วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj
<p><strong>วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร</strong></p> <p><strong><span class="Y2IQFc" lang="en">Journal of Public Administration and Law Shinawatra University </span></strong></p> <p><strong style="font-size: 0.875rem; -webkit-text-size-adjust: 100%;"><span class="Y2IQFc" lang="en"><strong>ISSN: </strong></span></strong><span class="Y2IQFc" lang="en">3056-9257 (ออนไลน์)</span></p> <p> วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตรเป็นสื่อกลางการเผยแพร่ผลงานวิจัย บทความวิชาการ พัฒนาทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ ตลอดจนถึง สาขามนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เป็นการบูรณาการนโยบายทางการศึกษา การเรียนการสอนและบริการวิชาการแก่ชุมชน โดยรับตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการ โดยที่บทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยเสนอ หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน ผลงานที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ อาจถูกดัดแปลงแก้ไขรูปแบบ และสำนวนตามที่เห็นสมควร ผู้ประสงค์จะนำข้อความใด ๆ ไปพิมพ์เผยแพร่ต่อไป ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนตามกฎหมายลิขสิทธิ์</p>คณะรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตรth-THวารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร3056-9257PUCBLIC PARTICIPATION IN COMMUNITY DEVELOPMENT IN THE AREA OF TA KHAN SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, BAN KHAI DISTRICT, RAYONG PROVINCE
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1046
<p>This research aimed to study and compare the level of public participation in community development in the area of the Takhan Subdistrict Administrative Organization, Ban Khai District, Rayong Province. The population used in this study was 8,672 people aged 18 years and over. The researcher calculated the sample size using Taro Yamane's formula, resulting in a sample of 382 people. The instrument used was a questionnaire. The statistics used for data analysis included percentage, mean, and standard deviation, t - test, One - Way ANOVA, and F - test. If differences were found, pairwise differences were tested using the LSD statistic. The results of the study found that:</p> <p> The level of public participation in community development in the Takhan Subdistrict Administrative Organization, Ban Khai District, Rayong Province, was at a high level overall. Considering each aspect, it was found that participation was at a high level in all aspects. The average values were ranked from highest to lowest as follows: Monitoring and evaluation; Activity implementation; Decision-making and benefit sharing, respectively. The level of public participation in community development in the area of the Takhan Subdistrict Administrative Organization, Ban Khai District, Rayong Province, classified by personal characteristics, found that gender, age, and occupation did not affect the level of participation. However, the level of education affected the level of public participation in community development.</p>PHOOTHEP THONGPIAMRATSADA WICHAIDITWITCHAPHA DAMTHONGSUK
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-2521113PUBLIC OPINION ON THE ADMINISTRATIVE EFFICIENCY OF HUADONG SUBDISTRICT MUNICIPALITY, PHICHIT PROVINCE
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1048
<p>The study on the administrative efficiency of Huadong Subdistrict Municipality, Mueang District, Phichit Province aimed to study and compare the administrative efficiency of Huadong Subdistrict Municipality, Mueang District, Phichit Province. The population used in this study was 3,256 people in the area of Huadong Subdistrict Municipality, Mueang District, Phichit Province, aged 18 years and over. The sample size was determined using Taro Yamane's formula, resulting in a sample of 356 people. Data were collected using a questionnaire as a tool for the study. Data were analyzed using statistics using percentage, mean, standard deviation, and t-test and F-test. The differences in mean values were analyzed by pairwise LSD Analysis. The results of the study found that</p> <p> Most of the respondents 102 people, or 28.65 percent, were aged 41-50 years. 244 people, or 68.54 percent, had lower than a bachelor's degree. 97 people, or 27.25 percent, were employees of private companies. 141 people, or 39.61 percent, had resided in the area for more than 10 years.</p> <p>The overall efficiency of the administration of Huadong Subdistrict Municipality, Mueang District, Phichit Province was at a high level. When considering each aspect, it was found that all aspects were at a high level. The aspect with the highest average value was public health and environment administration, followed by technical administration, followed by general administration, and the aspect with the lowest average value was treasury administration.</p> <p> A comparative study of the differences in the efficiency of administration of Huadong Subdistrict Municipality, Mueang District, Phichit Province, classified by personal factors found that age, education level, and income had no statistically significant effect on the level of community development needs. However, the length of stay in the area had a statistically significant effect on the level of public opinion at the .05 level.</p>PHOOTHEP THONGPIAMRATSADA WICHAIDITWITCHAPHA DAMTHONGSUK
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-242025-04-24211429การพัฒนากิจกรรมและเครือข่ายความร่วมมือการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานวัฒนธรรมวิถีพุทธ อย่างยั่งยืน ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1049
<p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมและเครือข่ายความร่วมมือการท่องเที่ยวชุมชน บนฐานวัฒนธรรมวิถีพุทธ อย่างยั่งยืน ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากประชาชนในอำเภอเมืองชลบุรี จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน ใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">การศึกษาศักยภาพและเส้นทางการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (=4.09) ควรมุ่งเน้นการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน ปรับปรุงถนนและเส้นทางคมนาคมไปยังสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม</li> <li class="show">การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (=4.24) ควรส่งเสริมการเล่าเรื่องผ่านบุคคลในชุมชน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่ให้คนในพื้นที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวพิธีกรรมในท้องถิ่น ให้เกิดความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความสำคัญกับชุมชน</li> <li class="show">การพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง (=3.48) ควรจัดตั้งศูนย์ข้อมูลหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ มีการจัดทำฐานข้อมูลกลางเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนวิถีพุทธและมีการสำรวจความต้องการของชุมชนในด้านทรัพยากรที่จำเป็น</li> <li class="show">การยกระดับการท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก (=3.67) ควรสร้างเส้นทางการเข้าถึงวัดหรือสถานที่สำคัญทางศาสนาควรมีถนนที่ดี มีป้ายบอกทางชัดเจน แสดงความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีบริการขนส่งสาธารณะที่สะดวกสบาย สำหรับนักท่องเที่ยวเพื่อการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ</li> </ol>พระมหาสุชาติ ธมฺมกาโมรัษฎา วิชัยดิษฐวิชญาภา ดำทองสุก
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-242025-04-24213043ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1051
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผลการศึกษาดังนี้1.ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลในการทำวิจัยครั้งนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถาม จํานวน 184 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 80 ซึ่งมีอายุเฉลี่ยระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 46.70 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 67.90 โดยกลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาระดับ ปริญญาตรี ร้อยละ 65.80 รายได้ต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ในช่วงมี 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 30.40 และส่วนใหญ่มีอายุงานอยู่ในช่วง 5-10ปี คิดเป็นร้อยละ 35.902.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่าด้านลักษณะงานเป็นปัจจัยที่บุคลากรมีความสุขในการทำงานสูงเป็น อันดับแรกรองลงมา คือด้านสัมพันธภาพในที่ทำงานและด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการเป็น ปัจจัยที่บุคลากรมีความสุขในการทำงานน้อยสุดเป็นอันดับสุดท้าย3.ผลการวิเคราะห์ระดับความสุขในที่ทำงาน พบว่าระดับความสุขในการทำงาน ของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับม ความสุข(Happy) โดยมิติที่ 5 ครอบครัวดีเป็น มิติที่บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสุขในการทำงานสูงเป็นอันดับแรก รองลงมามิติที่ 4 คือจิต วิญญาณดี มิติที่1สุขภาพดีมิติที่ 3 นํ้าใจดี มิติที่ 6 สังคมดี มิติที่ 9 การงานดี มิติที่ 7 ใฝ่ รู้ดี มิติที่ 2 ผ่อนคลายดี ตามลําดับ และมิติที่8สุขภาพเงินดี เป็นมิติที่บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชมีความสุขในการทำงานน้อยสุดซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย4.ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทีส่งผลต่อความสุขในการทำงานด้านลักษณะงานกับความสุขในการทำงานของบุคลากรโดยใช้การวิเคราะห์สถิติค่าสัมประสิทธิ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) พบว่า โดย ภาพรวมปัจจัยทีส่งผลต่อความสุขในการทำงานด้านลักษณะงานมีความสัมพันธ์กับความสุขใน การทำงานของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.01โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกัน ในระดับตํ่า กล่าวคือเมื่อปัจจัยด้านลักษณะงานเพิ่มขึ้น บุคลากรจะมีความสุขในการ ทำงานเพิ่มขึ้นตํ่าในขณะเดียวกันปัจจัยทีส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ด้านสัมพันธภาพในที่ ทำงานและด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการนั้นมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของ บุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.01โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ในระดับ ปานกลาง กล่าวคือเมื่อปัจจัยด้านสัมพันธภาพในที่ทำงานและด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ เพิ่มขึ้น บุคลากรจะมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นปานกลาง</p>จักรรินทร์ วรินทรเวชอาภาภรณ์ สุขหอมกิจฐเชต ไกรวาสนันธิดา จันทร์ศิริ
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-252144 – 5644 – 56ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ในเขตอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1053
<p>การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ในเขตอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2.) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดในเขตอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือประชากรผู้ที่มีเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี อาศัยอยู่ในเขต อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 177 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Samples t-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression. Analysis) ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26 – 30 ปี <br>จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพหย่าร้าง ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือนระหว่าง 15,001 – 20,000 บาท อาศัยอยู่ในอำเภอนาบอน 5 – 10 ปี และอาศัยในเขตพื้นที่ตำบลแก้วแสน ด้านความคาดหวังและความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ มีผลต่อความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีความคาดหวังต่อนโยบายเงินอุดหนุนเด็กแรกที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพที่ต่างกัน </p>บุษกร คงกระพันธ์อาภาภรณ์ สุขหอมกิจฐเชต ไกรวาสนันธิดา จันทร์ศิริ
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-25215766พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว : กรณีศึกษา วัดยางใหญ่ (ตาพรานบุญ) จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1054
<p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดยางใหญ่ (ตาพรานบุญ) จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตาม ปัจจัยด้านบุคคคล ส่วนประสมทางการตลาด และแรงจูงใจในการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนวัดยางใหญ่ จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก และด้านราคา อยู่ในระดับมาก แรงจูงใจการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ในภาพรวมด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม อยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านเกียรติภูมิ อยู่ในระดับมาก และด้านการพักผ่อน อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เคยมา 1 ครั้ง รับทราบข้อมูลจากการบอกต่อจากคนรู้จัก / บุคคลใกล้ชิด ไม่ค้างคืน พักอำเภอสิชล / อำเภอขนอม / อำเภอท่าศาลา เดินทางมาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ / วันหยุดนักขัตฤกษ์ / วันหยุดเทศกาล เดินทางมากับคู่ครอง / ครอบครัว / ญาติ เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 - 3,999 บาท การเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว โดยจำแนกตามตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า เพศ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยว<br>เชิงวัฒนธรรม ไม่แตกต่างกัน อายุต่างกัน มีพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน<br>อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>อนุสรา อินนุ่นอาภาภรณ์ สุขหอมกิจฐเชต ไกรวาส
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-25216779ความสัมพันธ์ของสมรรถนะเชิงบริหารกับการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1059
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับสมรรถนะเชิงบริหาร 2) ศึกษาระดับการบริหาร 3)ศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะเชิงบริหารกับการบริหารสานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะเชิงบริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับ 1 คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการพัฒนาตนเอง 2) การบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการบริหารงานทั่วไป ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของสมรรถนะเชิงบริหารกับการบริหารสานศึกษาในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะเชิงบริหารต่อการบริหารสานศึกษา พบว่า ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.847 และสามารถอธิบายความผันแปรของสมรรถนะเชิงบริหารต่อการบริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 87.80 (R<sup>2</sup> = 0.878) และผลการทดสอบสมมติฐานสมรรถนะเชิงบริหารส่งผลทางบวกต่อการบริหารสถานศึกษาและพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>สมบัติ ตันนารัตน์โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-25218093ความสัมพันธ์ของการบริหารทรัพยากรกับประสิทธิภาพการบริหารงานสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1060
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารทรัพยากร 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหาร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารทรัพยากรกับประสิทธิภาพการบริหารงานสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารทรัพยากร โดยภาพรวมทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านคน รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ และอันดับสุดท้าย คือ ด้านเงิน 2) ประสิทธิภาพกาบริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือ การบริหารงานงบประมาณ รองลงมาคือ การบริหารงานบุคคล และอันดับสุดท้ายคือ การบริหารงานทั่วไป 3) ความสัมพันธ์ของการบริหารทรัพยากรกับประสิทธิภาพการบริหารงานสถานศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000 และสามารถอธิบายความผันแปรของการบริหารทรัพยากรกับประสิทธิภาพการบริหารงานสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 87.80 (R<sup>2 </sup>= 0.878) และผลการทดสอบสมมติฐานศึกษาการบริหารทรัพยากรกับประสิทธิภาพการบริหารงานสถานศึกษาครและพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>สุนิษา พิพัฒสวัสดิ์โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-252194105ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
https://so17.tci-thaijo.org/index.php/palsiuj/article/view/1061
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.917 และสามารถอธิบายความผันแปรของภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้ร้อยละ 89.80 (R<sup>2</sup> = 0.898) และผลการทดสอบสมมติฐานภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการพบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้อง และพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p>ชฎาพร ศิลวัลย์โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ
Copyright (c) 2025 วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
2025-04-252025-04-2521106119