุรพล พรมกุล
nantapongsimmawan13343@gmail.com
สุธิพงษ์ สวัสดิ์ทา
nantapongsimmawan13343@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมสร้างการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองให้แก่ประชาชนของผู้บริหารในเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับการเสริมสร้างการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองให้แก่ประชาชนของผู้บริหารในเทศบาลนครอุบลราชธานี และ 3) นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการเสริมสร้างการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองให้แก่ประชาชนของผู้บริหารในเทศบาลนครอุบลราชธานี ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคลากรด้านพระพุทธศาสนา 2 รูป บุคลากรด้านรัฐศาสตร์ 2 คน บุคลากรด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น 5 คน บุคลากรด้านการปกครองส่วนท้องที่ 3 คน ทั้งหมดจำนวน 12 รูปหรือคน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสัปปุริสธรรม 7 กับการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง พบว่า หลักสัปปุริสธรรม 7 มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางพุทธบูรณาการเพื่อการเสริมสร้างการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง พบว่า (1) หลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งหรือคัดค้านกับประชาชน (2) สนับสนุนการรับรู้ทางการเมืองให้แก่ประชาชน (3) พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศ (4) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาค สุจริต (5) ให้ความสำคัญกับเวลาและตรงต่อเวลา (6) ควรรู้จักชุมชนสังคม เข้าใจบริบทชุมชนและสังคม (7) รู้ประเพณี วัฒนธรรม และการใช้ชีวิตของประชาชน</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/987
การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดกำแพงบางจาก
2025-03-29T16:25:19+07:00
ณัฐพงศ์ วิชัยดิษฐ์
natthaphong.wi@northbkk.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศิลปกรรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดกำแพงบางจาก 2) เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดกำแพงบางจาก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ วัด ชุมชน ผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 12 คน ซึ่งประกอบไปด้วย เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส พระลูกวัดที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อมูลเชิงศิลปกรรมไทย ในประวัติของวัด รวมไปถึงผู้นำชุมชน และผู้ประกอบการร้านค้าบริเวณวัด โดยผู้วิจัยจะทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แล้วนำมาวิเคราะห์ ตีความ และสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศิลปกรรมในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดกำแพงบางจาก ปรากฏหลักฐานทางศิลปะอยู่หลากหลายแขนง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่ภายในวัดกำแพงบางจาก ซึ่งถือเป็นศิลปกรรมอันทรงคุณค่าและบ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของพื้นที่ตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา จวบจนกระทั่งช่วงต้นของรัตนโกสินทร์ ร่องรอยหลักฐานทางศิลปกรรมที่สามารถนำมาเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่วัดกำแพงบางจาก ได้แก่ สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม 2) การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดกำแพงบางจากนั้น ได้ถูกออกแบบบนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างรู้คุณค่า และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวที่ห้ามพลาด ได้แก่ สักการะหลวงพ่อบุษราคัม และชมงานศิลปกรรมไทยประเพณี เรียนรู้วิถีชีวิตดั้งเดิมที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนคลองบางหลวง ชมของเล่นโบราณที่บ้านของเล่น เสพงานศิลปะที่บ้านศิลปิน สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ณ บ้านพึ่งศิลป์ นั่งเรือหางยาวชมบรรยากาศ สัมผัสวิถีชีวิตริมคลอง และลิ้มลองอาหารไทยโบราณ</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/928
พุทธบูรณาการเสริมสร้างความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
2025-03-29T16:39:05+07:00
พระณัฏฐชัย เขมปญฺญาเมธี (วังญาติ)
atthapol2441@gmail.com
สุรพล พรมกุล
atthapol2441@gmail.com
สุธิพงษ์ สวัสดิ์ทา
atthapol2441@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย ตามหลักสาราณียธรรม 6 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย และ 3) นำเสนอพุทธบูรณาการเสริมสร้างความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ตามหลักสาราณียธรรม 6 การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในเขตเทศบาลตำบลนาจะหลวย ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 380 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาจะหลวย จำนวน 12 รูป/คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรม 6 กับความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) พุทธบูรณาการเสริมสร้างความเสมอภาคทางสังคมให้แก่ประชาชนของผู้บริหารเทศบาลตำบลนาจะหลวย พบว่า (1) ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ (2) แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้ประชาชน (3) จัดกิจกรรมเสวนา ความเสมอภาคทางสังคม (4) สร้างจิตสำนึกให้ยอมรับและอยู่ร่วมกัน (5) ส่งเสริมการเคารพและรับฟังเหตุผล และ (6) เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็น</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/883
การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่า ในอำเภอชางหวู เมืองหวูโจว มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
2025-02-26T15:47:50+07:00
Liang Jialin
liang.ji@northbkk.ac.th
สยาม อัจฉริยประภา
liang.ji@northbkk.ac.th
ตระกูล จิตวัฒนากร
liang.ji@northbkk.ac.th
บุษกร วัฒนบุตร
liang.ji@northbkk.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่าในอำเภอชางหวู เมืองหวูโจว มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน และ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่าในอำเภอชางหวู เมืองหวูโจว มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนําเสนอเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่า พบว่า (1) สภาพปัจจุบัน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย ด้านการส่งเสริมการตลาดช่องทางออฟไลน์เป็นส่วนใหญ่ ด้านกระบวนการ ความล่าช้า ไม่ทันสมัย (2) สภาพปัญหา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ชาลิ่วเป่าให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ด้านการส่งเสริมการตลาดปรับตัวสู่การจำหน่ายออนไลน์และการขยายตลาดต่างประเทศในบางกรณี ด้านกระบวนการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (3) ความต้องการด้านการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่า ได้แก่ด้านกระบวนการ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาด และ 2) ผลการวิเคราะห์การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่า พบว่า การพัฒนาศักยภาพทางการตลาดต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนากระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทันสมัยและมีควรหลากหลาย และการพัฒนาส่งเสริมการตลาด โปรโมชั่น การใช้นักแสดง หรือบุคคลมีชื่อเสียง สามารถทำให้พัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดของธุรกิจชาลิ่วเป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/956
แนวทางการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์น้ำเมี่ยงคำกะปิหวาน (ตราเรือไทย) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านกระซ้าขาว ตำบลบ้านบ่อ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
2025-03-29T16:43:09+07:00
รัชนก ปัญญาสุพัฒน์
chaiyawit.m@bsru.ac.th
ชัยวิชญ์ ม่วงหมี
chaiyawit.m@bsru.ac.th
รัตนา บุญอ่วม
chaiyawit.m@bsru.ac.th
ปรียาภรณ์ สืบสวัสดิ์
chaiyawit.m@bsru.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำเมี่ยงคำกะปิหวาน (ตราเรือไทย) 2) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ในด้านคุณภาพ การตลาด และการสร้างแบรนด์ และ 3) ประเมินผลกระทบของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีต่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและชุมชนโดยรวม การศึกษานี้ใช้วิธีแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลจาก 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 30 คน กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 400 คน และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอีก 400 คน และ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการเปรียบเทียบก่อน-หลัง เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ คุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญกับรสชาติ ความสดใหม่ และความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งการประชาสัมพันธ์และการกระจายสินค้าที่สะดวกยังส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ 2) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรเน้นการยกระดับคุณภาพ การตลาดดิจิทัล และการสร้างแบรนด์ผ่านการเล่าเรื่อง ควบคู่กับการใช้ช่องทางออนไลน์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มความจดจำในกลุ่มผู้บริโภค 3) ผลการประเมินพบว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ช่วยเพิ่มยอดขาย รายได้ของกลุ่มวิสาหกิจ และความร่วมมือในชุมชนอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ตอกย้ำบทบาทของการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่ส่งผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1016
ความต้องการจำเป็นและแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย สำหรับวิทยาลัยชุมชน
2025-04-19T15:22:43+07:00
อุใบ หมัดหมุด
ubai_m@stcc.ac.th
เรวดี กระโหมวงศ์
ubai_m@stcc.ac.th
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
ubai_m@stcc.ac.th
เมธี ดิสวัสดิ์
ubai_m@stcc.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย สำหรับวิทยาลัยชุมชน 2) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย สำหรับวิทยาลัยชุมชน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์วิทยาลัยชุมชน จำนวน 359 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์วิทยาลัยชุมชน จำนวน 189 คน กำหนดขนาดโดยใช้สูตรของ Taro – Yamane ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ทรงุณวุฒิ จำนวน 12 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารหรือผู้แทนระดับสถาบันวิทยาลัยชุมชน 2) ผู้บริหารหรือผู้แทนระดับวิทยาลัยชุมชน 3) อาจารย์หรือนักวิชาการที่ปฏิบัติงานระดับอุดมศึกษา และ 4) หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ วิจัยและนวัตกรรม หรืออาจารย์ที่มีบทบาทตามพันธกิจด้านการวิจัยระดับวิทยาลัยชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย สำหรับอาจารย์วิทยาลัยชุมชน และ 2) แบบสัมภาษณ์แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วพรรณนาเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์วิทยาลัยชุมชน มีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยเรียงลำดับความสำคัญ คือ ด้านทักษะการวิจัย (PNI<sub>modified</sub> = 0.221) ด้านความรู้การวิจัย (PNI<sub>modified</sub> = 0.204) และด้านทัศนคติหรือคุณลักษณะ (PNI<sub>modified</sub> = 0.163) และ 2) ได้แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัย : กรอบ 7P เพื่อขับเคลื่อนวิทยาลัยชุมชน (CC-7P) ประกอบด้วย 7 แนวทาง ได้แก่ : 1) Policy Support : นโยบายส่งเสริมวิจัย 2) People Development : พัฒนาบุคลากรด้านวิจัย 3) Partnership Building : สร้างเครือข่ายการวิจัย 4) Platform & Mechanism : กลไกและแพลตฟอร์มสนับสนุน 5) Progress Recognition : เส้นทางและแรงจูงใจสู่ความก้าวหน้า 6) People Participation : การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 7) Pedagogical Integration : บูรณาการวิจัยกับการเรียนการสอนและบริการวิชาการ</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1063
การใช้เทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2
2025-05-28T22:45:19+07:00
อลีมิน เจ๊ะอีซอ
krualiminn@gmail.com
จรุณี เก้าเอี้ยน
jarunee.k@yru.ac.th
พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ
phimpawee.s@yru.ac.th
<p>การวิจัยนี้ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการใช้งานเทคโนโลยีในสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับของการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษา และเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ซึ่งกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณโดยใช้สูตรยามาเน่ (Yamane, 1973) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 337 คน สุ่มแบบชั้นภูมิโดยใช้ขนาดของสถานศึกษา และทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีกับ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การใช้งานเทคโนโลยีในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันเช่นเดียวกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = .927)</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1085
การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียวในอุทยานธรณีโลกสตูล
2025-05-17T17:48:50+07:00
ภูญดา เพชรรัตน์
phuyada.gems@yahoo.com
สมเกียรติ สายธนู
phuyada.gems@yahoo.com
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
phuyada.gems@yahoo.com
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์
phuyada.gems@yahoo.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ศักยภาพเชิงคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานธรณีโลกสตูล 2) ศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวสีเขียวในพื้นที่ 3) ประเมินความเต็มใจจ่าย ของนักท่องเที่ยวสำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวสีเขียว และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียวที่ส่งเสริมความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน งานวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ทั้งเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่าง 400 ราย จาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักท่องเที่ยว 200 ราย, กลุ่มผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 120 ราย, และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการท่องเที่ยวสีเขียว 