วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU
<p>วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวารสารที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหาร การจัดการ การบริหารท้องถิ่น และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนบทวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอทางออกในการแก้ปัญหาให้แก่สังคม โดยมีรูปแบบการตีพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 โดยมีกำหนดเผยแพร่วารสารฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) </p>
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
th-TH
วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2985-0851
-
ประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/474
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนผู้รับบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ คือ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในเขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 390 คน และใช้วิธีเก็บข้อมูลแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ รายด้าน จำแนกตามเพศ วิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ t-test Independent กรณีตัวแปร 2 ตัว และวิเคราะห์โดยใช้วิธี F-test กรณีตัวแปรมากกว่า 2 ตัว และแบบปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.47, S.D. = 1.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม และการรักษาความสงบ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ</li> <li>เปรียบเทียบผลการศึกษาประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหาร<br />ส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า อาชีพ โดยภาพรวม พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นกับประสิทธิผลต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</li> <li>ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนผู้รับบริการสาธารณะองค์การบริหาร<br />ส่วนตำบลพระครู อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ควรมีระบบประปาที่เพียงพอต่อความต้องการ มีการซ่อมแซมถนนให้มีคุณภาพและมีไฟฟ้าส่องสว่างอย่างทั่วถึงตลอดเส้นทาง ควรวางท่อระบายน้ำ จัดระเบียบเวลาในการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามที่กฎหมายกำหนด มีมาตรการป้องกันอบายมุขในชุมชน มีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เครื่องมือป้องกันภัยต่าง ๆ จัดให้มีการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมนันทนาการให้มากกว่านี้ และให้มีบริการเก็บขยะ</li> </ol>
นราพร สมปอง
วิยดา จันทร์น้ำเงิน
สุดารัตน์ โชชะรัมย์
ประชัน คะเนวัน
ธัญญรัตน์ พุฑฒิพงษ์ชัยชาญ
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
1
16
-
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการพัฒนาชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/492
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพภาวะผู้นำของผู้นำชุมชนบ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของชุมชน บ้านกระเจา ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้กำหนดครัวเรือนเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 147 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth interview) การวิเคราะห์ข้อมูลและการหาค่าสถิติในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติมาประกอบวัดค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลวิจัยพบว่า ความพึงพอใจต่อผู้นำรายด้าน เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถในการจัดการ ( = 4.99, S.D.= .116) ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน ( = 4.98, S.D.= .149) ด้านทักษะความรู้ ( = 4.98, S.D.= .156) ด้านมนุษยสัมพันธ์ ( = 4.98, S.D.= .156) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ( = 4.97, S.D.= .163) ด้านบทบาทการรักษาความสงบเรียบร้อย ( = 4.97, S.D.= .169) ตามลำดับ</p> <p>แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านการพัฒนาชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยหลักการที่สำคัญในการทำงานคือ ครองตน ครองคน ครองงาน ผู้นำต้องเป็นบุคคลตัวอย่าง ปฏิบัติตนตามคุณธรรมจริยธรรมให้ความเสมอภาคสร้างความศรัทธาสร้างความสามัคคีในชุมชน การบริหารงานที่นำพาชาวบ้านและหมู่บ้านไปสู่จุดหมายเดียวกันได้นั้นต้องให้ความสำคัญกับชาวบ้านโดยมีการใช้งานให้เหมาะสมกับความสามารถ</p>
ณัฐวุฒิ โกยรัมย์
พิมพ์พิสุทธิ์ เถียรในเมือง
วรรณยุดา อพรรัมย์
สถาพร วิชัยรัมย์
วิษณุ ปัญญายงค์
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
17
30
-
การมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรณีศึกษาสภาองค์กรชุมชนในเขตอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/592
<p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารงานท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมและปัจจัยจูงใจในการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในการบริหารงานท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) (3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการมีส่วนร่วมสภาองค์กรชุมชน การวิจัยได้กำหนดตัวแปรมีทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม (3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และ (4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล และตัวแปรที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของการบริหารท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ และจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคณะกรรมการสภาองค์กรชุมชนอำเภอนางรอง จาก 4 เขต จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างโดยการทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test)</p> <p><strong> </strong>ผลการวิจัย (1) ระดับการมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.43, S.D. =0.65) (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมสภาองค์กรชุมชนในการบริหารงานท้องถิ่น พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และปัจจัยจูงใจไม่แตกต่าง ระดับการศึกษามีความแตกต่างทั้งนี้เนื่องด้วยสภาพระดับการศึกษาส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจต่อการเข้ามีมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญ (3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายรับใช้ในเชิงการวางแผนในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสภาองค์กรชุมชนในพื้นมีเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และบริการวิชาการร่วมหน่วยงานต่างๆ</p>
ชัชพล รัตนบรรณกิจ
สวิชญา เครือบคนโท
ธนพัฒน์ จงมีสุข
ภรัญโรจน์ ศิวรังสีรัชต์
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
31
48
-
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน บ้านก้านเหลือง หมู่ 6 ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/615
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 2) เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขความร่วมมือของประชาชน 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 238 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนด้วยสถิติ การวิเคราะห์การถดถอย (Regression analysis)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม (𝑥̅=4.50) อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมาด้านการเมืองและการบริหาร (𝑥̅=4.44) ด้านร่วมรับรู้ (𝑥̅=4.20) ด้านสังคมและเศรษฐกิจ (𝑥̅=4.17) ด้านร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็น (𝑥̅=4.08) ด้านร่วมรับผล (𝑥̅=4.25) อยู่ในระดับมาก ด้านร่วมดำเนินการ (𝑥̅=4.12) อยู่ในระดับปานกลาง และด้านร่วมคิดร่วมตัดสินใจ (𝑥̅=4.06) อยู่ในระดับน้อยสุด เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหุคูณเมื่อเพื่อทำนายอิทธิพลของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน พบว่าด้านสังคมและเศรษฐกิจ (𝜷=.341) ด้านการเมืองและการบริหาร (𝜷=.204) ด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม (𝜷=.133) มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนบ้านก้านเหลืองอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่0.5</p> <p> ผลการศึกษาวิจัยพบว่าเนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนให้กับผู้นำชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงบริการภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างความมุ่งมั่นในการที่ผลักดันการบริหารจัดการภาครัฐ</p>
ภัครมัย ทองพันชั่ง
สาริณี นามวงศ์
สุภาพร ทองพิละ
สกุณา คำเผือ
อลงกต แผนสนิท
ปราถนา มะลิไทย
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
49
63
-
บทบาทและแนวทางการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง ในยุคดิสรัปชั่น
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/593
<p> บทความวิจัยเรื่อง บทบาทและแนวทางการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองในยุคดิสรัปชั่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท แนวทางการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมและเสนอแนะแนวทางการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองในยุคดิสรัปชั่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ผลการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ในยุคดิสรัปชั่นเทคโนโลยีมีบทบาทในการทำงานของทุกภาคส่วน บุคลากรในศาลปกครองก็ต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองในด้านดิจิทัลอยู่เสมอ เช่น การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ การตระหนักรู้ถึงทักษะดิจิทัลและทักษะดิจิทัลมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต การทำงาน การเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมในสังคม บทบาทของบุคลากรในการรับรู้ดิจิทัลจะส่งผลถึงบทบาทของศาลปกครองในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในยุคดิสรัปชั่น เช่น บทบาทการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐในบริบทเทคโนโลยีใหม่ที่เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว บทบาทการปรับตัวกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ บทบาทการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม บทบาทการรับฟังและพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบข้ามพรมแดน บทบาทการสนับสนุนการสร้างกฎหมายและนโยบายใหม่ๆ และแนวทางการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองในยุคดิสรัปชั่น ควรมีแนวทางเสริมในเรื่องการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ในการจัดการคดี การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการฟ้องร้อง การติดตามคดี และการนำเสนอหลักฐาน การพิจารณาคดีโดยอิงหลักการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างครอบคลุม รวมถึงการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการปรับปรุงระบบการพิจารณาคดีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ</p> <h1> </h1>
ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
64
82
-
คุณภาพชีวิตของประชากรในเขตพื้นที่ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/603
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อได้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตและศึกษาข้อมูลประชากรในเขตพื้นที่ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยงานวิจัยเชิงปริมาณ<br />ใช้เแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ จำนวน380 โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Yamane (1937) ที่ระดับความเชื่อ 95% และกำหนดความคลาดเคลื่อนที่รับได้ 0.05 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Correlation Coefficient ทดสอบสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณด้วยสถิติ Regression analysis</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย (𝒙̅ = 4.21) อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสำเร็จ (𝒙̅ =4.09) ด้านความมั่นคงและความปลอดภัย (𝒙̅=3.93) ด้านการศึกษา (𝒙̅=3.89) ด้านการบริการภาครัฐ (𝒙̅=3.85) ด้านการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษา(𝒙̅=3.83) ด้านการดูแลผู้สูงอายุและเด็ก (𝒙̅=3.82) ด้านสุขภาพ (𝒙̅=3.73) อยู่ในระดับมาก ด้านสวัสดิการของรัฐต่อสมาชิกครัวเรือน (𝒙̅=2.93) อยู่ในระดับปานกลาง ด้านรายได้ (𝒙̅=2.40) อยู่ในระดับน้อย เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการถดถอยพหูคุณเมื่อเพื่อทำนาย อิทธิพลของปัจจัยทั้ง 5ต้านพบว่า ด้านที่อยู่อาศัย (<em>β</em>=.365) ด้านการศึกษา (<em>β</em>=.346) ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ (<em>β</em>=207) ด้านรายได้ (<em>β</em>=.086) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชากรอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.5</p> <p>ผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณพบว่ายังขาดความช่วยเหลือจากภาครัฐในด้านของรายได้ ประชาชนต้องเริ่มจากการวางแผนการเงินกำหนดเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชน</p>
ณัฐสุดา ถนอมสัตย์
กนกวรรณ หลอดทอง
รูเกียร์ มายา
วยุธิดา ศรีผาลา
อลงกต แผนสนิท
ปราถนา มะลิไทย
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
83
98
-
เทคนิคการจัดการองค์การคุณภาพ
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/437
<p>องค์กรที่ต้องการรักษาคุณภาพสินค้าหรือบริการของตน ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดการคุณภาพขององค์กรถือเป็นสิ่งสำคัญ องค์กรสามารถบรรลุประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดความไร้ประสิทธิภาพ และส่งมอบงานคุณภาพที่เหนือกว่าอย่างต่อเนื่องซึ่งเกินความคาดหวังของลูกค้าโดยการนำวิธีการเหล่านี้ไปใช้อย่างมีประสิทธิผล แนวทางเชิงรุกนี้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกเหนือจากการส่งเสริมวัฒนธรรมของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเทคนิคการจัดการองค์การคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า<strong> </strong>เทคนิคการจัดการองค์การคุณภาพ <strong> ได้แก่ </strong><strong>(1) การจัดการคุณภาพโดยรวม </strong><strong>(2) การดำเนินการตามมาตรฐาน (3) การควบคุมคุณภาพ (4) ไคเซ็น (5) การเปรียบเทียบ (6) วงการคุณภาพ และ (7) การบริหารความเสี่ยง </strong>โดยสรุป การค้นพบนี้เน้นย้ำว่ากลยุทธ์การจัดการองค์กรที่มีคุณภาพ เช่น การดำเนินการตามมาตรฐาน ISO, การจัดการคุณภาพโดยรวม (TQM), การควบคุมคุณภาพ, ไคเซ็น, การเปรียบเทียบ, วงจรคุณภาพ และการจัดการความเสี่ยง ทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถรักษามาตรฐานที่เข้มงวด ส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และรับประกันความเป็นเลิศในการดำเนินงานในระยะยาว วิธีการเหล่านี้ร่วมกันมอบกรอบการทำงานอย่างละเอียดในการปรับปรุงความยืดหยุ่นขององค์กร ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และความพึงพอใจของลูกค้าในการตั้งค่าธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว</p>
กฤษฎา แสนบัวคำ
สมบูรณ์ แก้วลมัย
ธนชัย ใจซื่อ
สัญญา เคณาภูมิ
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
99
109
-
ปัญหาการใช้สิทธิยับยั้งโดยประเทศสมาชิกถาวรขององค์การสหประชาชาติ
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/504
<p> การระงับข้อพิพาทเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำการเจรจาตกลงกับคู่พิพาท เพื่อตัดสินใจเมื่อเกิดปัญหาและในการยุติข้อพิพาทนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคู่พิพาท การอยู่ร่วมกันของสังคมระหว่างประเทศ เมื่อสมาชิกในรัฐใดรัฐหนึ่งได้ทำการละเมิดข้อตกลงหรือข้อผูกพันที่ได้ทำไว้ ทำให้เกิดความขัดแย้ง หากรัฐไม่สามารถระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างกันเองได้ องค์กรระหว่างประเทศจึงมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้ทั้งสองฝ่ายยินยอมและตกลงกันได้ แต่หากสมาชิกระหว่างประเทศนั้นมีอิทธิพลในการตัดสินใจเหนือประเทศชาติอื่น ๆ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมจนนำไปสู่การละเมิดสันติภาพของประเทศอื่น</p> <p> จากการศึกษาทำให้พบว่าสิทธิยับยั้ง (Veto) ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาตินั้น จะพบว่าการใช้สิทธิของประเทศเหล่านั้น มุ่งใช้สิทธินี้เพื่อประโยชน์ของประเทศของตนหรือประเทศพันธมิตรของตน มากกว่าจะมุ่งใช้เพื่อธำรงรักษาสันติภาพและความมั่งคงระหว่างประเทศร่วมกันด้วยเหตุนี้จึงควรที่จะต้องมีการแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ เกี่ยวกับการใช้สิทธิยับยั้งโดยเห็นควรให้มีการแก้ไข กฎบัตรสหประชาชาติมาตรา 27 เพื่อยกเลิกการมีสิทธิยับยั้งเพื่อป้องกันมิให้ชาติสมาชิกถาวรแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินั้น ใช้สิทธิพิเศษนี้ไปในทางอื่นอันมิใช่เพื่อมุ่งรักษาสันติภาพและเสถียรภาพแห่งความมั่นคงระหว่างประเทศร่วมกัน และในกรณีที่ไม่สามารถที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรา 27 เพื่อที่จะยกเลิกการมีสิทธิยับยั้งดังกล่าวนั้นมีการกำหนดกฎเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สิทธิยับยั้งโดยกำหนดให้ในการที่จะทำให้สิทธิยับยั้งของประเทศสมาชิกถาวรที่ใช้สิทธินี้มีผลบังคับโดยสมบูรณ์ จะต้องได้รับการลงมติลงคะแนนเสียงเห็นชอบ</p>
ปิยวัฒน์ นิสัยรัมย์
จันทกานต์ บุญศรีรัมย์
ธัญวรัตม์ ห่วงประโคน
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
110
121
-
การพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/613
<p> การเกษตรอินทรีย์นับเป็นการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาความสมดุลของระบบนิเวศถือเป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Products) มีประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ขณะเดียวกันเป็นการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จึงทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าอินทรีย์ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและยังไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บทความวิชาการนี้นำเสนอการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพื่อชี้ให้เห็นทิศทางการพัฒนาของโลกและนโยบายของประเทศมุ่งเน้นให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศ ความต้องการของตลาด และกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้แบ่งเนื้อหา 4 ประการ คือ 1. หลักการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลและความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูกทุกชนิด เพื่อเป็นการผลิตอาหารที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค 2. คุณสมบัติผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ คือ มีทักษะการผู้จัดการความสมดุลได้ดี เป็นบุคคลกล้าเสี่ยงเป็นทั้งนักยุทธศาสตร์ มีความมั่นใจในตนเอง การยอมรับความรับผิดชอบ วิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาที่หลากหลาย มีกระตื้อรื้อร้น การยอมรับความล้มเหลวและการตั้งคำถามเพื่อสร้างความท้าทาย ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม 3. การสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือ มีความพร้อมของอาหาร เช่น อาหารที่เพียงพอ การเข้าถึงอาหาร เช่น รายได้ที่เพียงพอหรือทรัพยากรอื่น ๆ และจุดเข้าถึงที่เพียงพอในการซื้อหรือแลกเปลี่ยนอาหาร และการใช้อาหาร เช่น ความรู้ ทักษะ น้ำที่เพียงพอ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร เป็นต้น 4. การพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์กับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คือ ต้องมีการฝึกอบรมและเพิ่มทักษะความรู้ผ่านความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการควรให้การสนับสนุนพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ให้มีทักษะความรู้ตั้งแต่การปลูก การขาย และการดูแลคุณภาพ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเข้าถึงช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น ต้องดำเนินการพัฒนา บนพื้นฐานคำว่า “ผลิตได้ ขายเป็น เน้นคุณภาพ” ดังนั้นผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์กับการสร้างความมั่นคงทางอาหารเป็นผสมผสานแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืนเข้ากับเป้าหมายทางสังคมในวงกว้าง มีความสัมพันธ์กับการสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงการส่งเสริมความหลากหลายทางการเกษตร สนับสนุนการผลิตอาหารในท้องถิ่นการจำหน่ายที่เป็นธรรม</p>
อุทิศ ทาหอม
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
122
145
-
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะและบริบทของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศออสเตรีย ประเทศเยอรมัน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไทย
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/623
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศออสเตรีย ประเทศเยอรมัน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศไทย บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในประเทศออสเตรีย เยอรมนี เกาหลีใต้ และประเทศไทย มีลักษณะคล้ายคลึงกันในด้านการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประเทศออสเตรียเป็นต้นแบบศาลรัฐธรรมนูญของโลก ก่อตั้งเพื่อควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ประเทศเยอรมนีมีศาลรัฐธรรมนูญกลางซึ่งมีอำนาจปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เช่น การคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล ประเทศเกาหลีใต้ ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจ ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมีบทบาทในการตีความและตรวจสอบกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงพิจารณาคดีทางการเมืองและการรักษาความเสถียรภาพทางการปกครอง จากที่กล่าวมาข้างต้นศาลรัฐธรรมนูญในแต่ละประเทศมีบทบาทในการรักษาความยุติธรรมและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสในระบบการปกครองและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ศาลรัฐธรรมนูญยังช่วยป้องกันการละเมิดสิทธิและรักษาความเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบเชิงลบอาจเกิดขึ้นได้หากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญถูกมองว่าแทรกแซงการเมืองหรือละเมิดอำนาจฝ่ายอื่นทำให้เกิดข้อถกเถียงในสังคมเกี่ยวกับความเป็นกลางและความเป็นธรรม</p>
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร
จุฬา เจริญวงค์
สถาพร วิชัยรัมย์
สากล พรหมสถิตย์
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
146
163
-
Conflict of Interest between State and Community: A Case Study of Temple of Phra Viharn, Sisaket Province
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JPALI_BRU/article/view/646
<p> This article <strong>studied</strong> the relationship between nationalism and localism documentary paper and news report. The main objective<strong> was</strong> to <strong>determine</strong> whether the objectivity of news report is affected by the influence of nationalism. Moreover, the paradigm of conflict theory is <strong>describes</strong> on the phenomenon among Cambodia and Thailand in the boundary of <strong>the</strong> border zone on account of the controversial contention perceiving and argument distinction interpretation <strong>for an extended period</strong>. <strong>Furthermore</strong>, the conflict of interest is one of the <strong>hypotheses</strong> to assume misjudge from <strong>the</strong> central government and community with regard toward authentic resolution in obvious <strong>evidence</strong>. Specifically, Thai has been obsession on a viewing devolution to insert out the in-depth information based problem agenda; consequently, society troop is rejected the package of chaos and riot toward inequity approach. Sisaket <strong>Province</strong> is a buffer area to <strong>suppress</strong> the illness of defect civil culture and participative decision democracy with a view toward knowledge based society in the age of digital worldwide. In addition, a conflict of interest is a puzzle for the appropriate answer for Thai society and Thai orientation now and then. This paper is <strong>attempts</strong> to answer and recommend the optimal model and impasse of <strong>the</strong> cultural relationship between Thai and Cambodia <strong>through </strong>the conceptual framework synthesis. The analysis is involved <strong>four</strong> dimensions such as <strong>political</strong>, economic, social and cultural <strong>the</strong> dimensions to be comprehended and improved <strong>by</strong> the delegates for sustainable development and collaboration. According <strong>to </strong>this truth, the outcome of the Sisaket model <strong>has</strong> consisted of civil society, civil state, civil culture and civilization doctrine to make mutual judgment over the presence of Thai uniformity element in the national record. This paper found that the conflict of interest involving hidden agenda and excessive benefit related <strong>to</strong> <strong>the</strong> tourism industry and international acknowledgement area, described by Hegemony theory consequently. The case study is <strong>demonstrated</strong> the international conflict reflected state and community concern <strong>about</strong> the aggressive attention in action plan and <strong>PDCA: Plan-Do-Check-Act</strong> cycle. <strong>In conclusion</strong>, it is cordially linkages a public policy implementation resulted into the objectivity and concrete outcome result for long-term resolution.</p>
panaikorn boonkob
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารรัฐกิจและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2024-12-25
2024-12-25
2 2
164
188