การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนประถม ในจังหวัดลำปางหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน CIRC
คำสำคัญ:
รูปแบบการสอนแบบ CIRC, การอ่านเพื่อความเข้าใจ, ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาในจังหวัดลำปาง จำนวน 5 กลุ่มที่มาจาก 4 โรงเรียน หลังการใช้รูปแบบการสอน CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาครัวประชาสามัคคี จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนาครัวประชาสามัคคี จำนวน 13 คน นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านฮ่องห้า จำนวน 12 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาล แม่ทะ จำนวน 15 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนทองทิพย์วิทยา จำนวน 10 คน ได้มา จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ คือ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน 2. เครื่องมือที่ใช้ใน การรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบหลังเรียน นักเรียนทั้งหมด จำนวน 60 คน ได้คะแนนเฉลี่ย 17.75 คิดเป็นร้อยละ 88.75 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้
Downloads
References
กุลธิดา แก้วตาบุศย์. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), 25-36.
จุฬาลักษณ์ กองพิลา. (2553). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษามหาบัณฑิต), มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชมพู อิสริยวัฒน์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพ่อค้า แม่ค้าเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลหนองกี่อำเภอหนองกี่จังหวัดบุรีรัมย์. รมยสาร, 15(2), 235-236.
นงคราญ แหวนวัง. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยวิธีร่วมมือกันเรียนรู้แบบผสมผสาน (CIRC) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสระ. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, มหาวิทยาลัยพะเยา).
มาลินี สุทธิเวช. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสรุปความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 99-114.
ศิริพรรณ กาจกำแหง. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดลำปาง ด้วยวิธีCIRC (CIRC. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(1), 178-189.
สมนึก ภัททยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพครั้งที่ 4. กาฬสินธุ ประสานการพมพิมพ์.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). “บันทึกหน้าแรกของอาเซียน”, นิตยสารคู่สร้างคู่สม. ปีที่ 33 ฉบับที่ 747-749 (มิ.ย.55):16.
แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงาน ก.พ. (2555). การเตรียมความพร้อมข้าราชการไทยสู่ประชาคมอาเซียน: มิติใหม่ที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีการสอนอ่าน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 864-879.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง