วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS <p>วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Journal of Research and Innovation for Sustainability; JRIS) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย (Research article) บทความปริทัศน์ (Review article) บทความวิชาการ (Academic article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) แก่นักวิจัย นักวิชาการ ครู คณาจารย์ และนักศึกษา ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ วัฒนธรรมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การพัฒนาชุมชน จิตวิทยาทั่วไปและการแนะแนว รวมถึงสหวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p><strong>การอนุญาตลิขสิทธิ์</strong></p> <p> การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ หรือสิ่งอื่นใดของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดมีความต้องการที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใดเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ บทความทุกฉบับที่ถูกเผยแพร่ในวารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจะเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License: <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/">https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/</a>)</p> jrisilid@gmail.com (Asst Prof. Witsanu Suttiwan) pathompong.chu@kkumail.com (Mr. Pathompong Chummongkol) Fri, 28 Feb 2025 21:42:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษายุคดิจิทัล: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/744 <p>ระบบสารสนเทศทางการศึกษาในยุคดิจิทัล จำเป็นอย่างมากที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเรียนรู้แบบออนไลน์และการศึกษาทางไกล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสังเคราะห์พัฒนาการของระบบสารสนเทศทางการศึกษาในบริบทสากลและประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในอนาคต โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบตามแนวทาง PRISMA จากการสืบค้นและคัดกรองงานวิจัยในฐานข้อมูล ThaiJO และ Google Scholar ระหว่างปี 2560-2567 พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 34 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของระบบสารสนเทศ ทางการศึกษาแบ่งได้เป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนโควิด-19 (ในช่วงปี 2560-2562) ที่เน้นการพัฒนาพื้นฐาน ช่วงโควิด-19 (ในช่วงปี 2563-2564) ที่มุ่งเน้นการปรับตัวสู่การเรียนออนไลน์ ช่วงหลังโควิด-19 (ในช่วงปี 2565-2566) ที่เน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และช่วงปัจจุบัน (ในช่วงปี 2567) ที่มุ่งพัฒนาระบบเฉพาะทาง งานวิจัยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาวะผู้นำและการบริหารในยุคดิจิทัล การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร และการบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนการสอน แนวโน้มในอนาคตจะมุ่งเน้นการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการเรียนรู้เฉพาะบุคคล การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน และการประเมินผลกระทบระยะยาวของการใช้เทคโนโลยีในการศึกษา</p> ศิรภัสสร์ อินทรพาณิชย์ , ดนัย ศิริบุรี Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/744 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 กิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/766 <p>การวิจัยเรื่องกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สังกัดคณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ และคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชัฏชัยภูมิ จำนวน 267 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและดัดแปลงจากแบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Physical Activity Questionnaire: GPAQ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยสรุปได้ ดังนี้ นักศึกษา มีพฤติกรรมของกิจกรรมทางกายในการเดินทางอยู่ในระดับน้อยมีค่าเฉลี่ย (<em>M</em> =66.75, <em>SD</em>=37.5) มีพฤติกรรมของกิจกรรมทางกายในการเดินทางอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย (<em>M</em> =66.75, <em>SD</em>=46.6) และมีพฤติกรรมของกิจกรรมทางกายในการสันทนาการอยู่ในระดับน้อยมีค่าเฉลี่ย (<em>M</em> =63.75, <em>SD</em>=44.47) ซึ่งเป็นเช่นนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการเรียนส่วนใหญ่อยู่ในอิริยาบถนั่งเรียน การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายชั่วโมง แม้กระทั่งการเดินทางจากที่พักไปยังมหาวิทยาลัย หรือการไปทานข้าวส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ส่วนตัว เพราะมีพื้นที่ หลายส่วนที่ตั้งอยู่ห่างกัน จึงทำให้นักศึกษามีการเคลื่อนไหวของร่างกายน้อย ส่งผลให้มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ</p> ทนงศักดิ์ ทองศรีสุข Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/766 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ การแก้ปัญหาของนักเรียนตามแนวคิดการสืบเสาะหาความรู้และบอร์ดเกม https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/599 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาของนักเรียน ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ โดยใช้วิธีการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบอร์ดเกม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ และบอร์ดเกมที่กฤษณวงศ์ รอบรู้ และคณะ (2567) ได้ออกแบบและสร้างไว้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจาหชิ้นงานและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่าการใช้บอร์ดเกมช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการหายใจระดับเซลล์ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการไกลโคไลสิส วัฏจักรเครบส์ และการถ่ายทอดอิเล็กตรอน นอกจากนี้ นักเรียนยังพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา รวมถึงมีแรงจูงใจและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกมสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในระยะยาว</p> กฤษณวงศ์ รอบรู้ , อุบลวรรณ เลี้ยวอุดมชัย , คณิสร ต้นสีนนท์ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/599 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 THE EFFECT OF ELEMENTARY SCHOOL SIZE ON CONSTRUCTIVISM IN THAILAND https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/591 <p>This study investigated the relationship between elementary school size in Thailand and the use of constructivist teaching methods. An explanatory sequential mixed-methods approach was employed, combining quantitative data from the Constructivist Learning Environment Survey (CLES) and qualitative data from teacher interviews. The research revealed that school size and student-teacher ratios significantly impact the learning environment. Larger and medium-sized schools with high national test score expectations demonstrated lower levels of constructivist learning. Conversely, smaller schools without such pressures exhibited higher levels of constructivist approaches. However, the study identified that teacher-student relationships and a supportive classroom atmosphere were crucial in promoting science education aligned with constructivist principles. Teachers who fostered camaraderie and encouraged open expression of opinions were more likely to facilitate active, collaborative learning experiences. The findings suggest that school size and national test performance expectations may influence teaching approaches and student learning experiences. In larger schools, teachers may adopt more traditional methods emphasizing memorization and rote learning, while smaller schools may have more flexibility to implement constructivist techniques. This research highlights the complex interplay of factors shaping the educational environment in Thai elementary schools. It underscores the need for further investigation to better understand these dynamics and inform effective teaching practices that balance constructivist principles with educational goals and constraints.</p> Pathompong Chummongkol, Jiraporn Tupsai , Chokchai Yuenyong Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/591 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 โคโค่กับอาณาจักรแห่งกาลเวลา: เรื่องราวการค้นพบความสุขในทุกขณะ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/651 <p>บทความวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง “โคโค่กับอาณาจักรแห่งกาลเวลา: เรื่องราวการค้นพบความสุขในทุกขณะ” เป็นการวิจารณ์นวนิยายเยาวชนโคโค่กับนกฟีนิกซ์ที่หายไป ของ "วงเวลา" (ภารวีชีว พันธุศรี) ที่ถ่ายทอดปรัชญาพุทธเซนผ่านการเดินทางของ "โคโค่" เด็กหญิงผู้กล้าหาญที่ตามหา<br />นกฟีนิกซ์ "มูมู" เพื่อนรัก เรื่องราวนี้สะท้อนการค้นพบความสุขในปัจจุบันผ่านการปล่อยวางจากอดีตและการหลุดพ้นจากความกังวลในอนาคต บทวิจารณ์การสร้างฉากในเรื่องระหว่างโลกจริง<br />และโลกจินตนาการ โดยใช้สัญลักษณ์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ตลอดจนตีความตัวละครและโครงเรื่องที่สะท้อนการเติบโตทางจิตวิญญาณและการเข้าใจเชื่อมโยงของสรรพสิ่ง บทวิจารณ์ยังเน้นคุณค่าของนวนิยายในการพัฒนาเยาวชน โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการยอมรับปัจจุบันและการใช้ชีวิตอย่างมีสติ ซึ่งมีคุณค่าทั้งสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่ที่แสวงหาคำตอบเกี่ยวกับความหมายของชีวิต</p> บุณยานุช อัสสาภัย, อาทิตยา พรมเขต , อนัญพร ชาติขุนทด, พัทธนันท์ พาป้อ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/651 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700 เราอยู่บนดาวดวงเดียวกันไหม: ภาพสะท้อนการแสวงหาความรัก ความเชื่อ และ เสียงสะท้อนความเป็นมนุษย์ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/652 <p>บทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง "เราอยู่บนดาวดวงเดียวกันไหม" เป็นการศึกษาผลงานรวมบทกวีที่ได้รับรางวัลชนะเลิศเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 20 โดย นิตา มาศิริ ซึ่งสะท้อนความรู้สึก ความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในบริบททางสังคม ผ่านการใช้ภาษาที่งดงามและการตั้งคำถามเชิงปรัชญา การวิจารณ์เน้นวิเคราะห์เนื้อหา คุณค่าด้านวรรณศิลป์ และภาพสะท้อนความเป็นมนุษย์ เช่น ความรัก ความขัดแย้ง และการแสวงหาความหมายของชีวิตในยุคปัจจุบัน โดยใช้ชื่อเรื่องเป็นจุดตั้งต้นให้ผู้อ่านพิจารณาความเป็นเอกภาพและความแตกต่างในเชิงอุดมการณ์ นอกจากนี้ การวิจารณ์ยังครอบคลุมถึงกลวิธีการเขียน ลักษณะคำประพันธ์ และคุณค่าทางสังคม ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประพันธ์กับผู้อ่าน งานวิจารณ์ชิ้นนี้จึงเป็นการตีความเชิงลึกที่ช่วยให้เข้าใจเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์และความสำคัญของบทกวีในฐานะเครื่องมือเยียวยาจิตใจ</p> กานต์มณี บุญทา, ไอรดา ยุ้มจัตุรัส, ปิยชัย ศรีชื่น, พัทธนันท์ พาป้อ Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (JRIS) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/JRIS/article/view/652 Fri, 28 Feb 2025 00:00:00 +0700