วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS <p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Journal of Research and Innovation for Sustainability; JRIS) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) บทความวิชาการ (Academic article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แก่นักวิจัย นักวิชาการ ครู คณาจารย์ และนักศึกษา ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ วัฒนธรรมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การพัฒนาชุมชน จิตวิทยาทั่วไปและการแนะแนว รวมถึงสหวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์ th-TH วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) <p><strong>การอนุญาตลิขสิทธิ์</strong></p> <p> การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/">https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/</a>)</p> การพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom’s Taxonomy) https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/760 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชายและหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี และที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 1 ห้อง จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) จำนวน 24 แผน 2) แบบประเมินทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย The One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่า t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) มีผลต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการฟังและการพูด ด้านการอ่าน ด้านการเขียน จากการจัดประสบการณ์ที่มีการจัดกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ และการใช้เทคนิคการเล่านิทานที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม การสนทนาโต้ตอบแสดงความคิดเห็นทำให้เด็กเกิดความสนใจมากขึ้น พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเล่านิทานตามรูปแบบของบลูม (Bloom's Taxonomy) มีทักษะทางภาษาที่สูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> วราพร เคหฐาน ทิพย์อักษร พุทธสริน สุทธิดา วันนา จันทร์จิรา แสนสมบัติ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-06 2025-04-06 2 2 1 15 การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ รูปร่าง รูปทรงของเด็กปฐมวัยโดย การจัดประสบการณ์เกมการศึกษา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/793 <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษา ก่อนและหลังจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 1/2567 โรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) สังกัดเทศบาลเมืองชัยภูมิ จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 24 แผน 2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย The One-Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่า t-test dependent ผลการวิจัย พบว่า ผลรวมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงสำหรับเด็กปฐมวัย จากกลุ่มตัวอย่าง 31 คน รวมผลทั้ง 3 ด้าน ก่อนทดลอง มีค่าเฉลี่ย (M) 4.77, (<em>SD</em>) 0.32 แปลผลระดับปรับปรุง หลังทดลอง มีค่าเฉลี่ย (M) 9.68, (<em>SD</em>) 0.14 แปลผลระดับมาก เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เกมการศึกษามีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รูปร่างรูปทรงสูงขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05</p> สุทธิดา วันนา ทิพย์อักษร พุทธสริน วราพร เคหฐาน นทร์จิรา แสนสมบัติ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-06 2025-04-06 2 2 16 28 การจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้หนังสือภาษาอังกฤษของเด็กระดับปฐมวัย โรงเรียนนภาเชียงใหม่ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/809 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลพัฒนาการด้านการรู้หนังสือภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ซึ่งเป็นแนวทางการสอนที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวทางกายภาพและการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น อันจะส่งผลต่อการจดจำและพัฒนาทักษะด้านภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กระดับปฐมวัย กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนนภาเชียงใหม่ จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ระดับชั้นเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยที่ 1 การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านการเคลื่อนไหว หน่วยที่ 2 การอ่านคำศัพท์พื้นฐานและการระบุภาพ และหน่วยที่ 3 การเรียนรู้คำศัพท์ผ่านเพลงและกิจกรรมกลุ่ม 2) แบบประเมินการรู้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลพัฒนาการด้านการรู้หนังสือภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ควรมีการส่งเสริมให้ครูผู้สอนพัฒนากิจกรรมที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับบริบทของการศึกษาในปัจจุบัน</p> รณชิต อภัยวาทิน Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-06 2025-04-06 2 2 29 39 การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังโดยเครือข่ายชุมชนบ้านค่ายจิตดี ตำบล บ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/705 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง โดยใช้แนวคิด การพัฒนาโดยชุมชนเป็นฐาน (Community-based development) และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนบ้านค่ายจิตดี และศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบดังกล่าว โดยใช้วงรอบปฏิบัติการ PAOR กลุ่มตัวอย่างเป็นเครือข่ายชุมชนบ้านค่ายจิตดี จำนวน 140 คน และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 59 คน จาก 72 คน ทำการศึกษาระหว่าง ตุลาคม 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired-samples T-Test, Z-test for proportion ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการศึกษารูปแบบที่พัฒนาขึ้นยึดหลักการพัฒนาโดยชุมชนเป็นฐาน ประกอบด้วย <br />1) การจัดตั้งเครือข่ายชุมชน 2) การกำหนดแนวทางดูแลผู้ป่วยใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะยังไม่มีเหตุ ระยะเกิดเหตุ และระยะหลังเกิดเหตุ 3) การพัฒนากลไกสำคัญ ได้แก่ ระบบคัดกรองผู้ป่วย แนวทางระงับเหตุฉุกเฉิน และการดูแลต่อเนื่องผ่าน“โรงเรียนแสงแห่งความหวัง” 4) การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายโดยอบรมเชิงปฏิบัติการ ซ้อมแผนการดูแล 5) การสร้างระบบฐานข้อมูล “บ้านค่ายจิตดี” ผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ชุมชนสามารถติดตามผู้ป่วยได้อย่างเป็นระบบ</p> <p>หลังการพัฒนาพบว่าเครือข่ายชุมชนมีความรู้และระดับการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001) และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 97.68 นอกจากนี้พฤติกรรมและสมรรถภาพของผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.001)</p> ขวัญใจ ธรรมกุล Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-06 2025-04-06 2 2 40 53 คนตัวโตผู้ถูกขังไว้: เสียงจากรอยร้าวแห่งอำนาจผ่านกลวิธีการนำเสนอ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/653 <p>บทวรรณกรรมวิจารณ์ "เสียงจากรอยร้าวแห่งอำนาจ: การสะท้อนสังคมผ่านกลยุทธ์การนำเสนอ" นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องสั้น "คนตัวโตผู้ถูกขังไว้" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรวมเรื่องสั้น "Divine Being ไม่ใช่มนุษย์และตัวตนอื่น ๆ" โดย จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท เรื่องสั้นนี้ถ่ายทอดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ การกดทับ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านการใช้กลวิธีเชิงสัญลักษณ์ เช่น ความแตกต่างของขนาดตัวละครที่สะท้อนความไม่เท่าเทียมในสังคม การผูกปมด้วยข้อเสนอจาก "คนตัวโต" ที่เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ และการดำเนินเรื่องที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง บทวิจารณ์ยังชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของจิดานันท์ในการนำปรัชญา การเมือง และจินตนาการมาผสานเข้าด้วยกัน ทำให้ผลงานของเธอมีความลุ่มลึกเกินกว่านิยายไซไฟทั่วไป</p> จุฬาลักษณ์ แกมกล้า สุภัสสรา เคหาบาล ธัญลักษณ์ คูณขุนทด พัทธนันท์ พาป้อ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-06 2025-04-06 2 2 54 73 กี่บาด: มวลอำนาจแห่งจารีตที่ปิดกั้นความฝันใฝ่ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/708 <p>"กี่บาด: มวลอำนาจแห่งจารีตที่ปิดกั้นความฝันใฝ่" นำเสนอการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับนวนิยายรางวัลวรรณสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประจำปี 2567 เรื่อง "กี่บาด" ที่เขียนโดย ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด นวนิยายเรื่องนี้ถ่ายทอดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจแห่งจารีต และความเจ็บปวดบาดแผลแห่งความรู้สึก ผ่านทางลวดลายของผ้าซิ่นตีนจกทั้ง 16 ลาย โดยที่มีแม่ญิงชาวแม่แจ่มทั้งสามรุ่น ที่ดำเนินวิถีชีวิตการทอผ้าซิ่นตีนจก อันแสนยากลำบาก บาดแผลในใจของแต่ละคน มุมมองความคิดอีกทั้งการต่อสู้กับอำนาจแห่งจารีต ค่านิยมบทบาททางสังคมที่กำหนดให้มีหน้าที่ของผู้ชายและผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากต่อการยอมรับหากสิ่งที่บุคคลจะทำให้ผิดจากค่าจารีตที่มีอยู่ในสังคมนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของความหลากหลายทางเพศจากตัวละครหลักของเรื่อง นวนิยาย “กี่บาด” ที่นำเสนอโครงเรื่องผ่านการต่อสู้และส่งต่อการทอผ้าซิ่นตีนจก มรดกทางปัญญาที่น่าหวงแหนในครอบครัวรุ่นต่อรุ่น อันทำให้เห็นทั้งด้านสว่าง และด้านมืดที่เป็นเหตุให้เกิดเป็นบาดแผลในใจของตัวละครที่ถ่ายทอดออกมาอย่างชัดเจน</p> ธนธร นวลสมบัติ ปพิชญา พรหมกันธา Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-04-06 2025-04-06 2 2 74 93