https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/issue/feed วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2025-06-30T10:00:24+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สถาพร วิชัยรัมย์ sathaporn.wc@bru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวารสารที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหาร การจัดการ การบริหารท้องถิ่น และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนบทวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอทางออกในการแก้ปัญหาให้แก่สังคม โดยมีรูปแบบการตีพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 โดยมีกำหนดเผยแพร่วารสารฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) </p> https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/935 ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตครัวเรือนชนบทกับนโยบายเงินดิจิทัล ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 2025-03-15T11:29:33+07:00 ชานุโรจน์ คำพระสอน chanu09082545@gmail.com ทักษิณ ทาศรี basb7602@gmail.com ธวัชชัย ชานนท์ channththwachchay@gmail.com วีระศักดิ์ บุญเติม Weerasak30200@gmail.com อลงกต แผนสนิท pong.2551@gmail.com ปรารถนา มะลิไทย prathana.m08@gmail.com ประจวบ จันทร์หมื่น Prajuab21600@gmail.com <p>วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตครัวเรือนชนบทกับนโยบายเงินดิจิทัล ตำบลสำโรง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษโดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้เแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน380โดยวิธีการด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการ จับสลาก ที่ระดับความเชื่อ95%และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่รับได้0.05สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ยค่าร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Correlation Coefficient ทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยสถิติ Regression analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ (= 4.10) อยู่ในระดับมาก ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ( = 4.04) อยู่ในระดับมาก ด้านการเข้าถึงนโยบาย ( = 3.92) อยู่ในระดับมาก ด้านความต้องการขั้นพื้นฐาน ( = 3.88) อยู่ในระดับมาก ด้านการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ( = 3.82) อยู่ในระดับมาก ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ ( = 3.82) อยู่ในระดับมาก ด้านการอุปโภคบริโภค ( = 3.77)อยู่ในระดับมาก ด้านการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจในชุมชน ( = 3.73) อยู่ในระดับมาก ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ( = 3.72) อยู่ในระดับมาก ด้านที่อยู่อาศัย ( = 3.50) อยู่ในระดับมาก เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหูคุณเพื่อทำนายอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 6ด้านพบว่า ด้านการอุปโภคบริโภค (<em> </em>= .803) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (<em> </em>= .455) ด้านด้านความต้องการขั้นพื้นฐาน (<em> </em>= .366) ด้านที่อยู่อาศัย (<em> </em>= -.098) ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ (<em> </em>= -.116) ด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน (<em> </em>= -.146) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.5</p> <p>ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า ประชาชนในพื้นที่ยังประสบปัญหาด้านรายได้ภาครัฐจึงควรเพิ่มวงเงินค่าใช้จ่ายและสิทธิ์ในด้านต่างๆของนโยบายเงินดิจิทัล รวมทั้งการการพัฒนาแอปพลิเคชันในการใช้งาน รวมทั้งปรับปรุงการลงทะเบียน และการประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงคุณสมบัติการใช้สิทธิ์ และภาครัฐควรกำหนดเงื่อนไง ให้มีความชัดเจน</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/965 การยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2025-03-22T15:25:42+07:00 รัญธิดา สุธาคง ss0626818019@gmail.com ภิญญาพัชญ์ บุทธิจักร Phinyaphat908@gmail.com ลัคณา วงค์แสง stu6512866118@sskru.ac.th วนิดา พวงมะลิ stu6512866218@sskru.ac.th อลงกต แผนสนิท alonggote4@hotmail.com ปรารถนา มะลิไทย prathana.m08@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับและการเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้สูตรของผู้วิจัยใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของ Yamane (1937) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Correlation Coefficient และทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1.ระดับปัจจัยในการยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยาวพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก((𝑥̅ =4.66,S.D.=.407) เมื่อพิจารณาเป็นการรายงาน พบว่า ด้านการสร้างความเข้มเเข็ง ด้านบริหารจัดการทรัพยากรและด้านยกระดับมาตรฐานสินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการเพิ่มความสามารถอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</p> <p>2.ข้อเสนอแนะของการยกระดับและเพิ่มรายได้ภาคการเกษตรของเกษตรกรชาวสวนยาวพารา ในเขตพื้นที่ ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ควรมีการยกระดับยางพาราที่สูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้ที่มั่นคง และยั่งยืนในการเลี้ยงชีพได้</p> <p> ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยังขาดความรู้ความสามารถ ในการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มรายได้กับเกษตรกร และมีราคาขายที่ไม่เป็นธรรม หน่วยงานภาครัฐควรมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรรวมทั้ง สนับสนุนเครื่องมือเทคโนโลยีที่ช่วยในการแปรรูปเพื่อยกระดับสินค้าให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/710 การพัฒนาวิสาหกิจผ้าศรีลาวาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของ ชุมชนบ้านไฮ ตำบลตูม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 2025-01-03T09:19:45+07:00 จิตติมา จันทำ stu6412866211@sskru.ac.th อริสา แขวงสุข stu6412866125@sskru.ac.th อลงกต แผนสนิท prathana.m08@gmail.com ปราถนา มะลิไทย pong.p2551@gmail.com <p>การศึกษาเรื่อง การพัฒนาวิสาหกิจผ้าศรีลาวาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชน กรณีศึกษาบ้านไฮ ตำบลตูมอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาวิสาหกิจผ้าศรีลาวาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชนและมีแรงจูงใจในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าศรีลาวาของบ้านไฮ การศึกษานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการภายกลุ่มและการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการเสริมสร้างช่องทางการขาย รวมไปถึงการสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันในการตลาดออนไลน์ได้ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลจากสมาชิกลุ่มผ้าศรีลาวาบ้านไฮจำนวน 10 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยเริ่มจากการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาจัดระเบียบข้อมูล ได้แก่ การถอดความจากแบบสัมภาษณ์และการถอดเทปที่ได้จากการบันทึกเสียง แล้วจัดพิมพ์ข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม Microsoft Word ในการทำเป็นเอกสารจากนั้นจึงได้นำข้อมูลจาก Microsoft Word ที่ได้เรียบเรียงไว้แล้วเข้าสู่โปรแกรม ATLAS.ti แล้วทำการคัดเลือกข้อความสำคัญ กำหนดรหัส เพื่อจะได้แยกแยะและตีความ เพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลจากการศึกษาพบว่าในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจผ้าศรีลาวาบ้านไฮ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อโปรโมทสินค้าหรือการทำการตลาดสมัยใหม่รวมไปถึงการค้าแบบออนไลน์เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยให้มากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/675 การบริหารจัดการและบรรเทาอุทกภัย บ้านหนองหวาย บ้านหนองโอง ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 2024-12-05T09:02:01+07:00 ธวัชชัย เครือแก้ว tawatchaik@gmail.com เกตุสดา ใบแสง Ketsada.Baisaeng@gmail.com จิราภา ศรีไว jirapa050746@gmail.com ฐิติกานต์ พวงเกษ Thitikan04032@gmail.com อลงกต แผนสนิท prathana.m08@gmali.com ปราถนา มะลิไทย pong.2551@gmail.com <p>การศึกษาเรื่องการบริหารจัดการและบรรเทาอุทกภัยของประชาชนบ้านหนองหวาย บ้านหนองโองตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับประชาชนในเขตตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 280 โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของผู้วิจัยใช้ Yamane (1937) ที่ระดับความเชื่อ 95% และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความเฉลี่ยค่าร้อย ละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบ Accidental Sampling และทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยสถิติ Regression analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านผู้นำชุมชนอยู่ในระดับมาก( ¯x =4.07)รองลองมาด้านเครือข่าย(¯x =3.98) ด้านความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำ(¯x =3.96) ด้านผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย(¯x =3.91) ด้านบริหารจัดการและบรรเทาอุทกภัย (¯x =3.86) และด้านความต้องการจองประชาชนต่อการให้บริการด้านป้องกันอุทกภัย(¯x =3.77) เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหุคูณ เพื่อทำนายอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน พบว่าด้านเครือข่าย (β =.384) และด้านผู้นำชุมชน (β =.312) มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการและบรรเทาอุทกภัยบ้านหนองหวาย บ้านหนองโอง ตำบลโนนสัง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษอย่างน้อยมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่0.5</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่ายังขาดด้านผู้นำชุมชนในการประสานงานของผู้ใหญ่บ้านในการกระจายข้อมูลข่าวสารในการรับมือกับอุทกภัย</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/662 การศึกษาและวิเคราะห์การบริหารจัดการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา 2024-12-05T09:21:56+07:00 วิชญาดา มาเด็น witchan.jun@gmail.com วิชชาญ จุลหริก witchan.j30@icloud.com ภูชิสส์ ศรีเจริญ witchan.jun@gmail.com ชุติกาญน์ ปาระมี witchan.jun@gmail.com สมนึก เพชรช่วย witchan.jun@gmail.com <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ 1) การศึกษาและวิเคราะห์การบริหารจัดการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน ครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ.5 สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยภาพรวมรายด้าน ( = 3.73) และผลรวมรายด้าน ด้านความโปร่งใส อยู่ในระดับมาก ( = 3.78) ด้านความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมาก ( = 3.61) ด้านการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก ( = 3.81) ด้านความยุติธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.75) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ตามลำดับ</p> <p> ข้อเสนอแนะ การบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาภายใต้หลักธรรมาภิบาล ด้านการมีส่วนร่วมมากเป็นอันดับแรก ด้านความโปร่งใสเป็นอันดับรองลงมา ด้านความยุติธรรมเป็นอันดับรองสุดท้าย และด้านความรับผิดชอบเป็นอันดับสุดท้าย ฉะนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาควรกำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาให้มากขึ้น</p> <p> </p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/962 การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 2025-03-22T15:37:56+07:00 วิริทธิ์พล การเพียร 650112801069@bru.ac.th ปาริตา ศิริมา pasit0846@gmail.com พรนภา วงษ์สุรินทร์ 650112801090@bru.ac.th ภาวินี หล่อประโคน 650112801095@bru.ac.th สากล พรหมสถิตย์ sakon.pt@bru.ac.th <p>บทความวิจัยเรื่อง“การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์” นี้มีวัตถุประสงค์ 1)ระดับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาบาลของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และ2) ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 270 คน โดยใช้สูตรของ (Yamane,1973 : 727 ; โชติ บดีรัฐ,2561 : 141) และใชวิธีการสุมตัวอย่างแบบง่าย(Simple Random Sampling)</p> <p>เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ( = 4.06, S.D.=0.407) 2) ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามหลัก<br />ธรรมาภิบาลของบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/1152 ปริทัศน์หนังสือ การพัฒนาองค์การ 2025-05-20T11:11:52+07:00 จุฑามาศ พรหมทอง jutamat.pt@bru.ac.th <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;หนังสือ “การพัฒนาองค์การ” เล่มนี้เป็นผลงานที่ครอบคลุมทั้งเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ โดยนำเสนอองค์ความรู้ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและยกระดับศักยภาพขององค์การ เนื้อหาของหนังสือมีการเน้นแนวคิดของการพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งในด้านของบุคคล โครงสร้าง วัฒนธรรม และกลยุทธ์ โดยอิงจากแนวคิดและทฤษฎีสมัยใหม่ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ละบทมีลำดับเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การปูพื้นฐานแนวคิดการพัฒนาองค์การ การทำงานร่วมกับที่ปรึกษา การวินิจฉัยองค์กรอย่างเป็นระบบ ไปจนถึงการออกแบบกิจกรรมพัฒนาองค์การที่ตอบโจทย์เฉพาะด้าน ทั้งในเรื่องของบุคลากร วัฒนธรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์องค์กร พร้อมด้วยการประเมินผลและการรักษาผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีการถ่ายทอดเนื้อหาอย่างรอบด้าน ชัดเจนและนำเสนอกรอบแนวคิดที่ช่วยให้ผู้อ่านสามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารและพัฒนาองค์การได้จริง โดยเหมาะสำหรับนักวิชาการ นักศึกษา นักบริหาร ที่ปรึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาองค์การใช้เป็นคู่มือในการสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/1154 ปรัชญาและความคิดทางการเมืองเพลโตกับสังคมสมัยใหม่เชิงวิพากษ์ 2025-05-20T11:16:22+07:00 วีระชัย ยศโสธร weerachai.ys@bru.ac.th ชัยภัทร สุริยะโรจนกุล Chaiphat.sr@gmail.com <h3>บทคัดย่อ</h3> <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิพากษ์แนวคิดทางปรัชญาและการเมืองของเพลโต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นการวิจัยทางเอกสารโดยศึกษาข้อมูลจาก หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย ผลวิจัยพบว่า</p> <p>ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแม้แนวคิดของเพลโตจะมีรากฐานจากบริบทของโลกโบราณ แต่ยังมีศักยภาพในการตั้งคำถามต่อค่านิยมร่วมสมัย การใช้อำนาจทางการเมือง ความเสมอภาค เสรีภาพ และบทบาทของปัญญาชนในสังคม แม้แนวคิดของเพลโตจะดูย้อนยุคหรือขัดแย้งกับเสรีภาพสมัยใหม่ในบางแง่มุมแต่ก็สามารถเป็นกรอบวิพากษ์ที่มีพลังในการตั้งคำถามต่อโครงสร้างทางการเมืองและวัฒนธรรมในยุคปัจจุบันได้อย่างลึกซึ้ง งานวิจัยนี้จึงเสนอว่าการนำแนวคิดของเพลโตมาวิเคราะห์เชิงวิพากษ์สามารถเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการถกเถียงเกี่ยวกับธรรมชาติของความยุติธรรมและโครงสร้างอำนาจในสังคมยุคใหม่</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/1022 การบริการประชาชนในยุคดิจิทัล: การปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐสู่ความทันสมัย 2025-04-19T16:30:32+07:00 จุฑาทิพ เล็กอุดากร juthatiplek1102@gmail.com <p>บทความนี้มุ่งเน้นการศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการบริการประชาชนในหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะในบริบทของยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริการ ภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวจากการบริการแบบดั้งเดิมสู่ระบบดิจิทัลที่เน้นความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ระบบ e-Government, Big Data, Cloud Computing และ Automation มาใช้ในการให้บริการ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจของประชาชนได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวยังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน เช่น ช่องว่างทางดิจิทัล ปัญหาความปลอดภัยของข้อมูล การขาดทักษะของบุคลากร และข้อจำกัดด้านกฎหมาย บทความเสนอให้ภาครัฐพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี เสริมทักษะบุคลากร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและตอบโจทย์สังคมยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/1066 วัฒนธรรมองค์การ กับการจัดการเปลี่ยนแปลง 2025-05-28T07:40:18+07:00 สมศักดิ์ สามัคคีธรรม organizational@gmail.com ธนพัฒน์ จงมีสุข thanapat.jm@bru.ac.th สากล พรหมสถิตย์ sakon.pt@bru.ac.th <p>“วัฒนธรรมองค์การ” (organizational culture) เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานขององค์การ บทความนี้ได้วิเคราะห์ถึงการจัดการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยแสดงให้เห็นว่า “วัฒนธรรมองค์การ” อาจเป็นได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ กล่าวคือ อาจเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง หรือขัดขวางการเปลี่ยนแปลงก็ได้ นอกจากนี้ บทนี้ยังได้นำเสนอทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การ 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีแรก กรอบคิดค่านิยมเชิงการแข่งขัน (Cameron &amp; Quinn) ทฤษฎีที่สอง วัฒนธรรมสามระดับกับการเปลี่ยนแปลงองค์การ (E. H. Schein) และทฤษฎีที่สาม หกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงจากส่วนรอบข้าง (Beer, Eisenstat &amp; Spector) ตามลำดับ</p> 2025-06-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์