วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD
<p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</strong><strong>Aim and Scope) <br /></strong> วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม (Journal of Organizational Management and Social Development) ISSN: 3027-7507 (Online) มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขารัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการ สาขาศึกษาศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ ปีละ 2 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong> วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม (Journal of Organizational Management and Social Development) มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br /> - ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br /> - ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> เปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ <strong>โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</strong></p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน</li> <li>บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 2 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 2 ท่าน</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</li> </ol> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 2 ท่าน</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์</li> <li>เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์<br /></strong> ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ฯลฯ) e-mail: ad-jomsd24@outlook.com โทร: 081-8722268 (ผศ. ดร.เรียงดาว ทวะชาลี: บรรณาธิการ)</p>
ไทภิวัฒน์
th-TH
วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
3027-7507
-
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/464
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนกลุ่มผุ้ใช้รถใช้ถนนในเขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานจราจร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุ ด้านการประชุมจัดทำแผนการป้องกัน และด้านการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านการรับรู้บทบาท ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี พบว่า (1) ควรมีการจัดทำนโยบายแผนงานที่ชัดเจน (2) การสื่อสารที่ทันสมัยเพื่อแสวงหาข้อมูลอุบัติเหตุ (3) ประชุมร่วมกันจากภาคีเครือข่ายในการประสานความร่วมมือลดปัญหา (4) มีการสื่อสารในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ (5) นำพระราชบัญญัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (6) การปฏิบัติงานจัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน (7) รับฟังข้อคิดเห็นในการจัดทำแผนร่วมกับภาครัฐ (8) ซ่อมแซมถนนที่ชำรุดซ่อมแซมป้ายจราจรต่าง ๆ (9) มีการบริการแพทย์ฉุกเฉินไว้บริการประชาชนเมื่ออุบัติเหตุโดยเชื่อมโยงกับเครือข่าย</p>
ทรงพล โชติกเวชกุล
ชัยยันต์ คุณรักษ์
ไกรสร เดชสิมมา
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
2024-10-01
2024-10-01
4 2
1
10
-
หลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/465
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม 2) หลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนที่ส่งผลต่อหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม และ 3) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคมสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) หลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนที่ส่งผลต่อหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความโป่รงใส ด้านหลักความคุ้มค่า และด้านหลักนิติธรรม ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาหลักธรรมาภิบาลของผู้นำชุมชนกับการพัฒนาสังคม พบว่า (1) ต้องสร้างการมีส่วนในการตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่างๆ จัดทำหรือให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมต้องยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น (2) ควรสร้างหรือเปิดเผยข้อมูลการมีความยุติธรรมและการปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค (3) ควรมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย (4) สร้างความคิดสร้างสรรค์โดยการนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้และนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
สุวพิชญ์ บรรลือฤทธิ์
พระครูปลัดเอกพัน สิริวณฺณเมธี (อินจันทึก)
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
2024-10-01
2024-10-01
4 2
11
22
-
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน: กรณีศึกษาการปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยวของชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/463
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการของชุมชนที่ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการปลูกพืชหมุนเวียน และ 2) กระบวนการของชุมชนที่มีการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เกษตรตำบล ผู้นำชุมชน และประชาชนผู้ปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นแนวทางที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนแต่เพื่อให้การดำเนินการนี้ประสบความสำเร็จ ชุมชนต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในหลายด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านทุนการสนับสนุน ด้านท่อนพันธ์และปุ๋ยรวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชหมุนเวียน เทคนิคการดูแลพืช การใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างเหมาะสม 2) กระบวนการของชุมชนที่มีการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกมันสำปะหลังในนาข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว พบว่า การรวมกลุ่มจะทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำ ลดภาระงานของแต่ละคน และเพิ่มโอกาสในการจ้างงานในชุมชน การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังต้องใช้แรงงานมาก การรวมกลุ่มช่วยให้มีคนทำงานพร้อมกันในปริมาณมาก ทำให้การเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นได้เร็วขึ้นและเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดความสร้างความสามัคคีและเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน การทำงานร่วมกันจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและการพึ่งพากันในชุมชน</p>
พระมหาสมบัติ ฐานวโร
เอกรัตน์ มาพะดุง
พระวีรศักดิ์ จนฺทวํโส
พระครูสาธุกิจโกศล
พระปรัชญา ชยวุฑฺโฒ
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
2024-10-01
2024-10-01
4 2
23
32
-
แนวทางการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/467
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุข 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุข และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับด้านมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านงานบริการด้านสุขภาพ ด้านงานบริหาร และด้านงานวิชาการ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดำเนินงานด้านสาธารณสุขในเขตจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และ 3) แนวทางการกระจายอำนาจ พบว่า (1) ต้องกระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (2) สร้างกลยุทธ์และการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพสู่การปฏิบัติ (3) ตรวจสอบกระบวนการทุกขั้นตอน (4) นำกลยุทธ์ไปปรับใช้และวางแผนงานสู่การปฏิบัติ (5) กำหนดนโยบายหลักของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ (6) ส่งเสริมวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับนโยบาย (7) ดำเนินงานและการประเมินผลงาน และสรุปผลการประเมินร่วมกันอย่างเป็นระบบ (8) ประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการจัดสรรทุนหรืองบประมาณ และ (9) กระจายอำนาจให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างจริงจัง</p>
ภูกาญจนกฤษฎิ์ ปุลันรัมย์
ทรงพล โชติกเวชกุล
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
2024-10-01
2024-10-01
4 2
33
42
-
การบริหารจัดการร้านกาแฟต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐของผู้ประกอบการ (ร้านกาแฟ) ในเขตจังหวัดอุดรธานี
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JOMSD/article/view/462
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการร้านกาแฟต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐของผู้ประกอบการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการร้านกาแฟ และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการร้านกาแฟ ในเขตจังหวัดอุดรธานี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในจังหวัดอุดรานี จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าหน้าที่รัฐ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการร้านกาแฟ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบริหารจัดการร้านกาแฟต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐของผู้ประกอบการ โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านงบประมาณ ด้านการประสานงาน ด้านการวางแผน และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการร้านกาแฟ พบว่า (1) ควรมีการสร้างความพึงพอใจต่อการช่วยเหลือของภาครัฐในการแสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้านที่สามารถแสดงความคิดเห็นผ่านหลากหลายช่องทางต่างๆ (2) ผู้ประกอบการควรเข้าร่วมเวทีเสวนาของรัฐและลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กาแฟ (3) สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการร้านกาแฟด้วยกัน ในการสร้างพันธมิตรกับภาคีเครือข่ายในการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีการปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องของธุรกิจในกำกับดูแลระหว่างผู้ประกอบการและหน่วยที่เกี่ยวข้องที่มีประสิทธิผล</p>
ดนัย ลามคำ
ชัยยันต์ คุณรักษ์
ธนดล ประทุมชัย
Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการองค์กร และพัฒนาสังคม
2024-10-01
2024-10-01
4 2
43
52