80 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) อุทยานธรณีโลกสตูลมีศักยภาพสูงในการพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียว ให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์การยูเนสโกและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการสร้างเศรษฐกิจฐานรากควบคู่กันอย่างเป็นระบบ 2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แสดงให้เห็นว่า แบบจำลองมีความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตามที่ร้อยละ 62.4 (R² = 0.624) ถือว่าอยู่ในระดับสูงตามเกณฑ์ของ Cohen (1988) ที่กำหนดว่า R² มากกว่าร้อยละ 50 ถือว่ามีความสามารถในการพยากรณ์ได้ดี 3) ผู้วิจัยเสนอให้จัดเก็บ Green Fee เฉลี่ย 150–200 บาท/กิจกรรม (จากค่าเฉลี่ยความเต็มใจจะจ่าย (WTP) ของนักท่องเที่ยวในกิจกรรมท่องเที่ยวสีเขียว อุทยานธรณีโลกสตูล ช่องค่าต่ำสุดที่ 150 บาท และ ช่องค่าสูงสุดที่ 200 บาท) 4) การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวสีเขียวควรเน้นการผสมผสานระหว่างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น ผ่านการสร้างแพ็คเกจทัวร์ที่ให้ประสบการณ์เชิงธรรมชาติ เช่น การพานักท่องเที่ยวไปศึกษาธรณีวิทยา การร่วมกิจกรรมกับชุมชนท้องถิ่น และการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1118
รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี
2025-05-29T10:29:30+07:00
วีระศักดิ์ บุญญดิษฐ์
verasak.boo@mcu.ac.th
เรวดี กระโหมวงศ์
verasak.boo@mcu.ac.th
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
verasak.boo@mcu.ac.th
เมธี ดิสวัสดิ์
verasak.boo@mcu.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี 2) เศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูลมี จำนวน 40 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่รับผิดชอบเรื่องการสร้างความเป็นพลเมืองให้กับนักเรียน ผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี จาก 9 โรงเรียน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสรุปเป็นประเด็นเพื่อตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาของเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การขาดทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การใช้เวลาส่วนใหญ่กับสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการขาดพื้นที่สร้างสรรค์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของเยาวชนในจังหวัดปัตตานี ควรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของเยาวชน 3) ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง ควรยึดหลักพหุวัฒนธรรม สันติวิธี และสิทธิมนุษยชน ผ่านการจัดกิจกรรมที่ใช้สถานการณ์จริงและบริบทท้องถิ่นจะช่วยให้เยาวชนตระหนักถึงบทบาทความรับผิดชอบในฐานะ “พลเมืองดี” ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งควรส่งเสริมบทบาทครูในฐานะ “ผู้อำนวยความสะดวก” มากกว่า “ผู้สอน” บูรณาการหลักสูตรในโรงเรียนกับกิจกรรมของชุมชน ตลอดจนพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้ที่เน้นทักษะชีวิต ประชาธิปไตย และคุณธรรมจริยธรรม</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1083
การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาในเมืองหนานหนิง มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
2025-05-05T14:06:38+07:00
Yadan Luo
yadan.luo@northbkk.ac.th
สยาม อัจฉริยประภา
yadan.luo@northbkk.ac.th
ตระกูล จิตวัฒนากร
yadan.luo@northbkk.ac.th
บุษกร วัฒนบุตร
yadan.luo@northbkk.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาในเมืองหนานหนิง และ 2) พัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษาในเมืองหนานหนิง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 18 คน การสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 6 คน เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นในการพัฒนากลยุทธ์การตลาด ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนําเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาและความต้องการ ได้แก่ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ หลักสูตรมีหลายสาขาวิชาตรงต้องการ ความร่วมมือกับภาคธุรกิจ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และหลักสูตรมีความยืดหยุ่น (2) ด้านราคา มีความคุ้มค่ากับคุณภาพของหลักสูตร (3) ด้านช่องทางการจำหน่าย มีช่องทางออนไลน์ออฟไลน์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) ด้านการส่งเสริมการตลาด การใช้สื่อโซเซียลในการประชาสัมพันธ์อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ (5) ด้านบุคลากร มีความรู้ความสามารถในการสอนที่ทันสมัย การตลาด ความรู้ทางวิชาชีพ และวิจัย (6) ด้านกระบวนการ ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อความรวดเร็ว และ (7) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ โครงสร้างพื้นฐานทันสมัยส่งเสริมการเรียนการสอนต่าง ๆ 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของสถาบันอาชีวศึกษา ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการ (2) กลยุทธ์ด้านราคา คือ การกำหนดราคาที่เหมาะสม (3) กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือ รูปแบบช่องทางออนไลน์ การจัดกิจกรรมนอกสถานที่ (4) กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด คือ ใช้โซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูล 5) กลยุทธ์ด้านบุคลากร คือ มีความสามารถด้านพัฒนาทักษะ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและนักเรียน 6) กลยุทธ์ด้านกระบวนการ คือ การพัฒนาบุคลากร ระบบแพลตฟอร์ม ระบบให้การบริการ โครงสร้างการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น และ 7) กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ เหมาะสมกับผู้เรียน</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1069
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษากับการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2025-05-17T16:47:21+07:00
นัฐวุฒิ จินดาวงศ์
nattawut.j@psu.ac.th
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา 2) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา และ 3) การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา จำแนกตามระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เดิม (Retrospective study) โดยเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและในระดับปริญญาตรี และข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษาของนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาในปี 2563-2565 จำนวน 1,905 คน ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของชุดข้อมูล ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก และนักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีมากขึ้นจากระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าก่อนเข้าศึกษาในคณะวิทยาการจัดการ 2) นักศึกษาส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมประเภทกิจกรรมมหาวิทยาลัยในชั้นปีที่ 1 มากที่สุด และกิจกรรมประเภทเลือกเข้าร่วมตามความสนใจที่นักศึกษาเข้าร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ด้านเสริมสร้างสติปัญญา ทักษะทางสังคม วิชาการและวิชาชีพ (2) ด้านเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยและความภูมิใจในสถาบัน และ (3) ด้านเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาพ และนันทนาการ ตามลำดับ 3) นักศึกษาที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับสูงมีชั่วโมงการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษาอยู่ในระดับสูงด้วย</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1080
การบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพัทลุง
2025-06-07T18:04:47+07:00
กันฐกาญจน์ แก้วศรีขาว
muttaneeya510@gmail.com
พระครูสุเมธปริยัติคุณ
muttaneeya510@gmail.com
กษมา ศรีสุวรรณ
muttaneeya510@gmail.com
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพัทลุง 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพัทลุง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง 15 คน และผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการวางแผนงานบุคคล มีการดำเนินการวางแผนทรัพยากรบุคคล โดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ภาระงานและเป้าหมายของศูนย์เป็นหลัก (2) ด้านการสรรหาและคัดเลือก มีการสรรหาดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ควบคู่กับการประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด (3) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการกำหนดดัชนีชี้วัด (KPI) ที่สอดคล้องกับพันธกิจของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ (4) ด้านการจ่ายค่าตอบแทน มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นไปตามระเบียบราชการ และ (5) ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยที่ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้มีแนวโน้มสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพทั้งในรูปแบบออนไลน์และแบบเผชิญหน้า 2) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดพัทลุง ประสบผลสำเร็จในการสร้างความร่วมมือและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางแผนงานบุคคลที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากรและมีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณธรรมและเหมาะสมกับองค์กร สิ่งเหล่านี้ช่วยให้บุคลากรมีความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น และมีความพึงพอใจในองค์กรสูงขึ้น</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1079
พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในยุคดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์
2025-05-05T14:07:07+07:00
วิฑูรย์ วีรศิลป์
witoon.wee@neu.ac.th
<p>การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในยุคดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในยุคดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของนักศึกษาในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จัดเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาไปน้อย ได้แก่ พบว่า การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลาการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และน้อยที่สุดคือประสบการณ์ 2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาในยุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ จัดเลียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ พบว่า การใช้สิทธิเลือกตั้ง การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา การจัดตั้งและเป็นสมาชิกกลุ่มการเมือง และน้อยที่สุดคือการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1161
การวิเคราะห์เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนเทศบาลนครขอนแก่นเขต 4
2025-05-29T09:32:25+07:00
พุทธธิดา ดิลกกัลยากุล
Pootthathida@gmail.com
จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
Pootthathida@gmail.com
จรัส ลีกา
Pootthathida@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิดเสรีภาพในปรัชญาการเมือง 2) เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเขต 4 และ 3) สังเคราะห์เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเขต 4 เป็นการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า (1) เสรีภาพในปรัชญาการเมืองหมายถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลในการแสดงความคิดเห็น การเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยไม่ถูกรัฐหรืออำนาจอื่นเข้ามาควบคุม แนวคิดนี้ถือเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่มุ่งเน้นความเท่าเทียม ความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมของพลเมืองในสังคม (2) เสรีภาพทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น เขต 4 สะท้อนให้เห็นถึงสิทธิในการเข้าร่วมการเลือกตั้ง แสดงความเห็นต่อประเด็นสาธารณะ และมีบทบาทในการกำหนดทิศทางนโยบายท้องถิ่น โดยไม่ถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐหรือกลุ่มมีอิทธิพล ซึ่งเป็นสัญญาณของความเข้มแข็งของประชาธิปไตยในระดับท่องถิ่น (3) อย่างไรก็ตาม แม้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสามารถแสดงความเห็นได้บ้าง แต่ยังมีข้อจำกัดด้านช่องทางการสื่อสาร การรับรู้ทางการเมือง และระดับความตื่นตัวของประชาชนที่ยังไม่ทั่วถึง ส่งผลให้บางกลุ่มไม่สามารถใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพทางการเมืองอย่างเป็นระบบจึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่นและสร้างความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชนอย่างยั่งยืน</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/1097
การพัฒนาวินัยนักเรียนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โรงเรียนบ้านห้วยมุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
2025-06-21T01:50:15+07:00
วลัยลักษณ์ สุขาทิพย์
walailakwork16@gmail.com
พระครูพิจิตรศุภการ
walailakwork16@gmail.com
มะลิวัลย์ โยธารักษ์
walailakwork16@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาวินัยนักเรียนบ้านห้วยมุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวินัยนักเรียนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 3) ประเมินผลการพัฒนาวินัยนักเรียนตามหลักสัปปุริสธรรม 7 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้ติดตามผล 22คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาวินัยนักเรียน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ความรับผิดชอบ โรงเรียนมีกฎระเบียบชัดเจนและจัดกิจกรรมส่งเสริม แต่บางคนยังขาดความตระหนักในหน้าที่ (2) ความเชื่อมั่นในตนเอง แม้โรงเรียนสนับสนุน แต่บางคนยังไม่กล้าแสดงออก กลัวความล้มเหลว (3) การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ นักเรียนบางส่วนยังมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือขาดแบบอย่างที่ดี (4) ความอดทน บางคนยังขาดการฝึกฝนหรือได้รับการตามใจมากเกินไป 2) ใช้วงจร PAOR<sub>2 </sub>ได้แก่ วางแผน ปฏิบัติ สังเกต และสะท้อนผล โดยรอบแรกวิเคราะห์จุดแข็ง-อ่อน กำหนดกิจกรรมตามหลักสัปปุริสธรรม 7 รอบสองปรับกิจกรรมตามผลประเมิน มีครูเป็นผู้นำและเสริมแรงจูงใจ และจัดประชุมสรุปแนวทางอย่างงยั่งยืน 3) ผลการพัฒนาวินัย พบว่า วินัยของนักเรียนหลังได้รับการพัฒนาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2025-06-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม