https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/issue/feed วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) 2024-09-30T22:32:16+07:00 Asst Prof. Witsanu Suttiwan jrisilid@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Journal of Research and Innovation for Sustainability; JRIS) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) บทความวิชาการ (Academic article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แก่นักวิจัย นักวิชาการ ครู คณาจารย์ และนักศึกษา ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ วัฒนธรรมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การพัฒนาชุมชน จิตวิทยาทั่วไปและการแนะแนว รวมถึงสหวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/459 การพัฒนาการรูปแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันวัณโรคในเขตตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2024-09-14T14:20:17+07:00 เครือวัลย์ ภุมรินทร์ krongsombat@gmail.com รัศมี สมรรถชัย rassamee09@hotmail.com บุญพิสิฐษ์ ธรรมกุล muangcpho.cdc@gmail.com เดชาวัต ครองสมบัติ deachawat.k@kkumail.com <p>สถานการณ์การระบาดของวัณโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคสู่ชุมชนงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ของภาคีเครือข่าย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันวัณโรคของภาคีเครือข่าย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และ 3) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ของภาคีเครือข่าย ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ <br />1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประชุมกลุ่มย่อย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้นำชุมชน จำนวน 60 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับตอบแบบสอบถามและร่วมกิจกรรม จำนวน 129 คน งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แนวทางการสนทนากลุ่ม 2) แบบสังเกตการมีส่วนร่วม 3) แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันวัณโรค ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช่สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการมีส่วนร่วมที่จะดำเนินการในหมู่บ้านได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 โครงการของภาคีเครือข่ายตำบลลาดใหญ่ ประเภทที่ 2 โครงการที่ตำบลลาดใหญ่ต้องร่วมดำเนินการและ/หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายในท้องถิ่น และประเภทที่ 3 โครงการที่ตำบลลาดใหญ่ไม่สามารถดำเนินการได้เองต้อง ให้หน่วยงานภายนอกช่วยดำเนินการให้ ภายหลังดำเนินกิจกรรมแล้วพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับดี มีทัศนคติระดับดี และมีการปฏิบัติในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนและหลังทำกิจกรรมพบว่าความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.001)</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/432 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้นิทานสอนใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ 2024-07-27T11:08:25+07:00 จุฑารัตน์ ศรีสว่าง thaiedu@cpru.ac.th พัทธนันท์ พาป้อ phathanant.ph@cpru.ac.th ปพิชญา พรหมกันธา paphichaya.ph@cpru.ac.th <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ที่สอนโดยใช้นิทานสอนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนโดยใช้นิทานสอนใจ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านโสก จำนวน 13 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้สถิติ Nonparametric การทดสอบค่า Wilcoxon Signed Rank test for Matched Paired Difference ในการวิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานสอนใจ พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลการวิเคราะห์ระดับพัฒนาการด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้นิทานสอนใจจากการเปรียบเทียบคะแนนผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (16.75) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน (9.53) เท่ากับ 7.17 คิดเป็นร้อยละ 63.15 เมื่อนำมาคำนวณหาค่าพัฒนาการสัมพัทธ์พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 69.34 แสดงว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้นิทานสอนใจมีพัฒนาการด้านการอ่านคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับ สูง</p> 2024-09-30T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS)