วารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา https://so17.tci-thaijo.org/index.php/pngcc <p>วารสารวิชาการการพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา เป็นวารสารที่ครอบคลุมสาขาสังคมศาสตร์ สังคมศาตร์ประยุกต์ มนุษย์ศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเขียนผลงานทางวิชาการ เป็นสื่อกลางเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ และเพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศทางการศึกษา วิจัย ค้นคว้า และเผยแพร่องค์ความรู้</p> <p>โดยเปิดรับบทความในกรอบวิชาการด้านสังคมศาสตร์ สังคมศาตร์ประยุกต์ มนุษย์ศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในประเภทบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) ซึ่งบทความทุกบทความ จะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ในรูปแบบผู้ประเมินและผู้แต่งไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (double-blind review) กำหนดออกวารสารปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน และ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม</p> <p>กองบรรณาธิการเปิดรับบทความ โดยส่งผ่านระบบ ThaiJo และดำเนินการตามระบบตามมาตรฐาน TCI เพื่อให้ทุกบทความมีคุณภาพ เกิดประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ตามเป้าหมายหลักของวารสารวิชาการ</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยชุมชนพังงา </p> <p> </p> puangpet.r@pngcc.ac.th (อาจารย์พวงเพชร ฤทธิพรพันธุ์) puangpet.r@pngcc.ac.th (อาจารย์พวงเพชร ฤทธิพรพันธุ์) Sat, 31 Aug 2024 16:09:02 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักศึกษาทุนนวัตกรรม สายวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ https://so17.tci-thaijo.org/index.php/pngcc/article/view/232 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการบริหาร&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ โดยผลการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ มีจำนวน 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 1) การกำหนดนโยบาย 2) คณะดำเนินงาน 3) งบประมาณ และ 4) ภาคีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในชุมชน องค์ประกอบที่ 2 ด้านกระบวนการ (Process) โดยใช้กระบวนการการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking ประกอบด้วย 1) ขั้นที่ 1 เอาใจใส่ (Empathize) 2) ขั้นที่ 2 ระบุปัญหา (Define) 3) ขั้นที่ 3 นำไอเดียมาสร้างสรรค์ (Ideate) 4) ขั้นที่ 4 สร้างต้นแบบ (Prototype) 5) ขั้นที่ 5 ทดสอบ (Test) และ 6) นำไปดำเนินการ (Implement) องค์ประกอบที่ 3 ด้านผลผลิต (Output) คุณลักษณะความเป็นนวัตกร “Smart Farmer 4.0” ประกอบด้วย 1) Smart Thinking: ทักษะการคิด 2) Smart Farm: ทักษะเทคโนโลยี IOT 3) Digital Market: การตลาดดิจิทัล และ 4) Net Work: จิตอาสาชุมชน จากผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการภายใต้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นนวัตกรของนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร วิทยาลัยชุมชนแพร่ ส่งผลให้นักศึกษามีคุณลักษณะความเป็นนวัตกร “เป็นเกษตรกรตัวจริง ทำได้จริง อยู่รอด แข็งแรง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน” ซึ่งตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทักษะในศตวรรษที่ 21 และตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)</p> มนัส จันทร์พวง, บุญญพัฒน์ นามวงค์พรหม, วิยะณี ดังก้อง, กิตติพร สังคดิส, พงศธร กันทะวงค์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยชุมชนพังงา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/pngcc/article/view/232 Wed, 21 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน https://so17.tci-thaijo.org/index.php/pngcc/article/view/305 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน และ 2) พัฒนาแนวทางการยกระดับมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนในตำบลฝายแก้ว จำนวน 387 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ มีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในตำบลฝายแก้วในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.45) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านผลประโยชน์ มากที่สุด รองลงมาคือด้านการตัดสินใจ และน้อยที่สุดคือด้านการติดตามและประเมินผล ( ค่าเฉลี่ย = 4.07, 3.38 และ 3.00 ตามลำดับ) และ 2) แนวทางการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน คือการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในช่องทางหลากหลายช่องทางผ่านสื่อสังคมเพื่อสร้างการรับรู้ และการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงาน อันจะนำมาซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลตามที่ได้วางแผนไว้ เป็นการแสดงถึงความโปร่งใสในการบริหารงานของหน่วยงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง</p> ผุสดี สายวงศ์, วริสรา ขันแก้ว, คมกฤษ กรรณิกา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยชุมชนพังงา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so17.tci-thaijo.org/index.php/pngcc/article/view/305 Tue, 27 Aug 2024 00:00:00 +0700